คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการจัดระบบแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ปี 2549 แล้วมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้
1. อนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติ (พม่า ลาวและกัมพูชา) ที่ได้รับอนุญาตทำงานและใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 และยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติจำนวน 629,413 คน และผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับและทำงานต่อไปได้อีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายนโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.1. กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ออกประกาศกระทรวงเพื่อขยายระยะเวลาให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับต่อไปอีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550 โดยยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แต่ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดำเนินการจัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และกำหนดเงื่อนไขอนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ให้ครอบคลุมคนต่างด้าวติดตามนายจ้างด้วย
1.2 กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการกำหนดอัตราค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพโรคที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน และสถานพยาบาลที่จะตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
1.3 ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ส่วนการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้ดำเนินการเมื่อได้รับหลักฐานการจดทะเบียนกับกรมการปกครอง การตรวจโรคและประกันสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว โดยให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2549
2. ยกเลิกการประกันตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้คนต่างด้าวที่ได้จัดทำทะเบียนกับกรมการปกครอง และทำสัญญาประกันตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กับพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 1-30 มีนาคม 2549 อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับสิ้นสุดวันที่ 30 มีนาคม 2550 โดยยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ส่วนการดำเนินการอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
3. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถาวร ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งรัด แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียม (Levy) ในอัตราที่เหมาะสมยืดหยุ่นได้ และไม่น้อยไปกว่าค่าใช้จ่ายในการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย
4. เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย และการจัดระบบ แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า-กลับเย็น หรือไป-กลับ หรือทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดนให้มีผลในทางการปฏิบัติโดยเร็ว
5. ให้กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานการเจรจากับ สหภาพพม่าเพื่อเร่งรัดให้เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานสัญชาติพม่าที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย และกำหนดแนวทางการนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานโดยกฎหมายควบคู่กันไป
6. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งสกัดกั้นการเข้ามาใหม่ของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 พฤษภาคม 2549--จบ--
1. อนุญาตให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง 3 สัญชาติ (พม่า ลาวและกัมพูชา) ที่ได้รับอนุญาตทำงานและใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 และยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติจำนวน 629,413 คน และผู้ติดตาม อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับและทำงานต่อไปได้อีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายนโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.1. กระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522ออกประกาศกระทรวงเพื่อขยายระยะเวลาให้คนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับต่อไปอีก 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2550 โดยยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แต่ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองดำเนินการจัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และกำหนดเงื่อนไขอนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ให้ครอบคลุมคนต่างด้าวติดตามนายจ้างด้วย
1.2 กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการกำหนดอัตราค่าตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพโรคที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงาน และสถานพยาบาลที่จะตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าว
1.3 ให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2550 ส่วนการพิจารณาออกใบอนุญาตทำงานให้ดำเนินการเมื่อได้รับหลักฐานการจดทะเบียนกับกรมการปกครอง การตรวจโรคและประกันสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว โดยให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2549
2. ยกเลิกการประกันตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้คนต่างด้าวที่ได้จัดทำทะเบียนกับกรมการปกครอง และทำสัญญาประกันตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กับพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 1-30 มีนาคม 2549 อยู่ในราชอาณาจักรชั่วคราวระหว่างรอการส่งกลับสิ้นสุดวันที่ 30 มีนาคม 2550 โดยยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ส่วนการดำเนินการอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว
3. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถาวร ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินการเร่งรัด แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวเพื่อสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียม (Levy) ในอัตราที่เหมาะสมยืดหยุ่นได้ และไม่น้อยไปกว่าค่าใช้จ่ายในการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย
4. เร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย และการจัดระบบ แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในลักษณะมาเช้า-กลับเย็น หรือไป-กลับ หรือทำงานตามฤดูกาลบริเวณชายแดนให้มีผลในทางการปฏิบัติโดยเร็ว
5. ให้กระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานการเจรจากับ สหภาพพม่าเพื่อเร่งรัดให้เข้ามาดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแรงงานสัญชาติพม่าที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย และกำหนดแนวทางการนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานโดยกฎหมายควบคู่กันไป
6. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งสกัดกั้นการเข้ามาใหม่ของแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 16 พฤษภาคม 2549--จบ--