สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 17 และการประชุมหารือร่วมกับธนาคารโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 17:08 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 17 [Intergovernmental Preparatory Meeting for the 17th Session of the United Nations Commission on Sustainable Development : (CSD 17)] และการประชุมหารือร่วมกับธนาคารโลก ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า นายกรัฐมนตรีอนุมัติองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 17 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 11-17 พฤษภาคม 2552 รวมทั้งเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเดินทางไปประชุมหารือร่วมกับประธานธนาคารโลก ณ กรุงวอชิงตันดีซี สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 12-17 พฤษภาคม 2552 สรุปสาระสำคัญดังนี้

1. การประชุม CSD 17

1.1 กรอบเจรจา (Negotiating Text)

ที่ประชุมยึดกรอบเจรจาตามมติที่ประชุมเตรียมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 17 [Intergovernmental

Preparatory Meeting for the 17th Session of the United Nations Commission on Sustainable Development : (CSD 17)] ประกอบ

ด้วย 6 หัวข้อหลัก คือ เกษตรกรรม การพัฒนาชนบท ที่ดิน ความแห้งแล้ง การแปรสภาพเป็นทะเลทราย และแอฟริกา

1.2 การกล่าวถ้อยแถลงและข้อเสนอแนะของคณะผู้แทนไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิกฤตการณ์การขาดแคลนอาหาร

(Crisis of food shortage) การพัฒนาอย่างยั่งยืนในแนวคิด เรื่อง Green Economy และการพัฒนาชนบท

1.3 สรุปผลการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติสมัยที่ 17 [the 17th Session of the United Nations Commission on

Sustainable Development (CSD 17) ] ที่ประชุมมีมติให้ความเห็นชอบเอกสารทางเลือกนโยบายและมาตรการทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการปฏิบัติในเรื่อง

เกษตรกรรม การพัฒนาชนบท ที่ดิน ความแห้งแล้ง การแปรสภาพเป็นทะเลทราย และแอฟริกา (Policy options and practical measures to

expedite implementation in agriculture, rural development, land, drought, desertification and Africa)

2. ผลการขอรับการสนับสนุนเสียงเลือกตั้งเป็นสมาชิก CSD ของไทย

เนื่องจากไทยหมดสมาชิกภาพการเป็นสมาชิก CSD ในปี 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงขอให้เอกอัครราชทูตไทยประจำองค์การ

สหประชาชาติ (นายดอน ปรมัติวินัย) ช่วยประสานเรื่องการสมัครเป็นสมาชิก CSD ต่อจากปี 2550

3. ผลการประชุมหารือร่วมกับธนาคารโลก สรุปได้ดังนี้

3.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเสนอผลการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศเรื่อง The International Workshop

on "A Forgotten Crisis: Arresting Wildlife Depletion in Asia through Strengthened Regional Cooperation and Effective

Partnerships" ระหว่างวันที่ 10-12 เมษายน 2552 ณ โรงแรมมณเฑียร พัทยา ชลบุรี ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพร่วมกับ World Bank, Freeland

Foundation, United States Agency for International Development (USAID) และ Save the Tiger Fund และหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งนายก

รัฐมนตรีมีคำสั่งให้หน่วยงานไปปฏิบัติตามผลและข้อเสนอแนะ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งต่อที่ประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ให้

ทราบว่าไทยพร้อมจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับรัฐมนตรีในกลุ่มประเทศที่ร่วมต่อต้านการคุกคามเสือ (Tiger range states) เพื่อสืบต่อผลการประชุมเชิงปฏิบัติ

การฯ และประกาศให้ปี พ.ศ. 2553 เป็นปีแห่งการรณรงค์เรื่องเสือ หรือ “Year of the Tiger”

3.2 กองทุนหมู่บ้าน สินเชื่อรายย่อยระบบใหญ่ที่สุดในโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสำหรับเป็นกลไกสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีขีด

ความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพในการเสริมความเข้มแข็งด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่

บ้านและชุมชนเมืองสู่การพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศใน

อนาคต โดยมีหลักการหรือปรัชญาในการเสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น การให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและ

ภูมิปัญญาของตนเอง การเกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน การเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้กันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชนและประชาสังคม

และการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน

3.3 การจัดการน้ำแบบบูรณาการในประเทศไทยที่ต้องแก้ไขปัญหาเกษตรกรยากจน 18 ล้านคนด้วยการขยายพื้นที่การให้บริการน้ำ โดยต้องบริหารจัดการให้การใช้น้ำ

ใช้ดินเกิดประโยชน์สูงสุดบนข้อจำกัดของพื้นที่ ชลประทานต่อพื้นที่เกษตรกรรม และจะต้องให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ตลาด โดยดำเนินการเรื่องการวิจัย พัฒนาและ

เผยแพร่ถ่ายทอดความรู้เพื่อการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้าง Brand การพัฒนาระบบตลาดทั้งในและต่างประเทศ การบริหารจัดการโดยศึกษากรณีต่างประเทศ

การนำเทคโนโลยีผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการระบบโครงข่ายน้ำซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดทั้งเรื่องกองทุนหมู่บ้านและการจัดการ

น้ำแบบบูรณาการ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ