เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขายหน่วยลงทุน
ในกองทุนรวมเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
ตามแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ตามแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงการคลัง) รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า รัฐบาลมีนโยบายชำระกฎหมายทั้งระบบ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายเพื่อให้ศึกษาและเสนอแนะการยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายทั้งระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศ โดยกำหนดให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดทำแผนพัฒนากฎหมายของแต่ละส่วนราชการ ในการนี้ กรมสรรพากรได้จัดทำแผนพัฒนากฎหมายของกรมสรรพากร ประจำปี พ.ศ. 2548 เสนอแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรบางมาตรา ซึ่งบรรจุในแผนพัฒนากฎหมายบูรณาการของกระทรวงการคลัง ประจำปี 2548 และแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ และได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2548 แล้ว ทั้งนี้ การแก้ไขประมวลรัษฎากรบางกรณีอาจทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปบ้าง แต่จะส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขายหน่วยลงทุน
ในกองทุนรวมเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
ตามแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานฯ ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ตามแผนพัฒนากฎหมายของกระทรวงการคลัง) รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า รัฐบาลมีนโยบายชำระกฎหมายทั้งระบบ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนากฎหมายเพื่อให้ศึกษาและเสนอแนะการยกเลิกและปรับปรุงกฎหมายทั้งระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศ โดยกำหนดให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งจัดทำแผนพัฒนากฎหมายของแต่ละส่วนราชการ ในการนี้ กรมสรรพากรได้จัดทำแผนพัฒนากฎหมายของกรมสรรพากร ประจำปี พ.ศ. 2548 เสนอแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรบางมาตรา ซึ่งบรรจุในแผนพัฒนากฎหมายบูรณาการของกระทรวงการคลัง ประจำปี 2548 และแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติ และได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2548 แล้ว ทั้งนี้ การแก้ไขประมวลรัษฎากรบางกรณีอาจทำให้รัฐสูญเสียรายได้ไปบ้าง แต่จะส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมในทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--