ร่างข้อตกลงเบื้องต้น (Head of Agreement ,HOA) ระหว่างองค์กรร่วมไทย — มาเลเซีย (MTJA)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 16:47 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง ร่างข้อตกลงเบื้องต้น (Head of Agreement ,HOA) ระหว่างองค์กรร่วมไทย — มาเลเซีย (MTJA) กับบริษัท Petroliam Nasional Berhad

(PETRONAS) สำหรับการร่วมกันผลิตปิโตรเลียม (Unitization) ระหว่างแหล่งสุริยา (Suriya) ในแปลง A-18 ของพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย

กับแหล่งสุริยา เซลาตัน (Suriya Selatan) ในแปลง PM2 ของประเทศมาเลเซีย

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างข้อตกลงเบื้องต้น (Head of Agreement ,HOA) ระหว่างองค์กรร่วมไทย — มาเลเซีย (MTJA) กับบริษัท Petroliam Nasional Berhad (PETRONAS) เรื่องการร่วมกันผลิตปิโตรเลียม (Unitization) จากแหล่งก๊าซธรรมชาติที่อยู่คร่อมพื้นที่พัฒนาร่วมไทย — มาเลเซีย (JDA) กับพื้นที่แปลงสัมปทานในมาเลเซีย ของ แหล่งก๊าซสุริยา (Suriya) ในแปลง A-18 ของ JDA กับแหล่งสุริยา เซลาตัน (Suriya Selatan) ในแปลง PM2 ของประเทศมาเลเซีย ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ

กระทรวงพลังงานรายงานว่า

1. องค์กรร่วมไทย — มาเลเซีย (องค์กรร่วม หรือ MTJA) ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสรวมสิทธิแทน รัฐบาลไทยและมาเลเซียในการสำรวจและแสวงประโยชน์จาก

ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย — มาเลเซีย (Joint Development Area , JDA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปิโตรเลียม ตามบันทึกความเข้าใจ

ระหว่างรัฐบาลไทย กับมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมฉบับลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 ความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับมาเลเซียว่าด้วยธรรมนูญองค์กรร่วม ลง

วันที่ 30 พฤษภาคม 2533 และพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย — มาเลเซีย พ.ศ. 2533

2. เมื่อ พ.ศ. 2540 องค์กรร่วมได้อนุมัติให้บริษัทผู้ประกอบการแปลง A-18 ถือพื้นที่เพื่อการพัฒนาก๊าซธรรมชาติแหล่งสุริยาครอบคลุมพื้นที่ 161.8 ตารางกิโลเมตร ต่อมา

ผลจากการสำรวจและประเมินผลในพื้นที่ดังกล่าวพบว่าโครงสร้างกักเก็บปิโตรเลียมมีความต่อเนื่องคร่อมเส้นกรอบพื้นที่ JDA เข้าไปในพื้นที่แปลงสำรวจ PM2 ของประเทศ

มาเลเซีย และเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับมาเลเซียเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมฉบับลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 และข้อ

กำหนดของสัญญาแบ่งปันผลผลิตในเรื่องการร่วมกันผลิตองค์กรร่วมได้เริ่มเจรจากับ PETRONAS เพื่อให้สามารถบรรลุข้อตกลงในการร่วมกันผลิตจากชั้นกักเก็บปิโตรเลียมที่

มีความต่อเนื่องคร่อมเส้นกรอบพื้นที่ JDA เข้าไปในพื้นที่แปลงสำรวจของประเทศมาเลเซีย

3. ตามสัญญาซื้อขายก๊าซ (Gas Sales Agreement, GAS) แปลง A-18 กำหนดให้องค์กรร่วมต้องส่งมอบก๊าซธรรมชาติให้แก่ผู้ซื้อระยะที่ 1 ในอัตรา 390 ล้านลูกบาศก์

ฟุตต่อวัน โดยมี PETRONAS เป็นผู้รับก๊าซ และระยะที่ 2 ในอัตรา 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัท ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) จำกัด (มหาชน) เป็น

ผู้รับก๊าซ โดยบริษัทผู้ประกอบการขององค์กรร่วมได้วางแผนที่จะผลิตก๊าซจากแหล่งสุริยาเพื่อส่งขายตามสัญญาภายในต้นปี 2552

4. การผลิตก๊าซจากแหล่งสุริยาขององค์กรร่วมจะไม่สามารถกระทำได้หากไม่ได้รับการยินยอมจาก PETRONAS เนื่องจากโครงสร้างกักเก็บปิโตรเลียมมีความต่อเนื่องคร่อม

เส้นกรอบพื้นที่พัฒนาร่วมเข้าไปในพื้นที่แปลงสำรวจ PM2 ของประเทศมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายจึงได้เห็นชอบที่จะร่วมกันผลิตในพื้นที่ดังกล่าว โดยพื้นที่ที่กำหนดให้มี การร่วม

กันผลิตแหล่งสุริยา (Suriya Unit Area) มีเนื้อที่พื้นผิว รวม 173.226 ตารางกิโลเมตร (อยู่ในเขตพื้นที่ JDA 142.017 ตารางกิโลเมตร และในเขตพื้นที่

ประเทศมาเลเซีย 31.206 ตารางกิโลเมตร) พร้อมทั้งเห็นชอบในการแบ่ง สัดส่วนปิโตรเลียมเบื้องต้น (Initial Tract Participation , ITP) ให้แปลง A-

18 ได้รับร้อยละ 85 และแปลง PM2 ได้รับร้อยละ 15 โดยกำหนดเป็นข้อตกลงเบื้องต้น (ร่าง HOA) สำหรับการร่วมกันผลิตปิโตรเลียม

5. ที่ประชุมองค์กรร่วม ครั้งที่ 80 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2551 ได้ให้ความเห็นชอบในร่าง HOA และองค์กรร่วม ได้มีหนังสือ MTJA/LA/08/037 ลงวันที่ 15 พฤษภาคม

2551 นำส่งร่าง HOA ดังกล่าวมา ให้รัฐบาลไทยและรัฐบาล มาเลเซีย เพื่อให้ความเห็นชอบ อนึ่ง รัฐบาลมาเลเซียได้เห็นชอบร่าง HOA นี้ด้วยแล้ว

6. ร่าง HOA สำหรับการร่วมกันผลิตปิโตรเลียมนี้ คู่สัญญา 2 ฝ่าย ได้แก่ MTJA และ PETRONAS กำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันทีที่มีการลงนาม เพื่อให้สามารถเริ่มผลิต

ปิโตรเลียมจากพื้นที่ที่กำหนดให้ทำการร่วมกันผลิตได้ และมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีความตกลงร่วมกันผลิตปิโตรเลียม (Unitization Agreement , UA) ระหว่างแหล่ง

ก๊าซสุริยา และสุริยา เซลาตัน การพัฒนาแหล่งก๊าซใน Suriya Unit Area จะใช้แผนการพัฒนาแหล่งก๊าซของแปลง A-18 โดยผู้ดำเนินงานในแปลง A-18 จะเป็น

ผู้ดำเนินงานตามแผนการพัฒนาภายใต้สัญญา Unit Area Operating Agreement (UAOA)

การแบ่งสัดส่วนปิโตรเลียมเบื้องต้น (Initial Tract Participation, ITP) นั้น แปลง A-18 ได้ร้อยละ 85 และแปลง PM 2 ได้ร้อยละ 15 และ ภายใน 3 ปี

หลังการเริ่มผลิตก๊าซจะมีการทบทวนสัดส่วนปิโตรเลียมใหม่ (re-determination) ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินกิจการปิโตรเลียมใน Suriya Unit Area จะแบ่งกัน

ตามสัดส่วนของ ITP ผู้ได้รับสัญญาณแปลง PM 2 จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินงานในอดีต (Past Costs) โดยจะจัดสรรจากรายได้จากการขายก๊าซ

แหล่งสุริยา เซลาตันให้กับแปลง A-18 โดยแปลง A-18 จะเป็นผู้รับภาระส่วนแบ่งของค่าใช้จ่ายในการลงทุน (OPEX) ของ PM 2 ใน Suriya Unit Area ไปก่อน

7. กระทรวงพลังงานได้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เกี่ยวกับประเด็นร่าง HOA แล้ว สคก. เห็นว่าองค์กรร่วมไทย- มาเลเซีย และบริษัท เปโตรนัส

ต่างไม่มีนิติฐานะเป็นรัฐหรือองค์กรระหว่างประเทศ โดยเป็นเพียงนิติบุคคลตามกฎหมายภายในของรัฐเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในเงื่อนไขตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทยที่จะต้องอยู่ในบังคับของขั้นตอน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการจัดทำหนังสือสัญญาแต่อย่างใด

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


แท็ก มาเลเซีย   petrol  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ