คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง มาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และมอบหมายให้ทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการต่อไป รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิอาสาสมัคร เพื่อร่วมดำเนินการ
2. อนุมัติในหลักการให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตั้งด่านตรวจ (ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจทั่วประเทศ) ตามมาตรการและแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 จำนวน 75,371,800 บาท โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็น และเป็นไปตามที่ปฏิบัติงานจริงต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีต่อ ๆ ไป รองรับไว้ด้วยประกอบด้วย
(1) แผนงานที่ 1 การตั้งจุดตรวจร่วมทั่วประเทศทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ 876 แห่ง เฉลี่ยแห่งละ 3 จุดๆ ละ 3 ผลัด ๆ ละ 10 คน คนละ 100 บาท ปฏิบัติงาน 10 วัน ทั้งนี้ให้จังหวัดสามารถปรับจำนวนจุดและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 78,840,000 บาท โดยใช้จ่ายจากงบบูรณาการปี 2549 ในส่วนของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ ระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตทั่วประเทศ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เหลือ จำนวน 3,468,200 บาท และขอสนับสนุนเพิ่มเติมจากงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 75,371,800 บาท
(2) แผนงานที่ 2 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในส่วนกลางและระดับพื้นที่ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติของหน่วยงานในการดำเนินการ
(3) แผนงานที่ 3 การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติของหน่วยงานในการดำเนินการ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน รายงานว่า
1. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยได้ดำเนินการในเรื่องของงบประมาณในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 โดยได้จัดสรรจากงบประมาณในเชิงบูรณาการปี 2549 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 115,942,000 บาท ในส่วนของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลปีใหม่ระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตทั่วประเทศ โดยใช้ไปทั้งสิ้นเป็นเงิน 81,493,800 บาท คงเหลือเงินจำนวน 34,388,200 บาท
2. คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้ประชุม ครั้งที่ 1/2549 เพื่อกำหนดมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติ เห็นชอบมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ระหว่างวันที่ 7-16 เมษายน 2549 โดยมีเป้าหมาย แผนงาน/งบประมาณในการดำเนินการ ดังนี้
2.1 เป้าหมายคาดคะเนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ (กรณี Admit) ไม่เกินผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงระยะเวลาเดียวกันของเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ที่ผ่านมา และคิดคำนวณกับสัดส่วนปริมาณจำนวนยานพาหนะในปี 2549 ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ดังนี้
1) เป้าหมายคาดคะเน 506 คน (ประมาณการผู้เสียชีวิต 595 คน)
2) เป้าหมายบาดเจ็บ (Admit) 6,194 คน (ประมาณการผู้บาดเจ็บ 7,287 คน)
2.2 มาตรการลดอุบัติเหตุ
1) มาตรการทั่วไป ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรการ
2) มาตรการเน้นหนัก (วันที่ 6 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2549) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ในระดับส่วนกลาง ระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้ดำเนินการตาม 8 มาตรการ อย่างจริงจังคือ มาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมาย มาตรการด้านระบบข้อมูล มาตรการด้านคน มาตรการด้านรถ มาตรการด้านถนน มาตรการด้านการบำบัดรักษา มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ และมาตรการติดตามประเมินผล
2.3 แนวทางดำเนินการ 3 แผนงาน
1) แผนงานที่ 1 จัดตั้งจุดตรวจร่วม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ(CEO) ระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมูลนิธิอาสาสมัครและภาคประชาชนในการตั้งด่านตรวจ โดยดำเนินการทั่วประเทศ ทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ 876 แห่ง
2) แผนงานที่ 2 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับ ดูแล ประสาน และปฏิบัติงาน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3) แผนงานที่ 3 การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภาคหรือเขตจัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดในเขตรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มีนาคม 2549--จบ--
1. เห็นชอบมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และมอบหมายให้ทุกจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการต่อไป รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิอาสาสมัคร เพื่อร่วมดำเนินการ
2. อนุมัติในหลักการให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการตั้งด่านตรวจ (ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ/ด่านตรวจทั่วประเทศ) ตามมาตรการและแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 จำนวน 75,371,800 บาท โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็น และเป็นไปตามที่ปฏิบัติงานจริงต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีในปีต่อ ๆ ไป รองรับไว้ด้วยประกอบด้วย
(1) แผนงานที่ 1 การตั้งจุดตรวจร่วมทั่วประเทศทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ 876 แห่ง เฉลี่ยแห่งละ 3 จุดๆ ละ 3 ผลัด ๆ ละ 10 คน คนละ 100 บาท ปฏิบัติงาน 10 วัน ทั้งนี้ให้จังหวัดสามารถปรับจำนวนจุดและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 78,840,000 บาท โดยใช้จ่ายจากงบบูรณาการปี 2549 ในส่วนของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ ระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตทั่วประเทศ ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่เหลือ จำนวน 3,468,200 บาท และขอสนับสนุนเพิ่มเติมจากงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 75,371,800 บาท
(2) แผนงานที่ 2 การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการในส่วนกลางและระดับพื้นที่ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติของหน่วยงานในการดำเนินการ
(3) แผนงานที่ 3 การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเจียดจ่ายจากงบประมาณปกติของหน่วยงานในการดำเนินการ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก ชิดชัย วรรณสถิตย์) ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน รายงานว่า
1. หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยได้ดำเนินการในเรื่องของงบประมาณในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2549 โดยได้จัดสรรจากงบประมาณในเชิงบูรณาการปี 2549 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 115,942,000 บาท ในส่วนของการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์และเทศกาลปีใหม่ระดับจังหวัด/อำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขตทั่วประเทศ โดยใช้ไปทั้งสิ้นเป็นเงิน 81,493,800 บาท คงเหลือเงินจำนวน 34,388,200 บาท
2. คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนได้ประชุม ครั้งที่ 1/2549 เพื่อกำหนดมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติ เห็นชอบมาตรการ และแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ระหว่างวันที่ 7-16 เมษายน 2549 โดยมีเป้าหมาย แผนงาน/งบประมาณในการดำเนินการ ดังนี้
2.1 เป้าหมายคาดคะเนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ (กรณี Admit) ไม่เกินผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงระยะเวลาเดียวกันของเทศกาลสงกรานต์ ปี 2548 ที่ผ่านมา และคิดคำนวณกับสัดส่วนปริมาณจำนวนยานพาหนะในปี 2549 ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ควรจะลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ดังนี้
1) เป้าหมายคาดคะเน 506 คน (ประมาณการผู้เสียชีวิต 595 คน)
2) เป้าหมายบาดเจ็บ (Admit) 6,194 คน (ประมาณการผู้บาดเจ็บ 7,287 คน)
2.2 มาตรการลดอุบัติเหตุ
1) มาตรการทั่วไป ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เป็นผู้รับผิดชอบในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้กลไกของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเป็นหน่วยงานหลักในการอำนวยการให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรการ
2) มาตรการเน้นหนัก (วันที่ 6 เมษายน 2549 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2549) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ในระดับส่วนกลาง ระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอ ให้ดำเนินการตาม 8 มาตรการ อย่างจริงจังคือ มาตรการด้านการบังคับใช้กฎหมาย มาตรการด้านระบบข้อมูล มาตรการด้านคน มาตรการด้านรถ มาตรการด้านถนน มาตรการด้านการบำบัดรักษา มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ และมาตรการติดตามประเมินผล
2.3 แนวทางดำเนินการ 3 แผนงาน
1) แผนงานที่ 1 จัดตั้งจุดตรวจร่วม โดยผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ(CEO) ระดมกำลังเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมูลนิธิอาสาสมัครและภาคประชาชนในการตั้งด่านตรวจ โดยดำเนินการทั่วประเทศ ทุกอำเภอ/กิ่งอำเภอ 876 แห่ง
2) แผนงานที่ 2 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ โดยการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 ทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยการ ควบคุม กำกับ ดูแล ประสาน และปฏิบัติงาน ตลอดจนการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3) แผนงานที่ 3 การสนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับภาคหรือเขตจัดหน่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของจังหวัดในเขตรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มีนาคม 2549--จบ--