ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีของ World Water Forum ครั้งที่ 5

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 16:03 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้

1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศแบบองค์รวม มีการบูรณาการหน่วยงานและกิจกรรมในระบบลุ่มน้ำและกำหนดนโยบายการจัดการ

ทรัพยากรน้ำโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ ให้พิจารณาน้ำ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ให้เกี่ยวโยงกันอย่างเป็นระบบ ตลอดจนมีการเฝ้าระวังเตือนภัยจาก

น้ำโดยการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล

2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องผลักดันการก่อสร้างและปรับปรุงซ่อมแซมระบบประปาหมู่บ้าน และระบบสุขาภิบาลทุกหมู่บ้านให้บรรลุ Millennium Development Goals ของสห

ประชาชาติ เพื่อสนองตอบความต้องการน้ำอุปโภค-บริโภค และระบบสุขาภิบาล

3. ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการภายใต้แผนการลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการน้ำและการชลประทานที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้วเมื่อวันที่ 10

มิถุนายน 2551 เพื่อดำเนินการเป็นรูปธรรมในการปฏิบัติต่อไป

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า

1. Prof.Dr.Veysel Eroglu, Minister of Environment and Forestry ได้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมการประชุม

Ministerial Conference of the 5th World Water Forum ระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคม 2552 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่ง

เสริมการแก้ปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่โลกกำลังเผชิญ โดยจะได้จัดทำ Ministerial Statement และ Ministerial Agenda ซึ่งเป็นเอกสารที่ไม่ผูกมัดแต่จะกำหนดแนว

ทางในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

2. ทส. ได้จัดคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวซึ่งรวมถึงการประชุม 5th World Water Forum ระหว่างวันที่ 16-22 มีนาคม 2552 สรุปได้ดังนี้

2.1 การประชุม World Water Forum ครั้งที่ 5 เป็นการประชุมเรื่องน้ำที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีการจัดประชุม 3 ปีต่อครั้ง หมุนเวียนไปตามประเทศต่างๆ สำหรับในครั้ง

นี้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30,000 คน จาก 129 ประเทศ ในส่วนของคณะผู้แทนไทยและผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนจาก ทส.

กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงคมนาคม

2.2 ในการประชุมระดับรัฐมนตรีของ World Water Forum ครั้งที่ 5 ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นที่สำคัญโดยสรุปคือ

2.2.1 ภัยธรรมชาติจากน้ำ

  • ที่ประชุมเสนอให้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในแผนพัฒนาและแผนลงทุนของชาติ
  • ประเทศควรให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและสนับสนุนความร่วมมือระดับภูมิภาคทั้งด้านภัยแล้งและน้ำท่วม
  • เสนอให้บรรจุเรื่องนี้ในรายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Commission on Sustainable Development : CSD)

ของสหประชาชาติ

  • ในการใช้เทคโนโลยีต่างๆ ควรต้องดำเนินการร่วมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

2.2.2 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกและสภาพภูมิอากาศ

  • ควรสร้างความตระหนักถึงเรื่องนี้ในทุกระดับ
  • ในการเตรียมการด้านการรับมือ ควรเน้นการปรับตัว (Adaptation) ของสังคมและประชาชน
  • สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี เช่น การทำน้ำเค็มเป็นน้ำจืด การใช้น้ำที่บำบัดแล้ว เป็นต้น

2.2.3 น้ำเพื่ออาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

  • ที่ประชุมเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดควรต้องพิจารณาแบบองค์รวมเป็นระบบลุ่มน้ำอย่างบูรณาการทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

และการให้ความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

2.2.4 การลงทุนและความโปร่งใส

  • ที่ประชุมให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก โดยเห็นว่าผู้นำประเทศควรเพิ่มงบประมาณการลงทุนในเรื่องน้ำ โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่การเข้าถึงน้ำสะอาด

เพื่อการอุปโภค บริโภค การสุขาภิบาล รวมถึงการบริหารจัดการน้ำให้เพิ่มมากขึ้น

  • สนับสนุนให้ภาคเอกชน องค์กรท้องถิ่น มีบทบาทในการลงทุนมากขึ้นเสริมสร้างความโปร่งใส มีระบบตรวจสอบในทุกระดับ
  • เสริมสร้างความโปร่งใส มีระบบตรวจสอบในทุกระดับ

2.2.5 การพัฒนาองค์กรและบุคลากร

  • ที่ประชุมเห็นว่าควรเร่งยกระดับความรู้ ความสามารถของบุคลากรด้านน้ำเพื่อสนองการดำเนินงานในทุกๆ ด้าน โดยให้ความสำคัญกับการวิจัย

และการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ

  • สนับสนุนให้สร้างศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Hub) ในระดับภูมิภาคเพื่อดำเนินการดังกล่าวข้างต้น
  • สนับสนุนการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างรัฐมนตรีด้านน้ำให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

3. ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบแถลงการณ์รัฐมนตรีร่วมกันโดยจะนำผลของการประชุมไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ