คณะรัฐมนตรีพิจารณากรอบและงบประมาณประจำปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจที่ได้พิจารณาทบทวนปรับลดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 โดยขาดดุลไม่เกินร้อยละ 1 ของ GDP หรือเบิกจ่ายลงทุนจำนวนประมาณ 296,000 ล้านบาท (เดิมเสนอขาดดุลร้อยละ 2 ของ GDP หรือเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 420,000 ล้านบาท)
2. เห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมเบื้องต้น วงเงินดำเนินการ 303,430 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่าย 208,447 ล้านบาท โดยปรับลดวงเงินดำเนินการ จำนวน 26,737 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายจำนวน 27,755 ล้านบาท สำหรับโครงการใหม่ที่รัฐวิสาหกิจคาดว่าจะดำเนินการในปี 2549 แต่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 27,825 ล้านบาท และให้ ดำเนินการได้
3. รับทราบงบประมาณทำการปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 79,859 ล้านบาท และสามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ประมาณ 217,886 ล้านบาท
4. รับทราบแนวโน้มการดำเนินงานปี 2550-2552 ที่ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,047,115 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 349,039 ล้านบาท) และงบประมาณทำการ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 309,020 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 349,039 ล้านบาท) และงบประมาณทำการ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 309,020 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 103,007 ล้านบาท)
5. มอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและระดับองค์กร ไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในสังกัดให้ สศช. ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ดังนี้
5.1 คณะกรรมการ สศช. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุน กำหนดเป็นนโยบายให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายลงทุนในปี 2549 ให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของวงเงินเบิกจ่าย
2) การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ
กลุ่มที่ให้บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด ให้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ รัฐถือหุ้นส่วนใหญ่ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะการดำเนินงานแข่งขัน ให้แปลงสภาพ ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือจำหน่ายจ่ายโอนหรือยุติการดำเนินงานตามความเหมาะสม
กลุ่มที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐ รัฐควรให้การอุดหนุนเฉพาะต้นทุนบริการเชิงสังคม และให้รัฐวิสาหกิจเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การบริหาร และการบริหารจัดการ
3) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ให้รัฐวิสาหกิจจัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของโครงการที่มีวงเงินลงทุนเกินกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ โดยสนับสนุนผ่านการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยและพัฒนาในประเทศ
4) การพัฒนาบุคลากร ให้รัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและผลิตภาพของพนักงานให้สามารถเป็นกลไกหลักในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
5) การดำเนินมาตรการการแลกเปลี่ยนสินค้า รัฐวิสาหกิจที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศให้พิจารณามาตรการการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นมาตรการเสริม เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
6) การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดรัฐวิสาหกิจให้แปลงสภาพ ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาการขาดสภาพคล่อง ลดภาระภาครัฐด้านบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ลดต้นทุนการเงินของรัฐวิสาหกิจโดยมีทางเลือกแหล่งเงินที่มีต้นทุนต่ำ
7) นโยบายราคา พิจารณากำหนดราคาขายน้ำประปา และไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ห่างไกลและต้องลงทุนสูงกว่าปกติในราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
8) การพัฒนาบ้านมือสอง ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบ้านมือสองโดยประสานความร่วมมือกับสถาบันการเงินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นศูนย์ข้อมูลบ้านมือสองทั้งระบบ
9) กลไกกำกับดูแลหน่วยงานอิสระ ปัจจุบัน มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระเพิ่มขึ้นหลายแห่ง ที่ขอรับการสนับสนุนจากเงินงบประมาณเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่ชัดเจน จึงเห็นควรให้มีกลไกกำกับดูแลหน่วยงานอิสระเหล่านี้ ทั้งที่เป็น SDU (Service Delivery Unit) และองค์กรมหาชน (Public Organization) เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
5.2 ข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและองค์กร ข้อเสนอแนะระดับกระทรวงส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะด้านการทบทวนอัตราค่าบริการขนส่งทางน้ำและอากาศ การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การจัดตั้งองค์กรกำกับ และการกำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจ สำหรับข้อเสนอแนะระดับองค์กรส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะด้านวางแผนดำเนินการ และการลงทุน รวมทั้งการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบกรอบงบประมาณประจำปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจที่ได้พิจารณาทบทวนปรับลดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 โดยขาดดุลไม่เกินร้อยละ 1 ของ GDP หรือเบิกจ่ายลงทุนจำนวนประมาณ 296,000 ล้านบาท (เดิมเสนอขาดดุลร้อยละ 2 ของ GDP หรือเบิกจ่ายลงทุนจำนวน 420,000 ล้านบาท)
2. เห็นชอบงบประมาณลงทุนประจำปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมเบื้องต้น วงเงินดำเนินการ 303,430 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่าย 208,447 ล้านบาท โดยปรับลดวงเงินดำเนินการ จำนวน 26,737 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายจำนวน 27,755 ล้านบาท สำหรับโครงการใหม่ที่รัฐวิสาหกิจคาดว่าจะดำเนินการในปี 2549 แต่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี จำนวน 27,825 ล้านบาท และให้ ดำเนินการได้
3. รับทราบงบประมาณทำการปี 2549 ของรัฐวิสาหกิจในภาพรวม โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 79,859 ล้านบาท และสามารถจัดหาเงินสดเพื่อใช้ในการลงทุนได้ประมาณ 217,886 ล้านบาท
4. รับทราบแนวโน้มการดำเนินงานปี 2550-2552 ที่ประมาณว่าจะมีการเบิกจ่ายลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,047,115 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 349,039 ล้านบาท) และงบประมาณทำการ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 309,020 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 349,039 ล้านบาท) และงบประมาณทำการ ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิรวม 309,020 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 103,007 ล้านบาท)
5. มอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและระดับองค์กร ไปพิจารณาดำเนินการ และรายงานการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจในสังกัดให้ สศช. ทราบภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อให้มีการติดตามผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ดังนี้
5.1 คณะกรรมการ สศช. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
1) การเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุน กำหนดเป็นนโยบายให้รัฐวิสาหกิจเร่งรัดการเบิกจ่ายลงทุนอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายลงทุนในปี 2549 ให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของวงเงินเบิกจ่าย
2) การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการ
กลุ่มที่ให้บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ รัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะผูกขาดหรือกึ่งผูกขาด ให้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ รัฐถือหุ้นส่วนใหญ่ สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะการดำเนินงานแข่งขัน ให้แปลงสภาพ ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือจำหน่ายจ่ายโอนหรือยุติการดำเนินงานตามความเหมาะสม
กลุ่มที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐ รัฐควรให้การอุดหนุนเฉพาะต้นทุนบริการเชิงสังคม และให้รัฐวิสาหกิจเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน การบริหาร และการบริหารจัดการ
3) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ให้รัฐวิสาหกิจจัดสรรงบประมาณสำหรับการวิจัยและพัฒนาในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของกำไรสุทธิ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 ของโครงการที่มีวงเงินลงทุนเกินกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ โดยสนับสนุนผ่านการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยและพัฒนาในประเทศ
4) การพัฒนาบุคลากร ให้รัฐวิสาหกิจให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณพัฒนาบุคลากรให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพและผลิตภาพของพนักงานให้สามารถเป็นกลไกหลักในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง
5) การดำเนินมาตรการการแลกเปลี่ยนสินค้า รัฐวิสาหกิจที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศให้พิจารณามาตรการการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นมาตรการเสริม เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ
6) การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ เร่งรัดรัฐวิสาหกิจให้แปลงสภาพ ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาการขาดสภาพคล่อง ลดภาระภาครัฐด้านบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ลดต้นทุนการเงินของรัฐวิสาหกิจโดยมีทางเลือกแหล่งเงินที่มีต้นทุนต่ำ
7) นโยบายราคา พิจารณากำหนดราคาขายน้ำประปา และไฟฟ้าที่จำหน่ายให้กับภาคธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ห่างไกลและต้องลงทุนสูงกว่าปกติในราคาสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
8) การพัฒนาบ้านมือสอง ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบ้านมือสองโดยประสานความร่วมมือกับสถาบันการเงินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นศูนย์ข้อมูลบ้านมือสองทั้งระบบ
9) กลไกกำกับดูแลหน่วยงานอิสระ ปัจจุบัน มีการจัดตั้งหน่วยงานอิสระเพิ่มขึ้นหลายแห่ง ที่ขอรับการสนับสนุนจากเงินงบประมาณเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลที่ชัดเจน จึงเห็นควรให้มีกลไกกำกับดูแลหน่วยงานอิสระเหล่านี้ ทั้งที่เป็น SDU (Service Delivery Unit) และองค์กรมหาชน (Public Organization) เพื่อให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
5.2 ข้อเสนอแนะระดับกระทรวงและองค์กร ข้อเสนอแนะระดับกระทรวงส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะด้านการทบทวนอัตราค่าบริการขนส่งทางน้ำและอากาศ การเชื่อมโยงระบบเครือข่ายการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การจัดตั้งองค์กรกำกับ และการกำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจ สำหรับข้อเสนอแนะระดับองค์กรส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะด้านวางแผนดำเนินการ และการลงทุน รวมทั้งการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 กันยายน 2548--จบ--