ผลการประชุม G77 Ministerial Forum on Water ครั้งที่ 1

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 17:03 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุม G77 Ministerial Forum on Water ครั้งที่ 1 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานว่า นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติคณะผู้แทนรัฐบาลซึ่งนำโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเดินทางเข้าร่วมการประชุม G77 Ministerial Forum on Water ณ รัฐสุลต่านโอมาน ระหว่างวันที่ 22 — 26 กุมภาพันธ์ 2552 แต่เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ราชการด่วนเกี่ยวกับการตรวจสอบการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และการเกิดไฟป่า ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด และพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดตาก จึงได้มอบหมายให้ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ ณ เอกอัครราชทูตไทย ประจำรัฐสุลต่านโอมาน เข้าร่วมการประชุม ซึ่งการประชุมดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วโดยที่ประชุมได้ออกแถลงการณ์ Muscat Declaration on Water สรุปได้ดังนี้

1. การประชุม G77 Ministerial Forum on Water ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2552 ณ กรุงมัสกัต มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงส่วนภูมิภาคและกิจกรรมน้ำ

โอมานเป็นหัวหน้าคณะของโอมาน และมี H.E. Kamal Ali Mohammed รัฐมนตรีว่าการกระทรวงชลประทาน สาธารณรัฐซูดานเป็นประธานการประชุม โดยมีผู้แทน

จากกว่า 40 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนองค์การสหประชาชาติ และ NGOs ที่เกี่ยวข้องประมาณ 27 องค์กร เข้าร่วม

2. ปัจจุบันประชากรโลกกว่า 1,000 ล้านคน ไม่มีน้ำสะอาดใช้ ร้อยละ 80 ของโรคทั้งหมดเกิดจากน้ำที่สกปรก และแต่ละปีเยาวชนกว่า 1.5 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรค

ท้องร่วงและโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการใช้หรือบริโภคน้ำและระบบ ชลประทานที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ประชุมย้ำว่าน้ำคือแหล่งกำเนิดของชีวิตเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนา

เศรษฐกิจ เป็นสิทธิของ มนุษย์ทุกคนที่จะมีน้ำใช้ที่สะอาดและถูกสุขอนามัย การพัฒนาแหล่งน้ำ ระบบชลประทาน และพลังงานน้ำ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้ ที่เพียงพอและถูก

หลักอนามัย เป็นสิ่งสำคัญในการลดอัตราความยากจนและบรรเทาปัญหาขาดแคลนอาหารของโลก และเป็นการดำเนินนโยบายตามเป้าหมาย Millennium

Development Goals (MDGs) และ Integrated Water Resources Management (IWRM) อุปสรรคสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวคือ การขาดแคลนงบ

ประมาณ ศักยภาพ และเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศต่างๆ

3. เน้นถึงความสำคัญในการสร้างเครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างสถาบันวิจัยด้านน้ำและองค์กรพัฒนาต่างๆ โดยการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยในศูนย์บริการข้อมูลของแต่ละ

ประเทศและในภูมิภาค

4. เรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนากระชับความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำสะอาดและพัฒนาระบบชลประทาน

ตามสุขอนามัย

5. เน้นความสำคัญในการหามาตรการที่เหมาะสม พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากโครงการที่มีฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ชุมชนต่างๆ ได้มีน้ำสะอาดและระบบสุขาภิบาลที่ได้

มาตรฐานสุขอนามัยแพร่หลาย

6. ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับปัญหาและยุทธศาสตร์การจัดการน้ำในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา และได้จัดทำ Muscat Declaration on Water ซึ่งมีข้อสรุปและข้อเสนอแนะ

21 ข้อ และได้นำข้อเสนอดังกล่าวหารือในการประชุม 5th World Water Forum ระหว่างวันที่ 16-22 มีนาคม 2552 ณ นครอิสตันบูล

7. ในส่วนของการแลกเปลี่ยนข้อมูลและองค์ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นที่ประชุมมีมติ ดังนี้

7.1 แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งน้ำที่มีพื้นที่ทับซ้อนหลายประเทศ

7.2 เสริมสร้างศักยภาพและอำนาจต่อรองของประเทศสมาชิก เพื่อให้บริการด้านคำปรึกษาทางเทคนิค

7.3 ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความสามารถ รวมทั้งแนววิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด และบทเรียนที่ประเทศต่างๆ ได้รับจากการดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับแหล่งน้ำ

สุขอนามัย และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

7.4 ปรับโครงการวิจัยต่างๆ ให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญของแต่ละภูมิภาคและระดับชาติ รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่

7.5 เสริมสร้างการเก็บข้อมูลด้านอุทกวิทยาและด้านอุตุนิยมวิทยา ตลอดจนค้นคว้าข้อมูลใหม่เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของการประเมิน

7.6 สนับสนุนการวิจัยที่จะพัฒนาความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการบริการจัดการแหล่งน้ำและสุขอนามัย

7.7 หาแหล่งเงินทุนใหม่ที่สามารถเสริมทรัพยากรที่มีอยู่เดิม พร้อมทั้งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ ความชำนาญ

7.8 หาวิธีใหม่ๆ ที่จะหาแหล่งเงินทุนเพิ่มสำหรับเสริมสร้างศักยภาพ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำ ชลประทาน และสุขอนามัย

7.9 จัดทำฐานข้อมูลที่จะมีรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัย การบริการต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิก

7.10 ส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะช่วยรองรับต่อผลกระทบที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง ไซโคลน การเปลี่ยนสภาพของดินเป็นทะเลทราย การเสื่อม

สภาพของสันปันน้ำ และการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลที่สูงขึ้นไปยังแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ชายฝั่ง อันมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน

8. เน้นเรื่องการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับน้ำและสุขอนามัยภายใต้กรอบสหประชาชาติ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ