แท็ก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
นวัตกรรม
กฤษฎีกา
คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายโครงการพื้นฐานเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) เป็นประธาน ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ ให้มีนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศในเชิงระบบ รวมทั้งเป็นแกนกลางในระดับปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และสอดคล้องในการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
1. จัดตั้ง “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)” เป็นองค์การมหาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงการนวัตกรรมในระยะหลังการวิจัยและพัฒนา หรือการต่อยอดจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เชิงพาณิชย์
2. ให้สำนักงานฯ มีอำนาจจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางด้านการพัฒนานวัตกรรม
3. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ” ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
4. คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานฯ ให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามความวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และกำหนดนโยบายการบริหารงานและให้ความเห็นชอบแผนงานการดำเนินการของสำนักงานฯ
5. ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา ประธานกรรมการเฉพาะเรื่องกรรมการเฉพาะเรื่อง ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการฯ ได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
6. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสำนักงานฯ
7. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และเงินงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไปเป็นของสำนักงานฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--
ทั้งนี้ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ คือ ให้มีนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยการจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อดำเนินการและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศในเชิงระบบ รวมทั้งเป็นแกนกลางในระดับปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และสอดคล้องในการพัฒนาระบบนวัตกรรมแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญเพิ่มเติม ดังนี้
1. จัดตั้ง “สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)” เป็นองค์การมหาชน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และดำเนินการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาโครงการนวัตกรรมในระยะหลังการวิจัยและพัฒนา หรือการต่อยอดจากงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์สู่เชิงพาณิชย์
2. ให้สำนักงานฯ มีอำนาจจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะทางด้านการพัฒนานวัตกรรม
3. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ” ประกอบด้วยประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
4. คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานฯ ให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามความวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และกำหนดนโยบายการบริหารงานและให้ความเห็นชอบแผนงานการดำเนินการของสำนักงานฯ
5. ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา ประธานกรรมการเฉพาะเรื่องกรรมการเฉพาะเรื่อง ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการฯ ได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
6. ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสำนักงานฯ
7. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และเงินงบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์และเทคโนโลยีเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไปเป็นของสำนักงานฯ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2548--จบ--