รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย-บังกลาเทศ

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 16:14 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการบันทึกความเข้าใจลับ (Confidential Memorandum of Understanding) ระหว่างไทย-บังกลาเทศ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้เสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินและสิทธิความจุความถี่ต่อไป

กระทรวงคมนาคมเสนอว่า

1. การบินพลเรือนบังกลาเทศได้มีหนังสือถึงกรมการขนส่งทางอากาศแจ้งแต่งตั้งสายการบิน Best Air เป็นสายการบินที่กำหนดสายที่สามของบังกลาเทศ พร้อมขออนุญาตให้

สายการบิน Best Air ทำการบินประจำตามเส้นทางธากา-กรุงเทพฯ และกลับเกินสิทธิตามความตกลงฯ อีก 7 เที่ยวต่อสัปดาห์

2. กรมการขนส่งทางอากาศได้แจ้งตอบการบินพลเรือนบังกลาเทศว่าฝ่ายไทยรับที่จะพิจารณาการอนุญาตดังกล่าว โดยให้ฝ่ายบังกลาเทศรับหลักการว่าสายการบินของไทยจะได้

รับสิทธิเช่นเดียวกัน ในระหว่างรอการเจรจาการบินระหว่างกัน

3. ต่อมาคณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้มีการเจรจาการบินระหว่างกันระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2551 ที่กรุงเทพฯ โดยคณะผู้แทนทั้ง 2 ฝ่าย ได้จัดทำบันทึกความเข้า

ใจลับ (Confidential Memorandum of Understanding) โดยลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 และคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลฯ ในคราวประชุมครั้ง

ที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2551 ได้มีมติรับทราบผลการเจรจาดังกล่าวแล้ว ซึ่งผลการเจรจาดังกล่าวจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบใน

หลักการของบันทึกความเข้าใจลับดังกล่าว ก่อนนำเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยัน

การปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินและความจุความถี่ตามลำดับต่อไป โดยผลการเจรจาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงแก้ไขปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินและสิทธิความจุความถี่ ทั้งนี้ ในส่วน

ของสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้คงการระบุชื่อจุดระหว่างทางและจุดพ้นในการใช้สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ไว้ฝ่ายละ 4 จุดเช่นเดิม

นอกจากนั้น คณะผู้แทนไทยได้ยื่นร่างข้อบทใหม่ว่าด้วยเรื่องพิกัดอัตราค่าขนส่งให้ฝ่ายบังกลาเทศพิจารณา โดยทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะนำประเด็นดังกล่าวมาหารือในราย

ละเอียดในการเจรจาคราวต่อไป หรือหากฝ่ายบังกลาเทศเห็นด้วยกับร่างข้อบทของฝ่ายไทย ก็สามารถตกลงกันได้ผ่านการหารือทางหนังสือ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะยืนยันการ

ตกลงผ่านทางการทูตโดยวิธีแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

1. ใบพิกัดเส้นทางบิน : ปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบิน ในส่วนของจุดในประเทศคู่ภาคี จากเดิมกำหนดไว้ฝ่ายละ 2 จุด เป็นจุดต่างๆ ในประเทศไทยและจุดต่างๆ

ในบังกลาเทศ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการส่งเสริมให้สายการบินสามารถขยายการจราจรไปยังจุดต่างๆ ในประเทศคู่ภาคีได้เมื่อมีความพร้อม

2. ความจุและความถี่ : ปรับปรุงสิทธิความจุความถี่ระหว่างกัน โดยให้สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินขนส่งผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิม 13 เที่ยว/สัปดาห์

ด้วยอากาศยานแบบใดๆ เป็น 21 เที่ยว/สัปดาห์ ด้วยอากาศยานแบบใดๆ โดยมีข้อจำกัดว่าการทำการบินไปยังธากา จะต้องไม่เกิน 14 เที่ยว/สัปดาห์ และปรับปรุงสิทธิ

ความจุของเที่ยวบินขนส่งเฉพาะสินค้า จาก 2 เที่ยว/สัปดาห์ ด้วยอากาศยานแบบใดๆ ในเส้นทางระหว่างจุดใดๆ ในไทยกับจิตตะกอง ปรับปรุงเป็น 3 เที่ยว/สัปดาห์

ด้วยอากาศยานแบบใดๆ ตามเส้นทางที่ระบุของตน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศไทยกับบังกลาเทศ

3. สิทธิรับขนการจราจร : คณะผู้แทนไทยได้เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ให้สายการบินที่กำหนดของแต่ละฝ่ายสามารถรับขนจราจรเสรีภาพที่

5 ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้สายการบินมีความคล่องตัวในการวางแผนการบินมากยิ่งขึ้น ซึ่งฝ่ายบังกลาเทศได้แจ้งว่ายังไม่มีความจำเป็นที่จะ

ต้องปรับปรุงสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ในขณะนี้ ในชั้นนี้ทั้งสองฝ่ายจึงตกลงให้คงสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ไว้เช่นเดิม

4. ในระหว่างรอการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูต การเปลี่ยนแปลงในใบพิกัด ความจุและความถี่ของบันทึกความเข้าใจลับฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ลงนามบันทึก

ความเข้าใจลับฉบับนี้

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ