รายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทย ตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 16:54 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ทั้ง 2 ข้อ โดยให้รับความเห็นกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาดำเนินการด้วย ดังนี้

1. เห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทย ตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กทั้ง 2 ฉบับ คือ 1. เรื่องการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อ

ลามกที่เกี่ยวกับเด็ก 2. เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ

2. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการเสนอรายงานผลการดำเนินงานตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กทั้ง 2 ฉบับ ต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสห

ประชาชาติ

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รายงานว่า

1. ประเทศไทยได้ลงนามเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และได้ยื่นภาคยานุวัติสารเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่า

ด้วยสิทธิเด็ก 2 ฉบับ คือ

1.1 เรื่อง การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก โดยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2549 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11

กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา

1.2 เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธโดยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.

2549 เป็นต้นมา ทำให้มีพันธะผูกพันในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสห

ประชาชาติ ซึ่ง พม. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามพิธีสารฯ ดังกล่าว โดยได้มีการดำเนินการ ดังนี้

  • เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2550 ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น 2 คณะ คือ

(1) คณะทำงานจัดทำรายงาน เรื่อง การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนเด็ก

และเยาวชน รวม 21 คน

(2) คณะทำงานจัดทำรายงาน เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้แทนเด็กและ

เยาวชน รวม 18 คน

  • เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2551 จัดประชุมประชาพิจารณ์ร่างรายงานทั้ง 2 ฉบับ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และภาค

ประชาสังคมได้แสดงความคิดเห็นและนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมมาปรับปรุงร่างรายงานให้มีความครอบคลุมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

  • เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551 นำเสนอร่างรายงานเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการเรื่อง “สิทธิเด็ก” ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่าง

รายงานทั้ง 2 ฉบับ โดยให้เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมาย กฎระเบียบ ให้เป็นปัจจุบันโดยมอบหมายผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาความ

เหมาะสมของเนื้อหาสาระเพิ่มเติม

  • เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 นำเสนอร่างรายงานเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุม

ได้เห็นชอบร่างรายงานทั้ง 2 ฉบับ และมีมติให้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติต่อไป

2. สาระสำคัญของรายงานฯ เรื่อง การค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก

2.1 สถานการณ์ด้านการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็กมีจำนวนเพิ่มขึ้นในรูปแบบของการหลอกล่อเด็ก นายหน้าหรือผู้ค้ามักใช้กลยุทธ์ กลโกงที่ยาก

แก่การที่กฎหมายจะนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีฐานะทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง สถานการณ์ด้านสื่อลามกก็เช่นกันมีรูปแบบที่หลาก

หลาย เช่น การบรรยาย โฆษณา เสียง รูปภาพ ภาพพร้อมเสียง จากการสำรวจของมูลนิธิอินเทอร์เน็ต วอช ปี พ.ศ. 2549 พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ห้าของ

รายชื่อประเทศแหล่งรวมชั้นนำห้าแห่งแรกที่เป็นแหล่งเว็บไซต์เกี่ยวกับสื่อลามก

2.2 การดำเนินงานของประเทศไทยด้านการป้องกันการค้าเด็ก การค้าประเวณีเด็ก และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็กดังนี้

2.2.1 การประกาศนโยบายและแผนระดับชาติ เรื่อง การป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและหญิงในประเทศและข้ามชาติ พ.ศ. 2546 — 2553

2.2.2 การปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ทั้งในฐานความผิด อายุของเด็ก และบทลงโทษ

2.2.3 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

2.2.4 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือแรงงานหญิงและเด็ก

2.2.5 การจัดทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

2.2.6 การขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กด้อยโอกาส

2.2.7 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการป้องกันสื่อลามก

2.2.8 การอบรมให้ความรู้ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์

2.3 การให้ความร่วมมือระหว่างประเทศ ด้านการป้องกันด้านวิชาการ การเงิน และการช่วยเหลือเหยื่อ

3. สาระสำคัญของรายงานฯ เรื่อง ความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ

3.3.1 สถานการณ์ทั่วไปประเทศไทยไม่มีการเกณฑ์เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปมีส่วนร่วมในกองทัพ ทั้งโดยเกณฑ์และสมัครใจ และไม่มีนโยบายให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด

มาใช้ดินแดนไทยเป็นฐานปฏิบัติการที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงต่อประเทศอื่น จึงไม่มีกองกำลังติดอาวุธที่สู้รบในอาณาเขตของไทย

3.3.2 มาตรการการดำเนินงานของประเทศไทยที่เป็นการประกันการไม่ให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมในการสู้รบ ได้แก่

3.3.2.1 พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497

3.3.2.2 ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่องการรับทหารกองเกินอายุ 18-20 ปี เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีการร้องขอ พ.ศ. 2543

3.3.2.3 การเข้าเป็นภาคีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

3.3.2.4 การแต่งตั้งคณะกรรมการเผยแพร่กฎหมายระหว่างประเทศและสิทธิมนุษยชนในหลักสูตรทุกระดับทางการทหาร

3.3.2.5 การอบรมหลักสูตรผู้สังเกตการณ์ทางทหารและหลักสูตรการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ