คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน รายงานความก้าวหน้าโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพิษณุโลก สรุปได้ดังนี้
1. งานถมดินและหินตัวเขื่อนสันตะเคียนและเขื่อนแควน้อย ปัจจุบันงามถมหินตัวเขื่อนมีความก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะตัวเขื่อนสันตะเคียนสามารถถมดินแกนเขื่อน และถมบดอัด Filter ทั้งทางด้านหน้าและท้ายเขื่อนได้ประมาณ 60% ของแผนงานที่กำหนด ความล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นปกติในงานก่อสร้างตัวเขื่อนในระยะเริ่มแรก เนื่องจากต้องดำเนินการขุดดินบริเวณลำน้ำเดิมตลอดจนร่องแกนเขื่อนเพื่อปรับปรุงฐานรากโดยการอัดฉีดน้ำปูน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เทคนิคและเวลา และทำให้เกิดความล่าช้าเช่นเดียวกับทุกเขื่อน แต่เมื่อพิจารณาระยะเวลาตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างเขื่อนแควน้อยถึงปัจจุบัน คือประมาณ 15 เดือน เปรียบเทียบกับงานก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่านและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในระยะเวลาเดียวกัน จะมีผลงานความก้าวหน้างานก่อสร้างมากกว่าทั้ง 2 เขื่อน
2. งานอาคารผันน้ำและอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (อุโมงค์ผันน้ำเขื่อนแควน้อย) งานก่อสร้างมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด คาดว่าสามารถผันน้ำเข้าอุโมงค์และปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยเพื่อดำเนินการปรับปรุงฐานราก และถมตัวเขื่อนแควน้อยในช่วงของลำน้ำได้ภายในเดือนเมษายน 2549
3. งานอาคารระบายน้ำล้น (Spillway) งานระเบิดหิน และปรับปรุงฐานรากอาคารใกล้แล้วเสร็จสมบูรณ์ สามารถเริ่มงานเทคอนกรีตพื้นอาคารและกำแพงกันดินบางส่วนได้แล้ว โดยหากเริ่มงานเทคอนกรีตได้ทั้งหมด จะสามารถทำให้งานก่อสร้างภาพรวมทั้งสัญญามีความก้าวหน้ามากขึ้น เนื่องจากปริมาณคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องก่อสร้างมีมากถึงประมาณ 90,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 320 ล้านบาท
ปัญหาขาดสภาพคล่องของผู้รับจ้าง ปัจจุบันธนาคารทหารไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับกรมชลประทานได้พิจารณาเบิกจ่ายค่างานสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) และพิจารณานำเงินประกันผลงานมาหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องให้ผู้รับจ้างเป็นการเบื้องต้น ทำให้ปัญหาเรื่องเงินลงทุนดีขึ้น ผู้รับจ้างจึงได้นำเครื่องจักรเครื่องมือและบุคลากรเข้ามาเพิ่มเติมจำนวนมาก ส่งผลให้ความก้าวหน้างานก่อสร้างถึงวันที่ 25 มีนาคม 2549 ประมาณ 19% เป็นเงินประมาณ 690 ล้านบาท คิดเป็นผลงานในครั้งนี้ (ครั้งที่ 14) 4.3% คิดเป็น 154 ล้านบาท มากกว่าผลงานที่วางแผนต้องทำให้ได้เฉลี่ยครั้งละประมาณ 4% หรือคิดเป็นเงิน 140 ล้านบาท ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง งานก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับและจะสามารถเก็บกักน้ำได้ภายใน 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 เมษายน 2549--จบ--
1. งานถมดินและหินตัวเขื่อนสันตะเคียนและเขื่อนแควน้อย ปัจจุบันงามถมหินตัวเขื่อนมีความก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะตัวเขื่อนสันตะเคียนสามารถถมดินแกนเขื่อน และถมบดอัด Filter ทั้งทางด้านหน้าและท้ายเขื่อนได้ประมาณ 60% ของแผนงานที่กำหนด ความล่าช้าที่เกิดขึ้นเป็นปกติในงานก่อสร้างตัวเขื่อนในระยะเริ่มแรก เนื่องจากต้องดำเนินการขุดดินบริเวณลำน้ำเดิมตลอดจนร่องแกนเขื่อนเพื่อปรับปรุงฐานรากโดยการอัดฉีดน้ำปูน ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้เทคนิคและเวลา และทำให้เกิดความล่าช้าเช่นเดียวกับทุกเขื่อน แต่เมื่อพิจารณาระยะเวลาตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างเขื่อนแควน้อยถึงปัจจุบัน คือประมาณ 15 เดือน เปรียบเทียบกับงานก่อสร้างเขื่อนคลองท่าด่านและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในระยะเวลาเดียวกัน จะมีผลงานความก้าวหน้างานก่อสร้างมากกว่าทั้ง 2 เขื่อน
2. งานอาคารผันน้ำและอาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม (อุโมงค์ผันน้ำเขื่อนแควน้อย) งานก่อสร้างมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและเป็นไปตามแผนงานที่กำหนด คาดว่าสามารถผันน้ำเข้าอุโมงค์และปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยเพื่อดำเนินการปรับปรุงฐานราก และถมตัวเขื่อนแควน้อยในช่วงของลำน้ำได้ภายในเดือนเมษายน 2549
3. งานอาคารระบายน้ำล้น (Spillway) งานระเบิดหิน และปรับปรุงฐานรากอาคารใกล้แล้วเสร็จสมบูรณ์ สามารถเริ่มงานเทคอนกรีตพื้นอาคารและกำแพงกันดินบางส่วนได้แล้ว โดยหากเริ่มงานเทคอนกรีตได้ทั้งหมด จะสามารถทำให้งานก่อสร้างภาพรวมทั้งสัญญามีความก้าวหน้ามากขึ้น เนื่องจากปริมาณคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องก่อสร้างมีมากถึงประมาณ 90,000 ลูกบาศก์เมตร คิดเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 320 ล้านบาท
ปัญหาขาดสภาพคล่องของผู้รับจ้าง ปัจจุบันธนาคารทหารไทยได้ให้ความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ทั้งระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับกรมชลประทานได้พิจารณาเบิกจ่ายค่างานสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) และพิจารณานำเงินประกันผลงานมาหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องให้ผู้รับจ้างเป็นการเบื้องต้น ทำให้ปัญหาเรื่องเงินลงทุนดีขึ้น ผู้รับจ้างจึงได้นำเครื่องจักรเครื่องมือและบุคลากรเข้ามาเพิ่มเติมจำนวนมาก ส่งผลให้ความก้าวหน้างานก่อสร้างถึงวันที่ 25 มีนาคม 2549 ประมาณ 19% เป็นเงินประมาณ 690 ล้านบาท คิดเป็นผลงานในครั้งนี้ (ครั้งที่ 14) 4.3% คิดเป็น 154 ล้านบาท มากกว่าผลงานที่วางแผนต้องทำให้ได้เฉลี่ยครั้งละประมาณ 4% หรือคิดเป็นเงิน 140 ล้านบาท ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง งานก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแนวโน้มดีขึ้นเป็นลำดับและจะสามารถเก็บกักน้ำได้ภายใน 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 เมษายน 2549--จบ--