คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุข รายงานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคว่าด้วยการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ เมื่อวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2549 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สรุปได้ดังนี้
การประชุมรัฐมนตรีเอเปครับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมต่อการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข) ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 ได้อนุมัติ แผนปฏิบัติการเอเปค เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจัดทำขึ้นจากกรอบความคิดริเริ่มของผู้นำเอเปค เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคเอง หรือการดำเนินงานความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อพัฒนามาตรการการป้องกัน เตรียมความพร้อม และลดผลกระทบจากไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น แผนปฏิบัติการดังกล่าว ได้ประกาศเจตจำนงของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างกัน 5 ด้าน ดังนี้
1. ความร่วมมือและการประสานงานพหุพาคีต่อปัญหาไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ (Multi — sectoral cooperation and coordination on Avian and Pandemic Influenza) มีแนวทางดำเนินงานดังนี้
- เสริมสร้างศักยภาพของภูมิภาคในการตรวจจับ วินิจฉัย และตอบโต้ โดยเพิ่มความร่วมมือของ เครือข่ายห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคและการเฝ้าระวังโรค ระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพสัตว์และด้านสาธารณสุข
- เพิ่มความรวดเร็วในการรายงานโรคทั้งในสัตว์และในคน รวมไปถึงการแบ่งปันตัวอย่างสิ่งส่งตรวจรวมทั้งเชื้อไวรัส ระหว่างเครือข่ายตามแนวทางการปฏิบัติและกฎระเบียบสากล
- สนับสนุนการฝึกอบรม การสอบสวนโรค รวมทั้งการกักกันและควบคุมการระบาดร่วมกัน
- ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการมีบทบาทสำคัญของภาคเอกชน
- สนับสนุนความพยามที่จะติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเชื้อเอช 5 เอ็น 1 อย่างใกล้ชิด การศึกษาด้านระบาดวิทยา การวิจัยด้านชีวศาสตร์การแพทย์เพื่อการพัฒนาและผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงยาในภาวะที่เกิดไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่
- ร่วมกับ FAO,OIE และ WHO เพื่อประสานการพัฒนาและหาแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ติดเชื้อ (biosecurity) ที่เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. การสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและแนวทางการปฏิบัติร่วมในการสื่อสารความเสี่ยง (Establishing best practices and common approaches to risk communication) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- บูรณาการเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนเตรียมความพร้อมของแต่ละเขตเศรษฐกิจเอเปคและแผนฯ ของภูมิภาค
- ช่วยสนับสนุนการพัฒนาข้อตกลงร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคและองค์กรระหว่างประเทศ ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations : IHRs) ขององค์การอนามัยโลก และหลักเกณฑ์การปฏิบัติขององค์การสุขภาพสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE Codes)
- พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพกับสื่อมวลชนและหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง ในการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันเวลา สามารถกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชนสามารถปฎิบัติได้อย่างถูกต้องในการป้องกันสัตว์เลี้ยงและตนเองให้ปลอดภัยจากไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่
- สนับสนุนความพยายามร่วมกันในการสื่อสารกับประชาชนและภาคเอกชน ในเขตเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงต่อโรค
- สนับสนุนการพัฒนาโครงการของภูมิภาคเกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยง รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อกำหนดแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสม
- ร่วมมือกับองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะเกิดกิจกรรมและการสื่อสารเนื้อหาข้อมูลสอดคล้องกัน
3. การลดผลกระทบทางลบจากไข้หวัดนกต่อการเกษตรและการค้า (Mitigating negative effects of avian influenza on agriculture and trade) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- ดำเนินการประเมินผลกระทบจากการบรรเทาและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกตลอดจนผลกระทบอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
- เรียกร้องให้มีการปรับระบบการผลิตสัตว์ปีกที่มีการรักษาความปลอดภัยจากเชื้อโรค (biosecurity) ในระดับต่ำ เช่น ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต เพื่อลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ
- ส่งเสริมการสร้างเขตปลอดโรค (disease — free zone) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
- สร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสัตว์ปีก ที่ส่งเสริมการเพิ่มระดับการป้องกันการแพร่ติดเชื้อ (biosecurity)
- ส่งเสริมระบบความเท่าเทียมกันในแต่ละเขตเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการรายงานโรคที่รวดเร็วและครบถ้วน รวมทั้งการดำเนินงานควบคุมการระบาดที่เหมาะสม
- แบ่งปันรายงานผลการดำเนินงานภายในของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ในการบรรเทาผลกระทบเชิงลบจากไข้หวัดนก เพื่อเร่งรัดการควบคุมและตัดการแพร่ระบาดของเชื้อเอช 5 เอ็น 1 ในฝูงสัตว์ปีก
- ดำเนินมาตรการที่ผ่านการพิสูจน์ผล รวมทั้งมีการยืนยันรับรองโดยองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WHO , FAO และ OIE มาแล้ว อาทิ การเฝ้าระวังโรค การทำลายสัตว์ติดเชื้อ เป็นต้น เพื่อลดการแพร่ระบาดในสัตว์ปีก
- ประเมิน บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ผลการดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างรอบคอบทั้งมาตรการที่ผ่านการรับรองแล้ว และมาตรการนำร่อง
- ส่งเสริมและสนับสนุนการประสานรูปแบบการปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การค้าและการเดินทาง ซึ่งวางอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ และสอดคล้องกับข้อเสนอแนะองค์กรระหว่างประเทศและระเบียบปฏิบัติขององค์การการค้าโลก (WTO)
4. การดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจ การค้า รวมทั้งงานบริการสาธารณะที่จำเป็นได้อย่างต่อเนื่อง (Working with the private sector to help ensure continuity of business, trade and essential services) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- ยินดีรับและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council : ABAC) ตามแผนเผชิญเหตุและการเตรียมความพร้อมด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจในภาวะฉุกเฉิน
- เรียกร้องให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเอกชน ร่วมมือกันดำเนินงาน เพื่อประกันความต่อเนื่องของธุรกิจและบริการสาธารณะพื้นฐาน โดยบรรจุไว้เป็นมาตรการหนึ่งในแผนการเตรียมความพร้อมของแต่ละเขตเศรษฐกิจ
- สนับสนุนการพัฒนาการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการจัดการด้านการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มระดับความโปร่งใส และลดผลกระทบต่อการค้าและการเดินทาง
- คงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และธุรกิจระดับชุมชนหรือครัวเรือน) บริการสาธารณะพื้นฐานและการค้าในภาวะฉุกเฉินจากการระบาดใหญ่
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาคมภาคธุรกิจของเอเปคพิจารณาถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของลักษณะความเชื่อมโยงของแต่ละสมาชิกเขตเศรษฐกิจ และความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศ ในการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
5. การสร้างเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ (Strengthening regional and international cooperation) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- อำนวยความสะดวกต่อความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจและองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้บริจาค เพื่อสนับสนุนการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันใน 4 ด้านตามแผนปฏิบัติการเอเปคที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งปันข่าวสารและข้อมูลตามความเหมาะสม
- แบ่งปันข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมตามแผน และผลการดำเนินมาตรการริเริ่มใหม่ ๆ เพื่อนำเป็นบทเรียนจากประสบการณ์ในการจัดการแก้ไขปัญหา
- ดำเนินการตามแนวปฏิบัติอย่างคงที่ ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับองค์กรระหว่างประเทศ และสนับสนุนกลไกการประสานงานระหว่างประเทศ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศของเขตเศรษฐกิจที่ร้องขอ ได้แก่ การให้วีซ่าล่วงหน้าแก่ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วขององค์การอนามัยโลก และการผ่านกระบวนการศุลกากรในการนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามากับทีม เป็นต้น
- ดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนของผู้บริจาคสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจนั้น ๆ ตามความร่วมมือระหว่างกันใน 4 ด้านภายใต้แผนปฏิบัติการเอเปค
- เชื่อมโยงกับผู้บริจาคหลัก เช่น ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อประสานการให้ทุนและการดำเนินงานในระยะยาว เพื่อฟื้นฟูธุรกิจด้านการเกษตร
รัฐมนตรีเสนอแนะให้คณะทำงานเฉพาะกิจด้านสาธารณสุขของเอเปค (APEC Health Task Force: APEC HTF) รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานเอเปคฉบับนี้ ต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (SOM) ในปี พ.ศ. 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2549--จบ--
การประชุมรัฐมนตรีเอเปครับผิดชอบต่อการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนกและการเตรียมความพร้อมต่อการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ (รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข) ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2549 ได้อนุมัติ แผนปฏิบัติการเอเปค เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกและการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจัดทำขึ้นจากกรอบความคิดริเริ่มของผู้นำเอเปค เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคเอง หรือการดำเนินงานความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อพัฒนามาตรการการป้องกัน เตรียมความพร้อม และลดผลกระทบจากไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้น แผนปฏิบัติการดังกล่าว ได้ประกาศเจตจำนงของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคที่จะเพิ่มความร่วมมือระหว่างกัน 5 ด้าน ดังนี้
1. ความร่วมมือและการประสานงานพหุพาคีต่อปัญหาไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่ (Multi — sectoral cooperation and coordination on Avian and Pandemic Influenza) มีแนวทางดำเนินงานดังนี้
- เสริมสร้างศักยภาพของภูมิภาคในการตรวจจับ วินิจฉัย และตอบโต้ โดยเพิ่มความร่วมมือของ เครือข่ายห้องปฏิบัติการชันสูตรโรคและการเฝ้าระวังโรค ระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพสัตว์และด้านสาธารณสุข
- เพิ่มความรวดเร็วในการรายงานโรคทั้งในสัตว์และในคน รวมไปถึงการแบ่งปันตัวอย่างสิ่งส่งตรวจรวมทั้งเชื้อไวรัส ระหว่างเครือข่ายตามแนวทางการปฏิบัติและกฎระเบียบสากล
- สนับสนุนการฝึกอบรม การสอบสวนโรค รวมทั้งการกักกันและควบคุมการระบาดร่วมกัน
- ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งการมีบทบาทสำคัญของภาคเอกชน
- สนับสนุนความพยามที่จะติดตามศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเชื้อเอช 5 เอ็น 1 อย่างใกล้ชิด การศึกษาด้านระบาดวิทยา การวิจัยด้านชีวศาสตร์การแพทย์เพื่อการพัฒนาและผลิตวัคซีน ยาต้านไวรัส รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงยาในภาวะที่เกิดไข้หวัดใหญ่ระบาดใหญ่
- ร่วมกับ FAO,OIE และ WHO เพื่อประสานการพัฒนาและหาแนวทางการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ติดเชื้อ (biosecurity) ที่เหมาะสมและอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. การสร้างแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและแนวทางการปฏิบัติร่วมในการสื่อสารความเสี่ยง (Establishing best practices and common approaches to risk communication) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- บูรณาการเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนเตรียมความพร้อมของแต่ละเขตเศรษฐกิจเอเปคและแผนฯ ของภูมิภาค
- ช่วยสนับสนุนการพัฒนาข้อตกลงร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคและองค์กรระหว่างประเทศ ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations : IHRs) ขององค์การอนามัยโลก และหลักเกณฑ์การปฏิบัติขององค์การสุขภาพสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE Codes)
- พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพกับสื่อมวลชนและหน่วยงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง ในการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันเวลา สามารถกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชนสามารถปฎิบัติได้อย่างถูกต้องในการป้องกันสัตว์เลี้ยงและตนเองให้ปลอดภัยจากไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่
- สนับสนุนความพยายามร่วมกันในการสื่อสารกับประชาชนและภาคเอกชน ในเขตเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงต่อโรค
- สนับสนุนการพัฒนาโครงการของภูมิภาคเกี่ยวกับการสื่อสารความเสี่ยง รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อกำหนดแนวทางการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสม
- ร่วมมือกับองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า จะเกิดกิจกรรมและการสื่อสารเนื้อหาข้อมูลสอดคล้องกัน
3. การลดผลกระทบทางลบจากไข้หวัดนกต่อการเกษตรและการค้า (Mitigating negative effects of avian influenza on agriculture and trade) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- ดำเนินการประเมินผลกระทบจากการบรรเทาและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกตลอดจนผลกระทบอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
- เรียกร้องให้มีการปรับระบบการผลิตสัตว์ปีกที่มีการรักษาความปลอดภัยจากเชื้อโรค (biosecurity) ในระดับต่ำ เช่น ตลาดค้าสัตว์ปีกมีชีวิต เพื่อลดอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ
- ส่งเสริมการสร้างเขตปลอดโรค (disease — free zone) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
- สร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตสัตว์ปีก ที่ส่งเสริมการเพิ่มระดับการป้องกันการแพร่ติดเชื้อ (biosecurity)
- ส่งเสริมระบบความเท่าเทียมกันในแต่ละเขตเศรษฐกิจ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการรายงานโรคที่รวดเร็วและครบถ้วน รวมทั้งการดำเนินงานควบคุมการระบาดที่เหมาะสม
- แบ่งปันรายงานผลการดำเนินงานภายในของแต่ละเขตเศรษฐกิจ ในการบรรเทาผลกระทบเชิงลบจากไข้หวัดนก เพื่อเร่งรัดการควบคุมและตัดการแพร่ระบาดของเชื้อเอช 5 เอ็น 1 ในฝูงสัตว์ปีก
- ดำเนินมาตรการที่ผ่านการพิสูจน์ผล รวมทั้งมีการยืนยันรับรองโดยองค์กรระหว่างประเทศ เช่น WHO , FAO และ OIE มาแล้ว อาทิ การเฝ้าระวังโรค การทำลายสัตว์ติดเชื้อ เป็นต้น เพื่อลดการแพร่ระบาดในสัตว์ปีก
- ประเมิน บันทึกเป็นเอกสาร และเผยแพร่ผลการดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างรอบคอบทั้งมาตรการที่ผ่านการรับรองแล้ว และมาตรการนำร่อง
- ส่งเสริมและสนับสนุนการประสานรูปแบบการปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การค้าและการเดินทาง ซึ่งวางอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่ และสอดคล้องกับข้อเสนอแนะองค์กรระหว่างประเทศและระเบียบปฏิบัติขององค์การการค้าโลก (WTO)
4. การดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจ การค้า รวมทั้งงานบริการสาธารณะที่จำเป็นได้อย่างต่อเนื่อง (Working with the private sector to help ensure continuity of business, trade and essential services) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- ยินดีรับและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council : ABAC) ตามแผนเผชิญเหตุและการเตรียมความพร้อมด้านอุตสาหกรรมและธุรกิจในภาวะฉุกเฉิน
- เรียกร้องให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรเอกชน ร่วมมือกันดำเนินงาน เพื่อประกันความต่อเนื่องของธุรกิจและบริการสาธารณะพื้นฐาน โดยบรรจุไว้เป็นมาตรการหนึ่งในแผนการเตรียมความพร้อมของแต่ละเขตเศรษฐกิจ
- สนับสนุนการพัฒนาการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการจัดการด้านการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มระดับความโปร่งใส และลดผลกระทบต่อการค้าและการเดินทาง
- คงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อการพัฒนารูปแบบการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และธุรกิจระดับชุมชนหรือครัวเรือน) บริการสาธารณะพื้นฐานและการค้าในภาวะฉุกเฉินจากการระบาดใหญ่
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาคมภาคธุรกิจของเอเปคพิจารณาถึงความสำคัญอย่างยิ่งยวดของลักษณะความเชื่อมโยงของแต่ละสมาชิกเขตเศรษฐกิจ และความซับซ้อนของการค้าระหว่างประเทศ ในการจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
5. การสร้างเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ (Strengthening regional and international cooperation) มีแนวทางดำเนินการดังนี้
- อำนวยความสะดวกต่อความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจและองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้บริจาค เพื่อสนับสนุนการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันใน 4 ด้านตามแผนปฏิบัติการเอเปคที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแบ่งปันข่าวสารและข้อมูลตามความเหมาะสม
- แบ่งปันข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมตามแผน และผลการดำเนินมาตรการริเริ่มใหม่ ๆ เพื่อนำเป็นบทเรียนจากประสบการณ์ในการจัดการแก้ไขปัญหา
- ดำเนินการตามแนวปฏิบัติอย่างคงที่ ต่อเนื่อง และสอดคล้องกับองค์กรระหว่างประเทศ และสนับสนุนกลไกการประสานงานระหว่างประเทศ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศของเขตเศรษฐกิจที่ร้องขอ ได้แก่ การให้วีซ่าล่วงหน้าแก่ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วขององค์การอนามัยโลก และการผ่านกระบวนการศุลกากรในการนำวัสดุอุปกรณ์เข้ามากับทีม เป็นต้น
- ดำเนินการเกี่ยวกับการสนับสนุนของผู้บริจาคสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจนั้น ๆ ตามความร่วมมือระหว่างกันใน 4 ด้านภายใต้แผนปฏิบัติการเอเปค
- เชื่อมโยงกับผู้บริจาคหลัก เช่น ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อประสานการให้ทุนและการดำเนินงานในระยะยาว เพื่อฟื้นฟูธุรกิจด้านการเกษตร
รัฐมนตรีเสนอแนะให้คณะทำงานเฉพาะกิจด้านสาธารณสุขของเอเปค (APEC Health Task Force: APEC HTF) รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานเอเปคฉบับนี้ ต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (SOM) ในปี พ.ศ. 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 23 พฤษภาคม 2549--จบ--