คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอผลความก้าวหน้าการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้
การดำเนินการ
1. กระทรวงมหาดไทยได้จัดงาน “มหาดไทย...เพื่อคนไทยเข้มแข็ง” ระหว่างวันที่ 12 — 14 พฤษภาคม 2549 ณ สนามกีฬาราชมังคลากีฬ่าสถาน หัวหมาก เพื่อขยายผลการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนให้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งกิจกรรมในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างงาน สร้างอาชีพในแขนงต่าง ๆ การแนะนำ ส่งเสริมเส้นทางสู่อาชีพ และธุรกิจจากภาคเอกชน การสาธิต/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบ-การณ์ระหว่างกลุ่มอาชีพ การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ การจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้นได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก
2. กระทรวงมหาดไทย ขอให้ทุกจังหวัดดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเบื้องต้นให้คัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างจังหวัดละ 1 หมู่บ้าน ตามแนวทางที่กำหนด 3 ประการ ได้แก่ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันภายใต้ 2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม และตามลักษณะกิจกรรมความพอเพียง 6 ด้าน ได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออาทร ซึ่งจังหวัดได้คัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง รวม 75 หมู่บ้าน และได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ให้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง ทั้ง 75 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านต้นแบบตัวอย่าง เพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จากสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และได้มอบหมายให้ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตทั้ง 12 เขต ออกตรวจสอบข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างตามข้อ 2. ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นไปตามแนวทาง/เงื่อนไขที่กำหนด และพิจารณาคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นที่สุด 12 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ สำหรับการขยายผลเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับภาคต่อไป
การขยายผล
1. กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งแนวทางการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายของจังหวัด เพื่อขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ในปี 2549 ดังนี้
1) พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 75 หมู่บ้าน 75 จังหวัด ให้เป็น “หมู่บ้าน/ชุมชน ต้นแบบตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง (Prototype village) “ ซึ่งสามารถเป็นศูนย์รวมของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการศึกษาดูงานแก่หมู่บ้านอื่น ๆ ได้อย่างครบวงจร
2) ขยายผลโดยใช้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มาปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพภูมิสังคม ชุมชน และพื้นที่ โดยมีแนวทางการดำเนินการ 2 แนวทาง
(1) แนวทางที่ 1 ให้จังหวัดคัดเลือกตำบลจากทุกอำเภอ ๆ ละ 1 ตำบล โดยเป็นตำบลที่มีไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน ต้องมีลักษณะเบื้องต้นคือ มีกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นบ้างแล้วเป็นพื้นฐานทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน (หมู่บ้าน) และมีโอกาสที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน (หมู่บ้าน)
(2) หรือแนวทางที่ 2 ให้จังหวัดคัดเลือกตำบลจากทุกอำเภอ ๆ ละมากกว่า 1 ตำบล แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน และทุกหมู่บ้านเป้าหมายที่คัดเลือก ต้องมีลักษณะเบื้องต้นเช่นเดียวกับแนวทางที่ 1
3) กำหนดให้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด และขอความร่วมมือองค์กรปกครองท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
4) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัด ให้ประชาชน สื่อมวลชนทุกแขนงได้รับทราบ เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งการบูรณาการการทำงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับพื้นที่
2. เพื่อให้การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด กระทรวงมหาดไทยได้ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นเลขานุการ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video conference) เพื่อชี้แจงแนวทางการคัดเลือก แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำกลุ่มอาชีพ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ
3. เพื่อให้ผู้นำชุมชนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง และขยายผลให้เป็นรูปธรรม กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 4 ภาค ช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคม — กันยายน 2549 ภาคละ 1 วัน กลุ่มเป้าหมายภาคละ 500 — 600 คน
4. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ และกระทรวง ทบวง กรม ได้น้อมนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงมอบหมายให้จังหวัดพิจารณาจัดมหกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเผยแพร่บูรณาการการทำงาน และแสดงผลการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตามความเหมาะสมในแต่ละจังหวัด
5. กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต เป็นหน่วยสนับสนุนทางวิชาการด้านการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--
การดำเนินการ
1. กระทรวงมหาดไทยได้จัดงาน “มหาดไทย...เพื่อคนไทยเข้มแข็ง” ระหว่างวันที่ 12 — 14 พฤษภาคม 2549 ณ สนามกีฬาราชมังคลากีฬ่าสถาน หัวหมาก เพื่อขยายผลการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตของประชาชนให้เป็นไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งกิจกรรมในงานประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างงาน สร้างอาชีพในแขนงต่าง ๆ การแนะนำ ส่งเสริมเส้นทางสู่อาชีพ และธุรกิจจากภาคเอกชน การสาธิต/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบ-การณ์ระหว่างกลุ่มอาชีพ การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ การจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้นได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก
2. กระทรวงมหาดไทย ขอให้ทุกจังหวัดดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเบื้องต้นให้คัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างจังหวัดละ 1 หมู่บ้าน ตามแนวทางที่กำหนด 3 ประการ ได้แก่ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันภายใต้ 2 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม และตามลักษณะกิจกรรมความพอเพียง 6 ด้าน ได้แก่ การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิต การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเอื้ออาทร ซึ่งจังหวัดได้คัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง รวม 75 หมู่บ้าน และได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 ให้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่าง ทั้ง 75 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านต้นแบบตัวอย่าง เพื่อการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดการประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จากสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน และได้มอบหมายให้ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตทั้ง 12 เขต ออกตรวจสอบข้อมูลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงตัวอย่างตามข้อ 2. ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นไปตามแนวทาง/เงื่อนไขที่กำหนด และพิจารณาคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นที่สุด 12 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ สำหรับการขยายผลเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในระดับภาคต่อไป
การขยายผล
1. กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งแนวทางการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายของจังหวัด เพื่อขยายผลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ในปี 2549 ดังนี้
1) พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงทั้ง 75 หมู่บ้าน 75 จังหวัด ให้เป็น “หมู่บ้าน/ชุมชน ต้นแบบตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง (Prototype village) “ ซึ่งสามารถเป็นศูนย์รวมของการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการศึกษาดูงานแก่หมู่บ้านอื่น ๆ ได้อย่างครบวงจร
2) ขยายผลโดยใช้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ มาปรับใช้ให้เหมาะสมตามสภาพภูมิสังคม ชุมชน และพื้นที่ โดยมีแนวทางการดำเนินการ 2 แนวทาง
(1) แนวทางที่ 1 ให้จังหวัดคัดเลือกตำบลจากทุกอำเภอ ๆ ละ 1 ตำบล โดยเป็นตำบลที่มีไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน ต้องมีลักษณะเบื้องต้นคือ มีกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นบ้างแล้วเป็นพื้นฐานทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน (หมู่บ้าน) และมีโอกาสที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับครัวเรือนและชุมชน (หมู่บ้าน)
(2) หรือแนวทางที่ 2 ให้จังหวัดคัดเลือกตำบลจากทุกอำเภอ ๆ ละมากกว่า 1 ตำบล แต่รวมกันไม่น้อยกว่า 6 หมู่บ้าน และทุกหมู่บ้านเป้าหมายที่คัดเลือก ต้องมีลักษณะเบื้องต้นเช่นเดียวกับแนวทางที่ 1
3) กำหนดให้ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพอเพียงเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด และขอความร่วมมือองค์กรปกครองท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ
4) เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของจังหวัด ให้ประชาชน สื่อมวลชนทุกแขนงได้รับทราบ เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งการบูรณาการการทำงานด้านเศรษฐกิจพอเพียงของหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับพื้นที่
2. เพื่อให้การขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด กระทรวงมหาดไทยได้ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นเลขานุการ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (Video conference) เพื่อชี้แจงแนวทางการคัดเลือก แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชนที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำกลุ่มอาชีพ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ
3. เพื่อให้ผู้นำชุมชนได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในแนวทางที่ถูกต้อง และขยายผลให้เป็นรูปธรรม กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง 4 ภาค ช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคม — กันยายน 2549 ภาคละ 1 วัน กลุ่มเป้าหมายภาคละ 500 — 600 คน
4. เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ และกระทรวง ทบวง กรม ได้น้อมนำมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงมอบหมายให้จังหวัดพิจารณาจัดมหกรรมหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเผยแพร่บูรณาการการทำงาน และแสดงผลการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ตามความเหมาะสมในแต่ละจังหวัด
5. กระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้ศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต เป็นหน่วยสนับสนุนทางวิชาการด้านการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--