เรื่อง การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ (รายจ่ายลงทุน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และ
การเตรียมการสำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเตรียมความพร้อมในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณและแนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และปีต่อ ๆ ไป และอนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเตรียมความพร้อมและใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับการบริหารเงินสด(Cash Flow) และเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ดังนี้
1. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.1 เมื่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเริ่มวางแผนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรวมทั้งเตรียมการตรวจสอบเป้าหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่จะต้องปฏิบัติ และจัดเตรียมความพร้อมเพื่อการดำเนินการตามผลผลิต/โครงการ เช่น การสำรวจ ออกแบบ ประมาณการราคา หรือกำหนดคุณลักษณะเฉพาะพัสดุ รวมทั้งการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือพื้นที่เพื่อดำเนินการ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้จ่ายงบประมาณไว้ล่วงหน้า
1.2 เมื่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ผ่านการพิจารณาวาระที่ 3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน และจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการ ผลผลิต/โครงการและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา และเริ่มดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เพื่อพร้อมที่จะก่อหนี้ผูกพันได้ทันที เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ
1.3 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีใช้บังคับ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอเบิกจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกรมบัญชีกลาง ตามวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและหรือ โอนเปลี่ยนแปลงจากสำนักงบประมาณ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ (1 ตุลาคม)
2. สำนักงบประมาณ
จัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ดังนี้
2.1 ตรวจสอบความถูกต้อง และพิจารณาเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
2.2 จัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเต็มวงเงินงบประมาณทั้งหมด ตามรายละเอียดในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ตามที่รัฐสภาอนุมัติแล้ว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว)โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อ 2.1 เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (1 ตุลาคม)
2.3 จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) งบกลาง รายการที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้กรมบัญชีกลางไปพิจารณาจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามรายจ่ายจริง ซึ่งเป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นต้องจ่ายตามกฎหมายและสิทธิของบุคคล เช่น รายการค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ รายการเงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ รายการเงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ เป็นต้น จะจัดสรรให้กรมบัญชีกลางตามความจำเป็นในการใช้จ่าย
2) งบกลาง รายการอื่น ๆ จะจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการตามผลผลิต/โครงการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายการและนโยบายรัฐบาลตามความจำเป็นและเหมาะสม
3) ติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ ตลอดปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 กรกฎาคม 2548--จบ--
การเตรียมการสำหรับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเตรียมความพร้อมในการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณและแนวทางการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และปีต่อ ๆ ไป และอนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเตรียมความพร้อมและใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับการบริหารเงินสด(Cash Flow) และเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ดังนี้
1. ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.1 เมื่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ผ่านการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรวาระที่ 1 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเริ่มวางแผนการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจรวมทั้งเตรียมการตรวจสอบเป้าหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่จะต้องปฏิบัติ และจัดเตรียมความพร้อมเพื่อการดำเนินการตามผลผลิต/โครงการ เช่น การสำรวจ ออกแบบ ประมาณการราคา หรือกำหนดคุณลักษณะเฉพาะพัสดุ รวมทั้งการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือพื้นที่เพื่อดำเนินการ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการใช้จ่ายงบประมาณไว้ล่วงหน้า
1.2 เมื่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ผ่านการพิจารณาวาระที่ 3 ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจปรับปรุงแผนการปฏิบัติงาน และจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับเป้าหมายการให้บริการ ผลผลิต/โครงการและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา และเริ่มดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เพื่อพร้อมที่จะก่อหนี้ผูกพันได้ทันที เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณ
1.3 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีใช้บังคับ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจขอเบิกจ่ายเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กับกรมบัญชีกลาง ตามวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและหรือ โอนเปลี่ยนแปลงจากสำนักงบประมาณ ตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันเริ่มต้นปีงบประมาณ (1 ตุลาคม)
2. สำนักงบประมาณ
จัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ดังนี้
2.1 ตรวจสอบความถูกต้อง และพิจารณาเห็นชอบแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
2.2 จัดสรรงบประมาณให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเต็มวงเงินงบประมาณทั้งหมด ตามรายละเอียดในเอกสารประกอบพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ตามที่รัฐสภาอนุมัติแล้ว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ยกเว้นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณจะจัดสรรงบประมาณให้เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว)โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามข้อ 2.1 เพื่อให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันได้ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (1 ตุลาคม)
2.3 จัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) งบกลาง รายการที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้กรมบัญชีกลางไปพิจารณาจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจตามรายจ่ายจริง ซึ่งเป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นต้องจ่ายตามกฎหมายและสิทธิของบุคคล เช่น รายการค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ รายการเงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ รายการเงินเลื่อนขั้น เลื่อนอันดับเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ เป็นต้น จะจัดสรรให้กรมบัญชีกลางตามความจำเป็นในการใช้จ่าย
2) งบกลาง รายการอื่น ๆ จะจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจดำเนินการตามผลผลิต/โครงการ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายการและนโยบายรัฐบาลตามความจำเป็นและเหมาะสม
3) ติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายเงินของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ ตลอดปีงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 5 กรกฎาคม 2548--จบ--