แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานผลการดำเนินการตามมติการประชุมนายกรัฐมนตรีกับภาคเอกชนกลุ่ม 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร) ในรอบ 6 เดือน โดยมีมติทั้งสิ้น 11 เรื่อง และจากการติดตามผลการดำเนินงานจนถึงเดือนมิถุนายน 2549 พบว่า ผลการดำเนินการสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ มีจำนวน 2 เรื่อง คือ
1.1 การใช้แรงงานต่างด้าว พบว่าในปัจจุบันได้ใช้แนวทางเดียวกันทั้งประเทศไม่มีพื้นที่ใดเป็นกรณีพิเศษ กล่าวคือ มติ ครม. อนุญาตให้แรงงาน พม่า ลาว กัมพูชา หลบหนีเข้าเมืองอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ชั่วคราว และทำงานเป็นกรรมกรและผู้รับใช้ในบ้านเท่านั้น
1.2 การอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาศึกษาในไทย พบว่าปัจจุบันนักศึกษาประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นผู้รับทุนในประเทศไทย สามารถดำเนินการขอวีซ่าประเภท F ซึ่งตรวจลงตราอนุญาตให้สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ในสามเดือนแรก แต่ถ้าประสงค์จะอยู่ศึกษาต่อก็สามารถขอขยายเวลาได้ถึง 2 ปี ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกได้เพียงพอแล้ว
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 7 เรื่อง แยกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1 การพัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว (Regional Hub) ในอนุภูมิภาคอินโดจีน จำนวน 4 เรื่อง
(1) การสร้างศูนย์กระจายสินค้า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในมุกดาหารเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนากับเขตเศรษฐกิจสะหวันเซโนและได้มีการร่วมลงนามความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่าง 6 ประเทศ GMS
(2) การใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานสะหวันนะเขต JICA ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) ของการปรับปรุงสนามบินสะหวันนะเขต เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยกับลาวแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และจะจัดให้มีการประชุมสามฝ่ายระหว่างไทย — ลาว — ญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาผลการศึกษาและหารือแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไป
(3) การจัดตั้ง SMEs Center สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินการคัดเลือกวิสาหกิจเป้าหมายและหน่วยงานทำหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะ SMEs รวมทั้งกำหนดหลักสูตรสำหรับการบ่มเพาะผู้ประกอบการ
(4) การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ที่จังหวัดนครพนม ที่ประชุมร่วมไทย-ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการก่อสร้างสะพานระหว่างจังหวัดนครพนมและแขวงคำม่วน ณ บริเวณบ้านห้อมของฝั่งไทย และบ้านเวินใต้ของฝั่งลาว
2.2 การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 1 เรื่อง
(1) การพัฒนาสถาบันการศึกษาในพื้นที่และสนับสนุนการศึกษาเพื่อรองรับนักเรียนประเทศเพื่อนบ้าน สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองคู่แฝด (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนด้านการศึกษาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.3 การส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 2 เรื่อง
(1) การพัฒนาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับประเทศเพื่อนบ้าน กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ในเขต จ.กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร และสำรวจรายละเอียดแหล่งปลาภูน้ำจั้น เพื่อออกแบบเป็นพิพิธภัณฑ์ปลาแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(2) การพัฒนาแหล่งขุดค้นพบไดโนเสาร์ที่มีลักษณะเป็น Edutainment กรมทรัพยากรธรณี อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดของงานจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว
3. เรื่องที่หน่วยงานรายงานว่าอยู่ระหว่างดำเนินการแต่ไม่มีความก้าวหน้าเพิ่มเติมจากที่รายงานไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2549 จำนวน 2 เรื่อง
3.1 การพัฒนาโครงข่ายระบบราง การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการเสนอของบประมาณประจำปี 2550 จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างขยายเส้นทางรถไฟสายบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม พร้อมศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางใหม่ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายขอนแก่น-เชียงยืน-ยางตลาด - โพนทอง (ร้อยเอ็ด) —มุกดาหาร ระยะทางประมาณ 200 กม.
3.2 การปรับปรุงเส้นทางจราจร กรมทางหลวง ได้เสนอขอตั้งงบประมาณในปี 2550 จำนวนเงิน 92 ล้านบาท เพื่อขยายเส้นทางจราจร ในช่วง อ.มุกดาหาร — อ. หว้านใหญ่ ระยะทาง 22 กิโลเมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--
1. เรื่องที่ดำเนินการแล้วเสร็จ มีจำนวน 2 เรื่อง คือ
1.1 การใช้แรงงานต่างด้าว พบว่าในปัจจุบันได้ใช้แนวทางเดียวกันทั้งประเทศไม่มีพื้นที่ใดเป็นกรณีพิเศษ กล่าวคือ มติ ครม. อนุญาตให้แรงงาน พม่า ลาว กัมพูชา หลบหนีเข้าเมืองอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ชั่วคราว และทำงานเป็นกรรมกรและผู้รับใช้ในบ้านเท่านั้น
1.2 การอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้ามาศึกษาในไทย พบว่าปัจจุบันนักศึกษาประเทศเพื่อนบ้านซึ่งเป็นผู้รับทุนในประเทศไทย สามารถดำเนินการขอวีซ่าประเภท F ซึ่งตรวจลงตราอนุญาตให้สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ในสามเดือนแรก แต่ถ้าประสงค์จะอยู่ศึกษาต่อก็สามารถขอขยายเวลาได้ถึง 2 ปี ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกได้เพียงพอแล้ว
2. เรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 7 เรื่อง แยกเป็น 3 กลุ่มดังนี้
2.1 การพัฒนากลุ่มจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว (Regional Hub) ในอนุภูมิภาคอินโดจีน จำนวน 4 เรื่อง
(1) การสร้างศูนย์กระจายสินค้า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาความเหมาะสมในการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในมุกดาหารเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนากับเขตเศรษฐกิจสะหวันเซโนและได้มีการร่วมลงนามความตกลงการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่าง 6 ประเทศ GMS
(2) การใช้ประโยชน์ท่าอากาศยานสะหวันนะเขต JICA ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility study) ของการปรับปรุงสนามบินสะหวันนะเขต เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยกับลาวแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และจะจัดให้มีการประชุมสามฝ่ายระหว่างไทย — ลาว — ญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาผลการศึกษาและหารือแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไป
(3) การจัดตั้ง SMEs Center สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินการคัดเลือกวิสาหกิจเป้าหมายและหน่วยงานทำหน้าที่ศูนย์บ่มเพาะ SMEs รวมทั้งกำหนดหลักสูตรสำหรับการบ่มเพาะผู้ประกอบการ
(4) การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ที่จังหวัดนครพนม ที่ประชุมร่วมไทย-ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการก่อสร้างสะพานระหว่างจังหวัดนครพนมและแขวงคำม่วน ณ บริเวณบ้านห้อมของฝั่งไทย และบ้านเวินใต้ของฝั่งลาว
2.2 การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 1 เรื่อง
(1) การพัฒนาสถาบันการศึกษาในพื้นที่และสนับสนุนการศึกษาเพื่อรองรับนักเรียนประเทศเพื่อนบ้าน สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศเพื่อนบ้าน และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองคู่แฝด (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนด้านการศึกษาระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
2.3 การส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 2 เรื่อง
(1) การพัฒนาเชื่อมโยงการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับประเทศเพื่อนบ้าน กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์ในเขต จ.กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร และสำรวจรายละเอียดแหล่งปลาภูน้ำจั้น เพื่อออกแบบเป็นพิพิธภัณฑ์ปลาแห่งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(2) การพัฒนาแหล่งขุดค้นพบไดโนเสาร์ที่มีลักษณะเป็น Edutainment กรมทรัพยากรธรณี อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดของงานจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว
3. เรื่องที่หน่วยงานรายงานว่าอยู่ระหว่างดำเนินการแต่ไม่มีความก้าวหน้าเพิ่มเติมจากที่รายงานไปเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2549 จำนวน 2 เรื่อง
3.1 การพัฒนาโครงข่ายระบบราง การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างการเสนอของบประมาณประจำปี 2550 จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนศึกษาความเหมาะสมของการก่อสร้างขยายเส้นทางรถไฟสายบัวใหญ่-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม พร้อมศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางใหม่ของโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายขอนแก่น-เชียงยืน-ยางตลาด - โพนทอง (ร้อยเอ็ด) —มุกดาหาร ระยะทางประมาณ 200 กม.
3.2 การปรับปรุงเส้นทางจราจร กรมทางหลวง ได้เสนอขอตั้งงบประมาณในปี 2550 จำนวนเงิน 92 ล้านบาท เพื่อขยายเส้นทางจราจร ในช่วง อ.มุกดาหาร — อ. หว้านใหญ่ ระยะทาง 22 กิโลเมตร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 กรกฎาคม 2549--จบ--