คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนและผลการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ดังนี้
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ได้รับรายงาน รวม 16 ราย จาก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย 9 ราย จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดละ 3 ราย และจังหวัดพิจิตร 1 ราย ส่วนผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกใน พ.ศ. 2549 มีจำนวน 2 ราย เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ดังนี้ รายที่ 1 จังหวัดพิจิตร เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 รายที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี เสียชีวิตวันที่ 3 สิงหาคม 2549
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมประชุม เรื่อง “การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย” ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จาก 14 ประเทศ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย จัดโดยองค์การอนามัยโลก ร่วมกับรัฐบาลอินเดียและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย และเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกรุงเทพมหานครได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “รวมพลังสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร” มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นประธาน โดยได้เชิญผู้แทนโรงพยาบาลเอกชน ร้านขายยา โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครประชุมและได้ร่วมประกาศมาตรการการป้องกันโรคไข้หวัดนก เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกจากเขตปริมณฑล เข้าเขตกรุงเทพมหานคร การหลีกเลี่ยงและไม่สัมผัสสัตว์ปีกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุโดยตรง การส่งเสริมให้บริโภคสัตว์ปีกที่ปรุงสุกและถูกวิธี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมวิชาการผู้ประกอบการร้านค้าขายยา ในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมทั้งเภสัชกรและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขทุกอำเภอ จำนวน 500 คน เพื่อเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านยา และขอความร่วมมือร้านขายยาให้เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกด้วย
3. สถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดในต่างประเทศ
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วย 92 ราย ตาย 61 ราย รายละเอียดดังนี้
3.1 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ป่วย 8 ราย ตาย 5 ราย
3.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ป่วย 12 ราย ตาย 8 ราย
3.4 สาธารณรัฐจิบูตี ป่วย 1 ราย
3.5 สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ป่วย 14 ราย ตาย 6 ราย
3.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ป่วย 41 ราย ตาย 34 ราย
3.7 สาธารณรัฐอิรัก ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.8 สาธารณรัฐตุรกี ป่วย 12 ราย ตาย 4 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ในวันที่ 20 สิงหาคม 2549 ได้รับรายงาน รวม 16 ราย จาก 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย 9 ราย จังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดอุทัยธานี จังหวัดละ 3 ราย และจังหวัดพิจิตร 1 ราย ส่วนผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกใน พ.ศ. 2549 มีจำนวน 2 ราย เสียชีวิตทั้ง 2 ราย ดังนี้ รายที่ 1 จังหวัดพิจิตร เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 รายที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี เสียชีวิตวันที่ 3 สิงหาคม 2549
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมประชุม เรื่อง “การป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย” ซึ่งเป็นการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จาก 14 ประเทศ ณ กรุงนิวเดลี ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย จัดโดยองค์การอนามัยโลก ร่วมกับรัฐบาลอินเดียและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในมาตรการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมรองรับการระบาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย และเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2549 กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกรุงเทพมหานครได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “รวมพลังสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร” มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมเป็นประธาน โดยได้เชิญผู้แทนโรงพยาบาลเอกชน ร้านขายยา โรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครประชุมและได้ร่วมประกาศมาตรการการป้องกันโรคไข้หวัดนก เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกจากเขตปริมณฑล เข้าเขตกรุงเทพมหานคร การหลีกเลี่ยงและไม่สัมผัสสัตว์ปีกที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุโดยตรง การส่งเสริมให้บริโภคสัตว์ปีกที่ปรุงสุกและถูกวิธี เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมวิชาการผู้ประกอบการร้านค้าขายยา ในจังหวัดนครราชสีมา ร่วมทั้งเภสัชกรและเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขทุกอำเภอ จำนวน 500 คน เพื่อเสริมองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านยา และขอความร่วมมือร้านขายยาให้เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกด้วย
3. สถานการณ์การระบาดโรคไข้หวัดในต่างประเทศ
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2549 ถึงปัจจุบัน พบผู้ป่วย 92 ราย ตาย 61 ราย รายละเอียดดังนี้
3.1 สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจัน ป่วย 8 ราย ตาย 5 ราย
3.2 ราชอาณาจักรกัมพูชา ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ป่วย 12 ราย ตาย 8 ราย
3.4 สาธารณรัฐจิบูตี ป่วย 1 ราย
3.5 สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ป่วย 14 ราย ตาย 6 ราย
3.6 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ป่วย 41 ราย ตาย 34 ราย
3.7 สาธารณรัฐอิรัก ป่วย 2 ราย ตาย 2 ราย
3.8 สาธารณรัฐตุรกี ป่วย 12 ราย ตาย 4 ราย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 สิงหาคม 2549--จบ--