คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางบริหารกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียน สำหรับอุดหนุนเกษตรกรให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบแนวทางและความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการหนี้สินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น
2. มอบหมายให้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเร่งรัดการจัดการหนี้สินและพิจารณาข้อเสนอการรวมกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือเกษตรกรและลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนในการบริหารงาน
3. มอบหมายให้สำนักงบประมาณเร่งรัดจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานเพื่อชดใช้คืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลังนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในปัจจุบันร่วมไปกับรายงานการตรวจสอบการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนฯ ไปปีต่อไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 ได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 4 ครั้ง โดยเป็นการประชุมที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานที่ประชุมรวม 2 ครั้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการและความเห็นต่อแนวทางบริหารกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. สถานะการเงินและหนี้สินของกองทุนฯ ในปัจจุบัน
1.1 สถานะการเงินและหนี้สินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 มีสินทรัพย์สุทธิ 7,381,93 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินฝากธนาคารและเงินฝากกระทรวงการคลัง 958.02 ล้านบาท ลูกหนี้และสินทรัพย์อื่น ๆ 6,004.95 ล้านบาท รายได้ค้างรับ 418.97 ล้านบาท และอุปกรณ์สุทธิ 0.06 ล้านบาท ด้านหนี้สิน มีหนี้ค้างชำระ 6,004.96 ล้านบาท
1.2 สถานะการเงินและหนี้สินของเงินกองทุนหมุนเวียน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 มีสินทรัพย์สุทธิ 2,654.54 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินฝากธนาคาร 2,338.76 ล้านบาท สินทรัพย์อื่น ๆ 313.37 ล้านบาท และรายได้ค้างรับ 2.41 ล้านบาท ในด้านหนี้สิน มีหนี้ค้างชำระรวม 313.37 ล้านบาท
2. การจัดการหนี้สินและผลการจัดการหนี้สินของกองทุนฯ
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน 2 แนวทาง คือ
2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ โดยมุ่งให้มีการปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถในการแข่งขันและสามารถกลับมาชำระเงินมากกว่าปรับโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับหน่วยงานต่าง ๆ
2.2 การตรวจสอบและเร่งรัดการชำระหนี้ โดยกองทุนได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องหนี้สิน ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การวางมาตรการในการตรวจสอบ ติดตาม เร่งรัดการชำระหนี้ และการบริหารจัดการหนี้สินของกองทุนฯ โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนรายงานผลการปฏิบัติงานโครงการ และรายงานการรับจ่ายเงินของโครงการทุกเดือน และรายงานหนี้สินและรายงานลูกหนี้ของโครงการปีละ 4 งวด ๆ ละ 3 เดือน ภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดงวด
3. ผลการดำเนินการจัดการหนี้สิน
หนี้ค้างชำระของทั้งสองกองทุนในช่วงต้นปีงบประมาณ 2549 จาก 39 โครงการ 10 หน่วยงาน รวม 6,318.33 ล้านบาท มีความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้
3.1 หน่วยงานได้ขอตั้งงบประมาณชดใช้หนี้คืนกองทุนทั้งสองตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549-2550 จำนวน 3 โครงการ ของ 3 หน่วยงาน วงเงินรวม 2,630.28 ล้านบาท แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณในปี 2549 เพียง 100 ล้านบาท ทำให้มีหนี้ที่เหลือรอการจัดสรรงบประมาณในปี 2550-2551 อีก 2,530.28 ล้านบาท
3.2 การเร่งรัดติดตามหนี้ในอีก 36 โครงการ ของ 8 หน่วยงาน วงเงิน 3,787.95 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ 7 โครงการ วงเงิน 272.54 ล้านบาท หน่วยงานได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรพิจารณา ส่วนอีก 29 โครงการ อยู่ระหว่างหน่วยงานจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้
3.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งข้อมูลรายละเอียดลูกหนี้พร้อมแผนการชำระหนี้คืนกองทุนในเบื้องต้นให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบ โดยมีหน่วยงานที่จัดทำแผนชำระหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 รวม 8 หน่วยงาน วงเงินค้างชำระ (เฉพาะเงินต้น) รวมกัน 3,794.63 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--
1. รับทราบแนวทางและความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการหนี้สินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรในการหาปัจจัยการผลิตตามโครงการความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางอาหารจากรัฐบาลญี่ปุ่น
2. มอบหมายให้กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเร่งรัดการจัดการหนี้สินและพิจารณาข้อเสนอการรวมกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือเกษตรกรและลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนในการบริหารงาน
3. มอบหมายให้สำนักงบประมาณเร่งรัดจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานเพื่อชดใช้คืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
4. มอบหมายให้กระทรวงการคลังนำเสนอผลการดำเนินงานของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในปัจจุบันร่วมไปกับรายงานการตรวจสอบการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนฯ ไปปีต่อไป เพื่อให้คณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2548 ได้จัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 4 ครั้ง โดยเป็นการประชุมที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายพินิจ จารุสมบัติ) เป็นประธานที่ประชุมรวม 2 ครั้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการและความเห็นต่อแนวทางบริหารกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรและเงินกองทุนหมุนเวียนสำหรับอุดหนุนเกษตรกรเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. สถานะการเงินและหนี้สินของกองทุนฯ ในปัจจุบัน
1.1 สถานะการเงินและหนี้สินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 มีสินทรัพย์สุทธิ 7,381,93 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินฝากธนาคารและเงินฝากกระทรวงการคลัง 958.02 ล้านบาท ลูกหนี้และสินทรัพย์อื่น ๆ 6,004.95 ล้านบาท รายได้ค้างรับ 418.97 ล้านบาท และอุปกรณ์สุทธิ 0.06 ล้านบาท ด้านหนี้สิน มีหนี้ค้างชำระ 6,004.96 ล้านบาท
1.2 สถานะการเงินและหนี้สินของเงินกองทุนหมุนเวียน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 มีสินทรัพย์สุทธิ 2,654.54 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินฝากธนาคาร 2,338.76 ล้านบาท สินทรัพย์อื่น ๆ 313.37 ล้านบาท และรายได้ค้างรับ 2.41 ล้านบาท ในด้านหนี้สิน มีหนี้ค้างชำระรวม 313.37 ล้านบาท
2. การจัดการหนี้สินและผลการจัดการหนี้สินของกองทุนฯ
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน 2 แนวทาง คือ
2.1 การปรับโครงสร้างหนี้ โดยมุ่งให้มีการปรับโครงสร้างกิจการของลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้มีความสามารถในการแข่งขันและสามารถกลับมาชำระเงินมากกว่าปรับโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับหน่วยงานต่าง ๆ
2.2 การตรวจสอบและเร่งรัดการชำระหนี้ โดยกองทุนได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องหนี้สิน ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงิน การวางมาตรการในการตรวจสอบ ติดตาม เร่งรัดการชำระหนี้ และการบริหารจัดการหนี้สินของกองทุนฯ โดยมีแนวทางที่สำคัญคือ ให้หน่วยงานที่ได้รับจัดสรรเงินจากกองทุนรายงานผลการปฏิบัติงานโครงการ และรายงานการรับจ่ายเงินของโครงการทุกเดือน และรายงานหนี้สินและรายงานลูกหนี้ของโครงการปีละ 4 งวด ๆ ละ 3 เดือน ภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นสุดงวด
3. ผลการดำเนินการจัดการหนี้สิน
หนี้ค้างชำระของทั้งสองกองทุนในช่วงต้นปีงบประมาณ 2549 จาก 39 โครงการ 10 หน่วยงาน รวม 6,318.33 ล้านบาท มีความคืบหน้าในการดำเนินการดังนี้
3.1 หน่วยงานได้ขอตั้งงบประมาณชดใช้หนี้คืนกองทุนทั้งสองตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549-2550 จำนวน 3 โครงการ ของ 3 หน่วยงาน วงเงินรวม 2,630.28 ล้านบาท แต่ได้รับจัดสรรงบประมาณในปี 2549 เพียง 100 ล้านบาท ทำให้มีหนี้ที่เหลือรอการจัดสรรงบประมาณในปี 2550-2551 อีก 2,530.28 ล้านบาท
3.2 การเร่งรัดติดตามหนี้ในอีก 36 โครงการ ของ 8 หน่วยงาน วงเงิน 3,787.95 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ 7 โครงการ วงเงิน 272.54 ล้านบาท หน่วยงานได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรพิจารณา ส่วนอีก 29 โครงการ อยู่ระหว่างหน่วยงานจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้
3.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดส่งข้อมูลรายละเอียดลูกหนี้พร้อมแผนการชำระหนี้คืนกองทุนในเบื้องต้นให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทราบ โดยมีหน่วยงานที่จัดทำแผนชำระหนี้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 รวม 8 หน่วยงาน วงเงินค้างชำระ (เฉพาะเงินต้น) รวมกัน 3,794.63 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มีนาคม 2549--จบ--