สรุปการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 15, 2009 13:46 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง สรุปการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2552 กระทรวงเกษตร

และ สหกรณ์ และสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 1

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 1 ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 ประกอบด้วย การเตรียมรับสถานการณ์ ภัยธรรมชาติในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2552 สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ สรุปได้ดังนี้

การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2552 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมเป็นช่วงฤดูเพาะปลูกของประเทศไทย ซึ่งปี 2552 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า ประเทศไทย จะเข้าสู่ฤดูฝนประมาณต้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม ในช่วงต้นฤดูจะมีฝนตกติดต่อกันหลายพื้นที่ และอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และอุทกภัยได้ในหลายพื้นที่ แต่ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ฝนจะลดลงระยะหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงและการขาด แคลนน้ำในบางพื้นที่ โดยจะกลับมีฝนตกชุกในประเทศไทยตอนบนประมาณเดือนสิงหาคมถึงกันยายน และเข้าสู่ภาคใต้ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ในปี นี้ คาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ถึง 3 ลูก โดยมีแนวโน้มสูงสุดที่จะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบนในเดือนสิงหาคมและ กันยายน และผ่านภาคใต้ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้มีพายุลมแรง ฝนตกเป็นบริเวณกว้างและจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ อาจก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง

ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยธรรมชาติ ในช่วงเดือนพฤษภาคม — ตุลาคม 2552 ขึ้น เพื่อ เป็นการเตรียมรับสถานการณ์ และลดความเสียหายด้านการเกษตร รวมถึงการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กำหนดกรอบแนวทางการจัดทำแผนฯ แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังการเกิดภัย ดังนี้

1. ก่อนเกิดภัย ดำเนินการคาดหมายสถานการณ์ ติดตามสภาวะอากาศ และแจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนพร่องน้ำ แผนปฏิบัติการ ฝนหลวงเพื่อเติมน้ำ รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัยและดินถล่ม การตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ แผนการขุดลอกแหล่งน้ำเก็บ กักและคลองระบายน้ำ ประชาสัมพันธ์ การทำการเกษตร และการป้องกันกำจัดโรคแมลง การระบาดของศัตรูพืช การเตรียมความพร้อมเครื่องจักร กล วัสดุอุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ ยานพาหนะ อากาศยาน เสบียงอาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ และสำรองปัจจัยการผลิต รวมถึงการกำหนดที่ตั้งเพื่อให้สามารถ ใช้ได้ทันที

2. ขณะเกิดภัย มีการติดตามสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือ โดยมีศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เป็นหน่วยงานกลางในการประสาน ติดตามสถานการณ์ การให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยและการรายงานให้ผู้บริหาร รวมถึง เป็นศูนย์บัญชาการการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการประชาสัมพันธ์ แผนการให้ความช่วยเหลือเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ การให้ความช่วย เหลือด้านอากาศยาน การให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อฉุกเฉินและจำเป็น พ.ศ.2546 และแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 โดยผ่านความเห็นชอบของ ก.ช.ภ.อ. และ ก.ช.ภ.จ.

3. หลังการเกิดภัย การให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตามระเบียบกระทรวง การคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อฉุก เฉินและจำเป็น พ.ศ. 2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 รวมทั้งการฟื้นฟูพื้นที่การเกษตรหลังน้ำลด และการฝึกอบรมอาชีพให้ เกษตรกร

สถานการณ์อุทกภัยและผลกระทบด้านการเกษตร

ปัจจุบัน ไม่มีสถานการณ์อุทกภัย

ผลกระทบด้านการเกษตร (ช่วงภัยวันที่ 1 พฤษภาคม - 10 มิถุนายน 2552)

พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2552 รวมทั้งสิ้น 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ตาก ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เลย มุกดาหาร ยโสธร สิงห์บุรี กรุงเทพฯ ชัยนาท อ่างทอง กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรี ธรรมราช ระนอง แยกเป็น

ด้านพืช จำนวน 12 จังหวัด เกษตรกร 8,084 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 69,078 ไร่ แยกเป็น ข้าว 40,908 ไร่ พืชไร่ 14,258 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 13,912 ไร่

ด้านปศุสัตว์ จำนวน 4 จังหวัด เกษตรกร 452 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 17,049 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 80 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 671 ตัว สัตว์ปีก 16,298 ตัว

ด้านประมง 6 จังหวัด เกษตรกร 537 ราย พื้นที่ประสบภัย 543 บ่อคิดเป็นพื้นที่ 356 ไร่ และ 228 กระชังคิดเป็นพื้นที่ 3,868 ตรม.

ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย

การให้ความช่วยเหลือสถานการณ์อุทกภัย

ด้านชลประทาน ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 9 จังหวัด จำนวน 210 เครื่อง และเครื่อง ผลักดันน้ำ 3 จังหวัด จำนวน 37 เครื่อง แยกเป็นรายภาคต่างๆ ดังนี้

เครื่องสูบน้ำ จำนวน 210 เครื่อง

ภาค               จังหวัด  เครื่องสูบน้ำ (เครื่อง)   รายชื่อจังหวัด (จำนวนเครื่องสูบน้ำ)
ตะวันออกเฉียงเหนือ       1         1            มหาสารคาม(1)
กลาง                  5        95            นนทบุรี(4) พระนครศรีอยุธยา(16) สมุทรสาคร(5) สุพรรณบุรี (69) ราชบุรี (1)
ใต้                    3        96            นครศรีธรรมราช (70) พัทลุง(20) สงขลา(24)
รวม                   9       210

เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 37 เครื่อง

ภาค                จังหวัด   เครื่องผลักดันน้ำ (เครื่อง)   รายชื่อจังหวัด (จำนวนเครื่องผลักดันน้ำ)
ตะวันออกเฉียงเหนือ        1          19              นครราชสีมา(19)
กลาง                   2          18              กรุงเทพมหานคร(3) สุพรรณบุรี (15)
รวม                    3          37

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (9 ก.ค.52) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 39,526 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2551 (41,411 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 1,885 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ปริมาตรน้ำใช้การได้ 16,170 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 23 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 29,902 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 5,870 และ 4,502 ล้าน ลบ.ม. ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 44 และ 47 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 10,372 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 12,600 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 316 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯทั้ง หมด สามารถรับน้ำได้อีก 644 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ      ปริมาตรน้ำใช้การได้      ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง   ปริมาณน้ำระบาย     ปริมาณน้ำรับได้อีก
          ปริมาตรน้ำ   %ความจุอ่าง  ปริมาตรน้ำ  %ความจุอ่าง     วันนี้    เมื่อวาน     วันนี้   เมื่อวาน
แม่กวง           46          18        32         12    0.43      0.33    0.67     1.42              217
แควน้อย         189          25       153         20    5.33      5.33    5.05     5.05              580
อุบลรัตน์         623          28       213          9     4.3      4.29       5     4.97            1,641
ทับเสลา          25          15        17         10    0.47      0.05       0        0              135
ขุนด่านฯ          56          25        51         22    1.83      3.29    0.47     0.65              168

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิงบริเวณจังหวัดกำแพงเพชรและนครสวรรค์อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำ วังบริเวณจังหวัดตากอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำยมบริเวณจังหวัดแพร่ สุโขทัย อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยกเว้นบริเวณจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำน่าน บริเวณจังหวัดน่านและพิษณุโลกอยู่ในเกณฑ์น้อย ยกเว้นบริเวณจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแม่น้ำแควน้อยบริเวณจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในเกณฑ์ น้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำชี บริเวณจังหวัดยโสธรอยู่ในเกณฑ์ปกติ บริเวณจังหวัดชัยภูมิอยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำมูล บริเวณจังหวัด นครราชสีมาอยู่ในเกณฑ์น้อย บริเวณจังหวัดอุบลราชธานีอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และอุทัยธานีอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำป่า สัก บริเวณจังหวัดลพบุรี และสระบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคตะวันออก แม่น้ำปราจีนบุรีบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำพระสทึงบริเวณจังหวัดสระแก้วอยู่ในเกณฑ์น้อย แม่น้ำ คลองหินดาด บริเวณจังหวัดจันทบุรีอยู่ในเกณฑ์น้อย

ภาคใต้ แม่น้ำตาปี บริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปัตตานีบริเวณจังหวัดยะลา และแม่น้ำโก-ลกบริเวณจังหวัดนราธิวาส อยู่ใน เกณฑ์น้อย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กรกฎาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ