แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
การท่องเที่ยว
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
พุทธศาสนา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายการท่องเที่ยว กีฬา พุทธศาสนา แรงงานและการพัฒนาสังคม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) เป็นประธานที่เห็นชอบให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเจ้าภาพหลักในการควบคุมดูแลธุรกิจและการเข้าพักของนักศึกษา และรับทราบมาตรการจัดระเบียบหอพัก รวม 7 มาตรการ ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า
1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 125 ได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานควบคุมดูแลธุรกิจหอพักและการเข้าพักของ นักเรียน นักศึกษา โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนที่เข้าพักอาศัยอยู่ในหอพักของเอกชนได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมากกว่าประโยชน์ในทางการค้าของผู้ประกอบกิจการหอพัก
2. จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนของผู้ประกอบการหอพักพบว่า
2.1 ผู้ประกอบการหอพักมี 2 ลักษณะ คือ
1) หอพักขนาดเล็ก ผู้ดำเนินกิจการจะเช่าตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์มาดัดแปลงเป็นหอพัก มีจำนวนห้องประมาณ 5-15 ห้อง เจ้าของหอพักส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องในการจดทะเบียน แต่ที่ยังไม่จดทะเบียนก็เพราะจะต้องเสียภาษี
2) หอพักขนาดใหญ่ ผู้ดำเนินกิจการมีทั้งในรูปธุรกิจส่วนตัวหรือนิติบุคคล อาคารที่พักจะมี ขนาดใหญ่ จำนวนห้องพักประมาณ 100 ห้องขึ้นไป ภายในห้องพักจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีชื่อเรียก แตกต่างไป เช่น อพาร์ตเม้นต์ แฟลต คอนโดมิเนียม เป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ยินดีจดทะเบียนเพราะจะทำให้ไม่สามารถรับผู้พักชาย — หญิงปะปนกันได้ จะทำให้ธุรกิจประสบปัญหาเพราะผู้พัก จะไม่เต็มตามจำนวนห้อง
2.2 เหตุผลที่ผู้ประกอบการหอพักทั้ง 2 ลักษณะไม่จดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507
1) ไม่ทราบระเบียบปฏิบัติของทางราชการ
2) ประสงค์รับผู้พักโดยไม่จำกัดเพศ
3) หลีกเลี่ยงการเสียภาษี
4) เพิ่มภาระในด้านรายจ่าย กรณีดัดแปลงสถานที่พักให้มีสุขลักษณะตามที่กฎหมายหอพักกำหนด
5) จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
6) มุ่งดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้พัก
7) ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่จดทะเบียนหอพักไม่มีความชัดเจนเพียงพอต่อการจูงใจผู้ประกอบการหอพัก
3. จากสถานการณ์และสภาพปัญหาในข้อ 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้กำหนดมาตรการจัดระเบียบหอพักรวม 7 มาตรการ ดังนี้
3.1 การรณรงค์ให้ผู้ประกอบการหอพักมีการดำเนินงานที่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2548
3.2 กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนหอพัก ตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคม 2548 โดยจัดหน่วยเคลื่อนที่ออกจดทะเบียนตามเขตพื้นที่ที่มีหอพักตั้งอยู่ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ
3.3 กำหนดระยะเวลาผ่อนผันให้ผู้ประกอบการหอพักให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม — 31 มีนาคม 2549
3.4 การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังหลังพ้นกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
3.5 การให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบหอพักประกอบด้วย สถานศึกษา ผู้ปกครองของเยาวชนที่พักในหอพัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมผู้ดำเนินงานหอพัก รวมทั้งเยาวชนที่พักในหอพัก
3.6 การให้สิทธิประโยชน์เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการ หอพักที่ดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ในเรื่องของการลดหย่อนภาษี หรือเสียภาษีในอัตราพิเศษหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ในส่วนรายละเอียดจะได้มีการหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป
3.7 การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับปรุงหอพักให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด โดยจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า
1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา 125 ได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานควบคุมดูแลธุรกิจหอพักและการเข้าพักของ นักเรียน นักศึกษา โดยมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนที่เข้าพักอาศัยอยู่ในหอพักของเอกชนได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพมากกว่าประโยชน์ในทางการค้าของผู้ประกอบกิจการหอพัก
2. จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในส่วนของผู้ประกอบการหอพักพบว่า
2.1 ผู้ประกอบการหอพักมี 2 ลักษณะ คือ
1) หอพักขนาดเล็ก ผู้ดำเนินกิจการจะเช่าตึกแถวหรือทาวน์เฮ้าส์มาดัดแปลงเป็นหอพัก มีจำนวนห้องประมาณ 5-15 ห้อง เจ้าของหอพักส่วนใหญ่ไม่ขัดข้องในการจดทะเบียน แต่ที่ยังไม่จดทะเบียนก็เพราะจะต้องเสียภาษี
2) หอพักขนาดใหญ่ ผู้ดำเนินกิจการมีทั้งในรูปธุรกิจส่วนตัวหรือนิติบุคคล อาคารที่พักจะมี ขนาดใหญ่ จำนวนห้องพักประมาณ 100 ห้องขึ้นไป ภายในห้องพักจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีชื่อเรียก แตกต่างไป เช่น อพาร์ตเม้นต์ แฟลต คอนโดมิเนียม เป็นต้น ผู้ประกอบธุรกิจประเภทนี้เสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ยินดีจดทะเบียนเพราะจะทำให้ไม่สามารถรับผู้พักชาย — หญิงปะปนกันได้ จะทำให้ธุรกิจประสบปัญหาเพราะผู้พัก จะไม่เต็มตามจำนวนห้อง
2.2 เหตุผลที่ผู้ประกอบการหอพักทั้ง 2 ลักษณะไม่จดทะเบียนให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507
1) ไม่ทราบระเบียบปฏิบัติของทางราชการ
2) ประสงค์รับผู้พักโดยไม่จำกัดเพศ
3) หลีกเลี่ยงการเสียภาษี
4) เพิ่มภาระในด้านรายจ่าย กรณีดัดแปลงสถานที่พักให้มีสุขลักษณะตามที่กฎหมายหอพักกำหนด
5) จงใจฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
6) มุ่งดำเนินธุรกิจโดยไม่คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้พัก
7) ผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่จดทะเบียนหอพักไม่มีความชัดเจนเพียงพอต่อการจูงใจผู้ประกอบการหอพัก
3. จากสถานการณ์และสภาพปัญหาในข้อ 2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้กำหนดมาตรการจัดระเบียบหอพักรวม 7 มาตรการ ดังนี้
3.1 การรณรงค์ให้ผู้ประกอบการหอพักมีการดำเนินงานที่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ตลอดเดือนพฤศจิกายน 2548
3.2 กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนหอพัก ตั้งแต่วันที่ 1-31 ธันวาคม 2548 โดยจัดหน่วยเคลื่อนที่ออกจดทะเบียนตามเขตพื้นที่ที่มีหอพักตั้งอยู่ เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ
3.3 กำหนดระยะเวลาผ่อนผันให้ผู้ประกอบการหอพักให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม — 31 มีนาคม 2549
3.4 การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังหลังพ้นกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
3.5 การให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบหอพักประกอบด้วย สถานศึกษา ผู้ปกครองของเยาวชนที่พักในหอพัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมาคมผู้ดำเนินงานหอพัก รวมทั้งเยาวชนที่พักในหอพัก
3.6 การให้สิทธิประโยชน์เพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการ หอพักที่ดำเนินกิจการถูกต้องตามกฎหมาย เช่น ในเรื่องของการลดหย่อนภาษี หรือเสียภาษีในอัตราพิเศษหรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ในส่วนรายละเอียดจะได้มีการหารือกับกระทรวงการคลังต่อไป
3.7 การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับปรุงหอพักให้มีมาตรฐานตามที่กำหนด โดยจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือปลอดดอกเบี้ย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--