เรื่อง มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
และการเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้ 1. มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2. การทบทวนประมาณการรายได้ 3. การจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1 งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
(1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โครงการ/รายการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุใด ๆ ให้พิจารณาปรับแผนการปฎิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการ/รายการเดิมที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และมีเงินงบประมาณเหลือจ่าย หรือที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วหมดความจำเป็น หรือที่มีลำดับความสำคัญลดลง หรือคาดว่าไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 หรือคาดว่าไม่สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนภายในวันที่ 30 กันยายน 2549 เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค หรือชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) หรือดำเนินโครงการ/รายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย หรือตามสัญญาหรือตามข้อตกลง หรือโครงการ/รายการที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น
ทั้งนี้ การปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548
(2) หากได้ปฏิบัติตามนัยข้อ (1) แล้วมีเงินงบประมาณเหลือ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณานำไปใช้จ่ายในโครงการ/รายการใด ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ตามนโยบายรัฐบาลที่มีความพร้อม ที่จะสามารถดำเนินการได้ทันที โดยสามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในเดือนสิงหาคม 2549
การดำเนินดังกล่าวข้างต้น ให้ถือปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 เรื่องแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการเฉพาะเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเรื่องต่อเนื่อง แล้วนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอสำนักงบประมาณภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 เพื่อสำนักงบประมาณจะได้รวบรวมนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ต่อไป
1.2 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการใดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับการจัดสรรงบประมาณไปใช้จ่ายบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ให้นำส่งคืนคลังตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 หากมีความจำเป็นจะต้องนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นๆ ให้พิจารณาดำเนินการตามข้อ 1.1 ได้โดยอนุโลม ยกเว้น งบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดให้ดำเนินการตามข้อ 1.3
1.3 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
ให้รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกันพิจารณาดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ งบกลางรายการดังกล่าวที่จัดสรรให้แก่กลุ่มจังหวัด/จังหวัดต่าง ๆ ในโครงการ/รายการที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้วมีเงินงบประมาณเหลือจ่าย หรือที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วหมดความจำเป็น หรือที่มีลำดับความสำคัญลดลง หรือคาดว่าไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน ได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 หรือคาดว่าไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนภายในวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้นำไปดำเนินโครงการรายการฉุกเฉินหรือที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ หรือเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะมีผลเสียหายต่อทางราชการ หรือประชาชนผู้รับบริการ
1.4 งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หรืออยู่ระหว่างการขออนุมัติขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินดังกล่าวออกไปอีก
ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำมาตรการ ข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้น มาใช้โดยอนุโลม
1.5 กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการในข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และ ข้อ 1.3 ให้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นกรณี ๆ ไป
1.6 ให้สำนักงบประมาณร่วมกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนกการใช้จ่ายงบประมาณในรอบครึ่งปีงบประมาณ เพื่อทบทวน/ชะลอ/ยกเลิกโครงการ/รายการ ต่าง ๆ และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ของปีงบประมาณต่อ ๆ ไปให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
2. การทบทวนประมาณการรายได้
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และประมาณการรายได้ล่วงหน้า 3 ปี ให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการบริหารราชการ แผ่นดิน และนโยบายงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3. การเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
3.1 การจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
(1) การกำหนดกรอบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
สำนักงบประมาณได้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณภายใต้เงื่อนไขกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในเดือนตุลาคม 2549 โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้
ช่วงเวลา ขั้นตอนสำคัญ
ตุลาคม 2549 การเลือกตั้งทั่วไป
มกราคม 2550 คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ต่อรัฐสภา
(สัปดาห์ที่สอง)
มีนาคม 2550 ฝ่ายนิติบัญญัติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ
(สัปดาห์ที่สาม)
มีนาคม 2550 ทูลเกล้าถวายร่างพระราชบัญญัติฯ
(สัปดาห์ที่สี่)
เป้าหมายข้างต้นเป็นกรอบระยะเวลาที่จำกัดมากในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายใต้กรณีที่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศ และมีผลให้ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนประมาณ 6 เดือน
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายกรอบระยะเวลาข้างต้นได้ และลดระยะเวลาการใช้งบประมาณไปพลางก่อนให้น้อยที่สุด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้การบริหารกรอบเวลาการจัดทำงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) ลดระยะเวลาในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และ แผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้หน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการทำแผนประสานข้อมูลในเชิงรุกเพื่อจัดทำแผน ร่วมกับส่วนราชการที่เป็นหน่วยปฏิบัติ รวมทั้งให้ใช้คำของบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ เช่นเดียวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
2) ให้ส่วนราชการจัดเตรียมข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (เบื้องต้น) ในส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามข้อผูกพันที่ต้องจัดสรรและรายจ่ายตามภารกิจพื้นฐาน เพื่อใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายงบประมาณ
3) จำกัดกรอบระยะเวลาการจัดทำงบประมาณของฝ่ายบริหาร เหลือประมาณ 36 วัน จากเดิมที่มีกรอบเวลาเฉลี่ยประมาณ 70 วัน โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะต้องกำกับ และให้นโยบายการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณของส่วนราชการควบคู่กันไปกับการพิจารณาของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะนำแนวทางการบริหารกรอบเวลาการจัดทำงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ไปประกอบการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ต่อไป
(2) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจจากการใช้งบประมาณไปพลางก่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 179 บัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 16 บัญญัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
1) เดือนตุลาคม 2549 ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ สามารถใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณไปพลางก่อน โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 1 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ประมาณ 273,400 ล้านบาท ไตรมาสที่ 2 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ประมาณ 283,300 ล้านบาท
2) เพื่อชดเชยการใช้จ่ายภาครัฐในช่วง 2 ไตรมาส ที่ลดลงจากการใช้งบประมาณจริง จึงเห็นควรให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหามาตรการอื่นมาดำเนินการ เช่น การปรับแผนการลงทุนและแผนการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในไตรมาสที่ 1-2 และกำหนดมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน เป็นต้น
(3) การวางแผนเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ควบคู่กับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
เนื่องจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มีช่วงเวลาเหลื่อมซ้อนกันกับกรอบปฏิทินการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โดยจะดำเนินการ
1) สำนักงบประมาณจะเตรียมการวางแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ควบคู่กันไปกับกระทรวง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ภายใต้กรอบระยะเวลาอันจำกัด
2) นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อฝ่ายนิติบัญญัติแยกฉบับของแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้
3.2 การจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี
สภาวการณ์และระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันเผชิญกับความผันผวนอันเนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี ที่กำหนดทิศทางในการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2552) จะดำเนินการโดย
(1) ยึดร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นยุทธศาสตร์ 3 ปี ที่ดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก
(2) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ จัดลำดับความสำคัญของกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจนในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้กระทรวงใช้เป็นหลักในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี
(3) โครงการภายใต้แผนการลงทุนดังกล่าวต้องมีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้
(4) กรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี คาดว่าจะจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--
และการเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ทั้ง 3 ข้อ ดังนี้ 1. มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 2. การทบทวนประมาณการรายได้ 3. การจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1 งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
(1) ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 โครงการ/รายการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุใด ๆ ให้พิจารณาปรับแผนการปฎิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการ/รายการเดิมที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์และมีเงินงบประมาณเหลือจ่าย หรือที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วหมดความจำเป็น หรือที่มีลำดับความสำคัญลดลง หรือคาดว่าไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 หรือคาดว่าไม่สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนภายในวันที่ 30 กันยายน 2549 เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าสาธารณูปโภค หรือชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) หรือดำเนินโครงการ/รายการที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย หรือตามสัญญาหรือตามข้อตกลง หรือโครงการ/รายการที่สามารถดำเนินการได้เร็วกว่าแผนที่กำหนดไว้ หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผลกระทบจากการปรับราคาน้ำมันสูงขึ้น
ทั้งนี้ การปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548
(2) หากได้ปฏิบัติตามนัยข้อ (1) แล้วมีเงินงบประมาณเหลือ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณานำไปใช้จ่ายในโครงการ/รายการใด ๆ ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ตามนโยบายรัฐบาลที่มีความพร้อม ที่จะสามารถดำเนินการได้ทันที โดยสามารถก่อหนี้ผูกพันได้ภายในเดือนสิงหาคม 2549
การดำเนินดังกล่าวข้างต้น ให้ถือปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 เรื่องแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร โดยให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการเฉพาะเรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเรื่องต่อเนื่อง แล้วนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอสำนักงบประมาณภายในวันที่ 3 กรกฎาคม 2549 เพื่อสำนักงบประมาณจะได้รวบรวมนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2549 ต่อไป
1.2 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง
งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการใดที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจได้รับการจัดสรรงบประมาณไปใช้จ่ายบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว ให้นำส่งคืนคลังตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2548 หากมีความจำเป็นจะต้องนำไปใช้จ่ายในรายการอื่นๆ ให้พิจารณาดำเนินการตามข้อ 1.1 ได้โดยอนุโลม ยกเว้น งบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดให้ดำเนินการตามข้อ 1.3
1.3 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
ให้รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกันพิจารณาดำเนินการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ งบกลางรายการดังกล่าวที่จัดสรรให้แก่กลุ่มจังหวัด/จังหวัดต่าง ๆ ในโครงการ/รายการที่ได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้วมีเงินงบประมาณเหลือจ่าย หรือที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วหมดความจำเป็น หรือที่มีลำดับความสำคัญลดลง หรือคาดว่าไม่สามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพัน ได้ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 หรือคาดว่าไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนภายในวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้นำไปดำเนินโครงการรายการฉุกเฉินหรือที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ หรือเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน ซึ่งหากไม่ดำเนินการจะมีผลเสียหายต่อทางราชการ หรือประชาชนผู้รับบริการ
1.4 งบประมาณรายจ่ายที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หรืออยู่ระหว่างการขออนุมัติขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินดังกล่าวออกไปอีก
ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจนำมาตรการ ข้อ 1.1 และ ข้อ 1.2 ข้างต้น มาใช้โดยอนุโลม
1.5 กรณีที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรการในข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และ ข้อ 1.3 ให้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นกรณี ๆ ไป
1.6 ให้สำนักงบประมาณร่วมกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการทบทวนแผนการปฏิบัติงานและแผนกการใช้จ่ายงบประมาณในรอบครึ่งปีงบประมาณ เพื่อทบทวน/ชะลอ/ยกเลิกโครงการ/รายการ ต่าง ๆ และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ของปีงบประมาณต่อ ๆ ไปให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ สำนักงบประมาณ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานตามมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
2. การทบทวนประมาณการรายได้
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงการคลังจะต้องพิจารณาทบทวนประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และประมาณการรายได้ล่วงหน้า 3 ปี ให้สอดคล้องกับ สภาวการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการบริหารราชการ แผ่นดิน และนโยบายงบประมาณรายจ่ายประจำปี
3. การเตรียมความพร้อมในการจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
3.1 การจัดการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
(1) การกำหนดกรอบปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
สำนักงบประมาณได้จัดทำข้อเสนอการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจัดทำงบประมาณภายใต้เงื่อนไขกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในเดือนตุลาคม 2549 โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน ดังนี้
ช่วงเวลา ขั้นตอนสำคัญ
ตุลาคม 2549 การเลือกตั้งทั่วไป
มกราคม 2550 คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ต่อรัฐสภา
(สัปดาห์ที่สอง)
มีนาคม 2550 ฝ่ายนิติบัญญัติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติฯ
(สัปดาห์ที่สาม)
มีนาคม 2550 ทูลเกล้าถวายร่างพระราชบัญญัติฯ
(สัปดาห์ที่สี่)
เป้าหมายข้างต้นเป็นกรอบระยะเวลาที่จำกัดมากในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายใต้กรณีที่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศ และมีผลให้ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนประมาณ 6 เดือน
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายกรอบระยะเวลาข้างต้นได้ และลดระยะเวลาการใช้งบประมาณไปพลางก่อนให้น้อยที่สุด ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความร่วมมือเพื่อให้การบริหารกรอบเวลาการจัดทำงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1) ลดระยะเวลาในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และ แผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้หน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในการทำแผนประสานข้อมูลในเชิงรุกเพื่อจัดทำแผน ร่วมกับส่วนราชการที่เป็นหน่วยปฏิบัติ รวมทั้งให้ใช้คำของบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการ เช่นเดียวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549
2) ให้ส่วนราชการจัดเตรียมข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (เบื้องต้น) ในส่วนที่เป็นรายจ่ายประจำขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามข้อผูกพันที่ต้องจัดสรรและรายจ่ายตามภารกิจพื้นฐาน เพื่อใช้ในการวางแผนและกำหนดนโยบายงบประมาณ
3) จำกัดกรอบระยะเวลาการจัดทำงบประมาณของฝ่ายบริหาร เหลือประมาณ 36 วัน จากเดิมที่มีกรอบเวลาเฉลี่ยประมาณ 70 วัน โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดจะต้องกำกับ และให้นโยบายการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณของส่วนราชการควบคู่กันไปกับการพิจารณาของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะนำแนวทางการบริหารกรอบเวลาการจัดทำงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ไปประกอบการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ต่อไป
(2) การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจจากการใช้งบประมาณไปพลางก่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 179 บัญญัติให้ใช้กฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณปีก่อนนั้นไปพลางก่อน ถ้าพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 16 บัญญัติให้ใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อนได้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยอนุมัตินายกรัฐมนตรี
1) เดือนตุลาคม 2549 ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ สามารถใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณไปพลางก่อน โดยคาดว่าในไตรมาสที่ 1 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ประมาณ 273,400 ล้านบาท ไตรมาสที่ 2 จะสามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ประมาณ 283,300 ล้านบาท
2) เพื่อชดเชยการใช้จ่ายภาครัฐในช่วง 2 ไตรมาส ที่ลดลงจากการใช้งบประมาณจริง จึงเห็นควรให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหามาตรการอื่นมาดำเนินการ เช่น การปรับแผนการลงทุนและแผนการใช้จ่ายของรัฐวิสาหกิจให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นในไตรมาสที่ 1-2 และกำหนดมาตรการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชน เป็นต้น
(3) การวางแผนเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ควบคู่กับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
เนื่องจากการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 มีช่วงเวลาเหลื่อมซ้อนกันกับกรอบปฏิทินการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 โดยจะดำเนินการ
1) สำนักงบประมาณจะเตรียมการวางแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 และงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ควบคู่กันไปกับกระทรวง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ ภายใต้กรอบระยะเวลาอันจำกัด
2) นำเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อฝ่ายนิติบัญญัติแยกฉบับของแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้
3.2 การจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี
สภาวการณ์และระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันเผชิญกับความผันผวนอันเนื่องจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี ที่กำหนดทิศทางในการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับการจัดทำกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2552) จะดำเนินการโดย
(1) ยึดร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เป็นยุทธศาสตร์ 3 ปี ที่ดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลัก
(2) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ จัดลำดับความสำคัญของกรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าไว้อย่างชัดเจนในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อให้กระทรวงใช้เป็นหลักในการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี
(3) โครงการภายใต้แผนการลงทุนดังกล่าวต้องมีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันที เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้
(4) กรอบแผนการลงทุนภาครัฐล่วงหน้าระยะ 3 ปี คาดว่าจะจัดทำให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--