แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงการคลัง
สภาผู้แทนราษฎร
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ดังนี้
1. เพิ่มเติมบทบัญญัติให้เงินหรือทรัพย์สินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการโอนย้ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้
2. เพิ่มบทบัญญัติให้กองทุนมีนโยบายการลงทุนหลากหลายให้สมาชิกได้เลือกตามความต้องการ โดยกำหนดขั้นตอนและวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณสิทธิประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้เลือกลงทุนไว้
3. เพิ่มเติมบทบัญญัติให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากเกษียณอายุมีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด และดำรงสมาชิกภาพในกองทุนต่อไปได้ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน
กระทรวงการคลังชี้แจงว่า พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งใช้บังคับมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ปัจจุบันได้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากไม่มีบทบัญญัติรองรับการแก้ไขปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง นายจ้าง และผู้จัดการเงินกองทุน ทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักงาน ก.ล.ต. ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกระทรวงการคลังซึ่งรักษาการตามกฎหมายได้ติดตามสภาพปัญหา ประเด็นข้อร้องเรียนจากทุกฝ่ายได้พิจารณาแล้ว เห็นควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อลดปัญหา อุปสรรคในขั้นตอนดำเนินการต่าง ๆ และเพื่อรองรับนโยบายของรัฐในการผลักดันให้มีการออมโดยผ่านระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 มกราคม 2549--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ดังนี้
1. เพิ่มเติมบทบัญญัติให้เงินหรือทรัพย์สินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการโอนย้ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้
2. เพิ่มบทบัญญัติให้กองทุนมีนโยบายการลงทุนหลากหลายให้สมาชิกได้เลือกตามความต้องการ โดยกำหนดขั้นตอนและวิธีการที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณสิทธิประโยชน์เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพให้สอดคล้องกับนโยบายการลงทุนที่ลูกจ้างได้เลือกลงทุนไว้
3. เพิ่มเติมบทบัญญัติให้ลูกจ้างที่สิ้นสมาชิกภาพเนื่องจากเกษียณอายุมีสิทธิขอรับเงินจากกองทุนเป็นงวด และดำรงสมาชิกภาพในกองทุนต่อไปได้ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุน
กระทรวงการคลังชี้แจงว่า พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ซึ่งใช้บังคับมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ปัจจุบันได้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากไม่มีบทบัญญัติรองรับการแก้ไขปัญหาบางประการที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง นายจ้าง และผู้จัดการเงินกองทุน ทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำนักงาน ก.ล.ต. ในฐานะนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกระทรวงการคลังซึ่งรักษาการตามกฎหมายได้ติดตามสภาพปัญหา ประเด็นข้อร้องเรียนจากทุกฝ่ายได้พิจารณาแล้ว เห็นควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อลดปัญหา อุปสรรคในขั้นตอนดำเนินการต่าง ๆ และเพื่อรองรับนโยบายของรัฐในการผลักดันให้มีการออมโดยผ่านระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 มกราคม 2549--จบ--