คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการดำเนินงานและแผนลงทุน Contract Farming ปี 2549-2550 เพื่อนำไปใช้เจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแผนลงทุนอันเป็นผลจากการเจรจา ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สามารถดำเนินการได้โดยประสานงานกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามเวลาที่กำหนด รวมทั้งมอบหมาย สศช. ประสานการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนและรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า
1. ผลการดำเนินการ Contract Farming ในปี 2548-2549
1.1 แผนลงทุน Contract Farming ในปี 2548-2549 มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 46 ราย พื้นที่เป้าหมายบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 318,920 ไร่ พืชเป้าหมาย 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน และละหุ่ง รวม 290,430 ตัน ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถนำเข้าพืชเป้าหมายภายใต้มาตรการผ่อนปรนของโครงการได้ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่วเขียว ผิวมัน จำนวนรวมทั้งสิ้น 7,806 ตัน คิดเป็นร้อยละ 2.69 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามแผนลงทุน (290,430 ตัน) ทั้งนี้ การนำเข้าผลผลิตจริงมีปริมาณมากกว่าร้อยละ 2.69 แต่เป็นการนำเข้านอกโครงการ
1.2 ข้อจำกัดในการดำเนินงานเกิดจากการออกประกาศให้สามารถนำผลผลิตเข้าตามมาตรการผ่อนปรนมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวความไม่สะดวกด้านเส้นทางคมนาคม คุณภาพของผลผลิตไม่ตรงความต้องการ ซึ่งเกี่ยวพันกับการขาดความรู้ความชำนาญของเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้าน และขาดกลไกการประสานงานที่มีประสิทธิภาพในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะระหว่างส่วนกลางและพื้นที่ชายแดน
2. ข้อเสนอการดำเนินงานโครงการ Contract Farming และแผนลงทุนปี 2549-2550 มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 แผนลงทุน Contract Farming ในปี 2549-2550
2.1.1 ผู้ประกอบการ จำนวน 114 ราย จากจังหวัดเป้าหมาย 8 แห่ง ได้แก่ ตาก เลย จันทบุรี สระแก้ว นครพนม อุบลราชธานี เชียงราย และหนองคาย พื้นที่เพาะปลูกเป็นพื้นที่เพาะปลูกบริเวณชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศเพื่อนบ้าน 1,751,452.25 ไร่
2.1.2 ปริมาณนำเข้าพืชเป้าหมายในปี 2549-2550 รวม 1,272,503 ตัน มีพืชเป้าหมาย 9 ชนิด ที่ภาคเอกชนสนใจดำเนินการ Contract Farming ประกอบด้วย (1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 956,506 ตัน (2) ถั่วเหลือง 135,630 ตัน (3) ลูกเดือย 94,192 ตัน (4) ยูคาลิปตัส 70,500 ตัน (5) ถั่วเขียวผิวมัน 55,710 ตัน (6) ถั่วลิสง 12,409 ตัน (7) งา 9,765 ตัน (8) ละหุ่ง 5,265 ตัน และ (9) ข้าวโพดหวาน 3,026 ตัน โดยเห็นชอบให้งาเป็นพืชเพิ่มเติมรายการที่ 11 ที่ได้รับสิทธิภาษีศูนย์
2.1.3 แผนการผลิต กำหนดนำเข้าผลผลิตโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรนเริ่มตั้งแต่สิงหาคม 2549- มิถุนายน 2550
2.2 รูปแบบและการดำเนินงาน Contract Farming
2.2.1 รูปแบบ เป็น Contract Farming ระหว่างเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ประกอบการไทยทั้งจากส่วนกลางและบริเวณชายแดน โดยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาจากส่วนที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันให้เป็นระบบ
2.2.2 การแบ่งงาน เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานตามบทบาทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขั้วางแผน (สศช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ หอการค้า จังหวัด) ขั้นเจรจา (กระทรวงการต่างประเทศ) และขั้นปฏิบัติ (จังหวัด)
2.2.3 แนวทางดำเนินงาน จะเป็นการขยายผลจากปี 2548 โดยวางระบบให้เป็นขั้นตอน และกำหนดกลไกประสานงานอย่างเป็นทางการทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
1) การกำหนดมาตรการผ่อนปรนเพื่อนำเข้าผลผลิตของโครงการ Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS โดยกระทรวงการคลังออกประกาศกระทรวงการคลัง ให้สามารถนำเข้าสินค้าภายใต้มาตรการผ่อนปรนสำหรับพื้นที่เป้าหมายในโครงการควบคู่กับการสร้างระบบบริหารจัดการในพื้นที่ โดยให้จังหวัดเป้าหมายจัดตั้งคณะทำงานกำกับดูแลการดำเนินการ จดทะเบียนผู้ร่วมโครงการ จัดทำแผนลงทุนและจัดทำแบบฟอร์มเฉพาะเพื่อนำเข้าสินค้าตามมาตรการผ่อนปรน ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการตามแผนการผลิต กระทรวงการต่างประเทศจะนำแผนการลงทุนเข้าไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านให้ยอมรับร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการด้วย
2) การบริหารจัดการนำเข้าผลผลิตจากโครงการให้มีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ดูแลบริหารจัดการทั้งการอนุมัติปริมาณนำเข้าตามแผนลงทุนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศ และการผ่อนคลายกฎ ระเบียบ และแก้ไขปัญหาการนำเข้า โดยเฉพาะกรณีพืชควบคุม เช่น ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
3) กำหนดให้มีการจัดทำแผนสนับสนุน 3 ด้าน เพื่อส่งเสริมโครงการ Contract Farming อย่างครบวงจร ได้แก่ ด้านการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาเส้นทางขนส่งผลผลิต และด้านการเงิน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประสานงานกับจังหวัดเพื่อจัดทำโครงการ งบประมาณ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
4) การจัดทำ MOU on Contract Farming ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า โดยกระทรวงการต่างประเทศยกร่าง MOU และเจรจาให้ประเทศเพื่อนบ้านลงนามร่วมกับไทย เพื่อให้เกิดการสนับสนุนในระดับนโยบายการประสานงาน และการกำกับดูแลการดำเนินงานโครงการ Contract Farming ระหว่างไทยและเพื่อนบ้านอย่างเป็นทางการ
2.3 กลไกการดำเนินงานมี 2 ส่วน ได้แก่
2.3.1 กลไกภายในประเทศ 3 ระดับ ได้แก่
1) ระดับพื้นที่ มีคณะทำงานระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานทำหน้าที่วางแผนปฏิบัติในระดับพื้นที่
2) ระดับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและ Contract Farming มีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และมีกรรมการ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงการ ต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนำร่อง และมี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ทำหน้าที่พิจารณาแผนลงทุนและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ และ
3) ระดับชาติ มีคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน/โครงการก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
2.3.2 กลไกระหว่างประเทศ 2 ระดับ โดยกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างเจรจากับกัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างประเทศ (Joint Committee) ในลักษณะทวิภาคีระหว่างกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ (1) คณะทำงานระดับพื้นที่ประสานการดำเนินงานในระดับปฏิบัติการกับคณะทำงานระดับจังหวัดของไทย และ (2) คณะทำงานระดับชาติ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้าน กำกับดูแล และประสานงานกับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและ Contract Farming ของไทย
2.4 ประโยชน์จากโครงการ Contract Farming ในปี 2549-2550 ช่วยให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน 1,751,452.25 ไร่ ไทยสามารถนำเข้าพืชเป้าหมาย 9 ชนิด ได้ 1,272,503 ตัน ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม ACMECS โดยปริมาณดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศเนื่องจากมีปริมาณไม่มากและเป็นการขยายผลจากสิ่งที่ปัจจุบันมีการลักลอบดำเนินการหรือมีการลงทุนดำเนินการอยู่บ้างแล้ว ช่วยแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการดำเนินงาน Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS จะทำให้รัฐบาลสามารถวางแผนการผลิตพืชเป้าหมายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่า
1. ผลการดำเนินการ Contract Farming ในปี 2548-2549
1.1 แผนลงทุน Contract Farming ในปี 2548-2549 มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 46 ราย พื้นที่เป้าหมายบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน 318,920 ไร่ พืชเป้าหมาย 6 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วเขียวผิวมัน และละหุ่ง รวม 290,430 ตัน ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถนำเข้าพืชเป้าหมายภายใต้มาตรการผ่อนปรนของโครงการได้ 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง และถั่วเขียว ผิวมัน จำนวนรวมทั้งสิ้น 7,806 ตัน คิดเป็นร้อยละ 2.69 ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามแผนลงทุน (290,430 ตัน) ทั้งนี้ การนำเข้าผลผลิตจริงมีปริมาณมากกว่าร้อยละ 2.69 แต่เป็นการนำเข้านอกโครงการ
1.2 ข้อจำกัดในการดำเนินงานเกิดจากการออกประกาศให้สามารถนำผลผลิตเข้าตามมาตรการผ่อนปรนมีผลบังคับใช้ในช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยวความไม่สะดวกด้านเส้นทางคมนาคม คุณภาพของผลผลิตไม่ตรงความต้องการ ซึ่งเกี่ยวพันกับการขาดความรู้ความชำนาญของเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้าน และขาดกลไกการประสานงานที่มีประสิทธิภาพในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะระหว่างส่วนกลางและพื้นที่ชายแดน
2. ข้อเสนอการดำเนินงานโครงการ Contract Farming และแผนลงทุนปี 2549-2550 มีสาระสำคัญดังนี้
2.1 แผนลงทุน Contract Farming ในปี 2549-2550
2.1.1 ผู้ประกอบการ จำนวน 114 ราย จากจังหวัดเป้าหมาย 8 แห่ง ได้แก่ ตาก เลย จันทบุรี สระแก้ว นครพนม อุบลราชธานี เชียงราย และหนองคาย พื้นที่เพาะปลูกเป็นพื้นที่เพาะปลูกบริเวณชายแดนและพื้นที่ตอนในของประเทศเพื่อนบ้าน 1,751,452.25 ไร่
2.1.2 ปริมาณนำเข้าพืชเป้าหมายในปี 2549-2550 รวม 1,272,503 ตัน มีพืชเป้าหมาย 9 ชนิด ที่ภาคเอกชนสนใจดำเนินการ Contract Farming ประกอบด้วย (1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 956,506 ตัน (2) ถั่วเหลือง 135,630 ตัน (3) ลูกเดือย 94,192 ตัน (4) ยูคาลิปตัส 70,500 ตัน (5) ถั่วเขียวผิวมัน 55,710 ตัน (6) ถั่วลิสง 12,409 ตัน (7) งา 9,765 ตัน (8) ละหุ่ง 5,265 ตัน และ (9) ข้าวโพดหวาน 3,026 ตัน โดยเห็นชอบให้งาเป็นพืชเพิ่มเติมรายการที่ 11 ที่ได้รับสิทธิภาษีศูนย์
2.1.3 แผนการผลิต กำหนดนำเข้าผลผลิตโดยได้รับสิทธิพิเศษภายใต้มาตรการผ่อนปรนเริ่มตั้งแต่สิงหาคม 2549- มิถุนายน 2550
2.2 รูปแบบและการดำเนินงาน Contract Farming
2.2.1 รูปแบบ เป็น Contract Farming ระหว่างเกษตรกรประเทศเพื่อนบ้านกับผู้ประกอบการไทยทั้งจากส่วนกลางและบริเวณชายแดน โดยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาจากส่วนที่ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันให้เป็นระบบ
2.2.2 การแบ่งงาน เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานตามบทบาทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ขั้วางแผน (สศช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ หอการค้า จังหวัด) ขั้นเจรจา (กระทรวงการต่างประเทศ) และขั้นปฏิบัติ (จังหวัด)
2.2.3 แนวทางดำเนินงาน จะเป็นการขยายผลจากปี 2548 โดยวางระบบให้เป็นขั้นตอน และกำหนดกลไกประสานงานอย่างเป็นทางการทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
1) การกำหนดมาตรการผ่อนปรนเพื่อนำเข้าผลผลิตของโครงการ Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS โดยกระทรวงการคลังออกประกาศกระทรวงการคลัง ให้สามารถนำเข้าสินค้าภายใต้มาตรการผ่อนปรนสำหรับพื้นที่เป้าหมายในโครงการควบคู่กับการสร้างระบบบริหารจัดการในพื้นที่ โดยให้จังหวัดเป้าหมายจัดตั้งคณะทำงานกำกับดูแลการดำเนินการ จดทะเบียนผู้ร่วมโครงการ จัดทำแผนลงทุนและจัดทำแบบฟอร์มเฉพาะเพื่อนำเข้าสินค้าตามมาตรการผ่อนปรน ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการตามแผนการผลิต กระทรวงการต่างประเทศจะนำแผนการลงทุนเข้าไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านให้ยอมรับร่วมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ประกอบการด้วย
2) การบริหารจัดการนำเข้าผลผลิตจากโครงการให้มีประสิทธิภาพ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ดูแลบริหารจัดการทั้งการอนุมัติปริมาณนำเข้าตามแผนลงทุนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศ และการผ่อนคลายกฎ ระเบียบ และแก้ไขปัญหาการนำเข้า โดยเฉพาะกรณีพืชควบคุม เช่น ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
3) กำหนดให้มีการจัดทำแผนสนับสนุน 3 ด้าน เพื่อส่งเสริมโครงการ Contract Farming อย่างครบวงจร ได้แก่ ด้านการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาเส้นทางขนส่งผลผลิต และด้านการเงิน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประสานงานกับจังหวัดเพื่อจัดทำโครงการ งบประมาณ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
4) การจัดทำ MOU on Contract Farming ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า โดยกระทรวงการต่างประเทศยกร่าง MOU และเจรจาให้ประเทศเพื่อนบ้านลงนามร่วมกับไทย เพื่อให้เกิดการสนับสนุนในระดับนโยบายการประสานงาน และการกำกับดูแลการดำเนินงานโครงการ Contract Farming ระหว่างไทยและเพื่อนบ้านอย่างเป็นทางการ
2.3 กลไกการดำเนินงานมี 2 ส่วน ได้แก่
2.3.1 กลไกภายในประเทศ 3 ระดับ ได้แก่
1) ระดับพื้นที่ มีคณะทำงานระดับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานทำหน้าที่วางแผนปฏิบัติในระดับพื้นที่
2) ระดับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและ Contract Farming มีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และมีกรรมการ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงการ ต่างประเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดนำร่อง และมี สศช. เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ทำหน้าที่พิจารณาแผนลงทุนและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ และ
3) ระดับชาติ มีคณะกรรมการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน (กพบ.) ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย) เป็นประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน/โครงการก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป
2.3.2 กลไกระหว่างประเทศ 2 ระดับ โดยกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างเจรจากับกัมพูชา ลาว และพม่า เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างประเทศ (Joint Committee) ในลักษณะทวิภาคีระหว่างกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ (1) คณะทำงานระดับพื้นที่ประสานการดำเนินงานในระดับปฏิบัติการกับคณะทำงานระดับจังหวัดของไทย และ (2) คณะทำงานระดับชาติ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศเพื่อนบ้าน กำกับดูแล และประสานงานกับคณะทำงานยุทธศาสตร์ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและ Contract Farming ของไทย
2.4 ประโยชน์จากโครงการ Contract Farming ในปี 2549-2550 ช่วยให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน 1,751,452.25 ไร่ ไทยสามารถนำเข้าพืชเป้าหมาย 9 ชนิด ได้ 1,272,503 ตัน ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม ACMECS โดยปริมาณดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบกับเกษตรกรในประเทศเนื่องจากมีปริมาณไม่มากและเป็นการขยายผลจากสิ่งที่ปัจจุบันมีการลักลอบดำเนินการหรือมีการลงทุนดำเนินการอยู่บ้างแล้ว ช่วยแก้ปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรกรได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนการดำเนินงาน Contract Farming ภายใต้กรอบ ACMECS จะทำให้รัฐบาลสามารถวางแผนการผลิตพืชเป้าหมายภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--