แผนฟื้นฟูธุรกิจของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 1, 2009 10:28 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนฟื้นฟูธุรกิจระยะเร่งด่วนของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอดังนี้

สาระสำคัญของเรื่อง

กระทรวงคมนาคมรายงานว่า

1. ในช่วงปลายปี 2551 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประสบปัญหาสภาพคล่องและมีผลประกอบการขาดทุน ต่อมาบริษัทฯ จึงได้ จ้างบริษัท Avantgarde Capita และ L.E.K. Consulting เพื่อศึกษาและจัดทำแผนฟื้นฟูบริษัทฯ และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูธุรกิจ (Turnaround Plan Steering Committee : TSC) โดยมี นายพิชัย ชุณหวชิร เป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงคมนาคมและผู้แทนของ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจร่วมด้วย โดยให้มีหน้าที่เป็นผู้กำกับดูแลฝ่ายบริหารให้ดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจและดำเนินการตามแผนเพื่อ ฟื้นฟูกิจการอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ แล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ แผนฟื้นฟูธุรกิจระยะเร่งด่วนในปี 2552 โดยมุ่งแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง รักษาและเพิ่มคุณภาพรายได้ ควบคุมค่า ใช้จ่าย และชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน และแผนฟื้นฟูระยะต่อไป บริษัทฯ จะจัดทำยุทธศาสตร์เครือข่ายการบินและฝูงบิน ปรับโครงสร้าง ธุรกิจ พัฒนาบุคลากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และปรับโครงสร้างทางการเงินระยะยาว ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

1.1 แผนฟื้นฟูธุรกิจระยะเร่งด่วน : เน้นธุรกิจการขนส่งผู้โดยสารเป็นอันดับแรก ประกอบด้วย แผนธุรกิจ 2 แผน คือ แผนการ รักษาและเพิ่มคุณภาพรายได้ และแผนการควบคุมต้นทุนและการลงทุน และแผนด้านการเงิน 1 แผน คือ แผนการแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งมีราย ละเอียดดังนี้

1.1.1 การรักษาและเพิ่มคุณภาพรายได้ : บริษัทฯ มุ่งรักษาและเพิ่มคุณภาพรายได้ในปี 2552 ให้มีระดับใกล้เคียงกับปี 2551 โดยจะดำเนินการ 3 ด้าน คือ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านผลิตภัณฑ์เสริม ดังนี้

กรอบการดำเนินงาน              แนวทาง
1. ด้านราคา                   - นำระบบใหม่มาใช้เพื่อปรับลดและเลิกค่านายหน้า
  • ปรับอัตราค่าธรรมเนียมน้ำมัน (Fuel Surcharge) ให้รวดเร็วตามความผันผวนของราคาน้ำมัน
  • ทบทวนระบบการจัดสรรที่นั่ง เพิ่มสัดส่วนการขยายตรงโดยเฉพาะ Web Sales
  • ปรับปรุงระบบและเครื่องมือกระตุ้นการขาย
  • เพิ่มประสิทธิผลของระบบกำหนดราคา ปรับราคาให้อยู่ในระดับเดียวกับคู่แข่ง
2. ด้านผลิตภัณฑ์                 - ปรับปรุงการใช้ประเภทเครื่องบินที่มีอยู่ในเส้นทางเดียวกันให้มีความใกล้เคียงและสม่ำเสมอกัน

มากที่สุด เพื่อให้สามารถทดแทนกันได้

  • ขยายเส้นทางบินและเที่ยวบินในภูมิภาคและในตลาดที่เข้มแข็ง เช่น อินเดีย ไต้หวัน โซล มิวนิค เพิร์ธ
  • ขยายเส้นทางบินและเที่ยวบินในประเทศ เช่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต
3. ด้านผลิตภัณฑ์เสริม             - เพิ่มรายได้ด้วยผลิตภัณฑ์เสริมที่เกี่ยวเนื่องกับการโดยสารต่างๆ  เช่น โรงแรม รถเช่า และประกันภัย
  • ปรับปรุงโปรแกรม Royal Orchid Plus ดึงดูดลูกค้า

1.1.2 การควบคุมค่าใช้จ่ายและการลงทุน : ปี 2552 บริษัทฯ มีเป้าหมายปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ต้นทุนน้ำมันและค่าเสื่อม ราคา เช่น ด้านปฏิบัติการการบิน ด้านปฏิบัติการภาคพื้น ด้านการขายและการตลาด ด้านการซ่อมบำรุงอากาศยาน ด้านบุคลากร เป็นต้น ประมาณ 10,000 ล้านบาท (ลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในปี 2551) และรักษาระดับค่าใช้จ่ายให้คงที่ไปอีกอย่างน้อย 2 ปี รวมทั้งปรับลดการลง ทุนที่ไม่เร่งด่วน ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางตรงต่อธุรกิจประมาณ 2,500 ล้านบาท ดังนี้

ค่าใช้จ่าย                               แนวทางการดำเนินงาน                             ค่าใช้จ่ายที่ลดได้ (ล้านบาท/ปี)
1. การปฏิบัติการการบิน          - วางแผนการบินให้เหมาะสม ลดน้ำหนักบรรทุก                           3,700 — 4,200
  • นำเครื่องบินใหม่ (A330-300) เข้ามาบินแทน A300-600
  • ปรับลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบิน ค่าล่วงเวลาของนักบินและพนักงาน

ต้อนรับบนเครื่องบิน

  • เจรจาขอลดค่าบริการ Landing Fee และ Navigation Fee

ทั้งในและต่างประเทศ

2. การปฏิบัติการภาคพื้น          - เจรจาขอปรับลดค่าบริการภาคพื้นและบริการทางเทคนิคในสถานีทั้งใน              1,400

และต่างประเทศ

3. การตลาดและการขาย         - ลดค่านายหน้าจากการขายบัตรโดยสารและ Cargo
                            - เจรจาลดค่าธรรมเนียมระบบสำรองที่นั่ง เพิ่มสัดส่วนการจำหน่ายบัตร              1,000

โดยสารผ่านอินเตอร์เน็ต

4. ค่าบำรุงรักษาอากาศยาน       - เพิ่มประสิทธิภาพการซ่อมบำรุงอากาศยาน การสั่งซื้อและการจัดเก็บอะไหล่            220
5. บุคลากร                   - งดการขึ้นเงินเดือนและโบนัสปี 2552 และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบุคลากร       4,000
  • ลดผลตอบแทนคณะกรรมการบริษัท และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
6. การบริหารงานทั่วไป          - ลดการเช่าพื้นที่ และต่อรองค่าเช่า                                         700
  • ชะลอการจัดซื้ออุปกรณ์สำนักงาน
7. อื่น ๆ                     - ลดค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่  และลดค่าสินค้าวัสดุที่ใช้ไปเกี่ยวกับ               2,600

ธุรกิจการบินโดยตรง รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขายอื่น ๆ

                              รวมปรับลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดในปี 2552                                13,700-14,200

การปรับลดการลงทุนที่ไม่เร่งด่วนและไม่ใช่ธุรกิจหลัก ประมาณ 2,500 ล้านบาท เช่น โครงการขยายโรงซ่อม B747-400 จำนวน 1,000 ล้านบาท โครงการสร้างศูนย์ดัดแปลงเครื่องบินขนส่งสินค้าจำนวน 236 ล้านบาท และขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็น จำนวน 1,000 ล้านบาท เป็น ต้น

1.1.3 การดูแลสภาพคล่องทางการเงิน : บริษัทฯ มีแนวทางเพิ่มการสำรองสภาพคล่องทางการเงินให้เหมาะสมกับกระแส เงินสดอีกประมาณ 20,000 ล้านบาท และปรับโครงสร้างเงินกู้จากระยะสั้นเป็นระยะยาว โดยมีแนวทางการจัดหาเงินกู้ในแต่ละประเภท ดังนี้

ประเภทเงินกู้                แนวทางการดำเนินงาน                                           มูลค่า (ล้านบาท)
1. เงินกู้ระยะสั้น             เจรจาต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเปลี่ยนเป็นเงินกู้ระยะยาว                    14,450
2. เงินกู้ระยะยาว            จัดหาแหล่งเงินกู้เพิ่มเติม หรือออกหุ้นกู้ หรือชำระคืนเงินกู้ระยะสั้น                20,000
3. สัญญาเช่าทางการเงิน       จัดหาเงินกู้สำหรับเครื่องบิน A330 จำนวน 6 ลำ                            16,000

1.1.4 ประมาณการทางการเงินตามแผนฟื้นฟูธุรกิจระยะเร่งด่วน : บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายว่าในปี 2552 — 2554 จะสามารถ ยกระดับความสามารถในการทำกำไร EBITDA ได้สูงสุดประมาณ 38,813 ล้านบาท 45,136 ล้านบาท และ 46,201 ล้านบาท ตามลำดับ และ บริษัทฯ ได้วิเคราะห์ความอ่อนไหวหากเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก พบว่าจะทำกำไร EBITDA ได้ในปี 2552 — 2554 ประมาณ 33,856 ล้านบาท 38,185 ล้านบาท และ 38,816 ล้านบาท ตามลำดับ

1.2 แผนฟื้นฟูระยะต่อไป : การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระยะยาว บริษัทฯ จะดำเนินการ 5 ด้านหลัก คือ

(1) การจัดทำยุทธศาสตร์เครือข่ายการบินและฝูงบิน

(2) การปรับโครงสร้างธุรกิจ และโครงสร้างต้นทุน

(3) การพัฒนาองค์กร บุคลากร และวัฒนธรรม

(4) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

(5) การปรับโครงสร้างทางการเงินระยะยาว

2. การขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ : บริษัทฯ ขอรับการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถนำแผน ฟื้นฟูสู่การปฏิบัติได้ประสบผลสำเร็จ ดังนี้

(1) สนับสนุนการให้ความเห็นเชิงนโยบาย ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดี และสร้างความมั่นใจต่อแผนฟื้นฟูธุรกิจต่อตลาดเงิน

และตลาดทุน

(2) อำนวยความสะดวกในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(3) การให้คำแนะนำ และ/หรือสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินทุน

(4) ร่วมในการศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างทุนของบริษัทฯ และสนับสนุนการดำเนินการตามผลการศึกษา

เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ

(5) ให้ความสะดวกและสนับสนุนแผนฟื้นฟูเพื่อให้บรรลุผลทั้งในเรื่องของฝูงบิน การเช่าซื้อ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ