คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคน ดังนี้
1. วันที่ 1 มกราคม — 20 พฤศจิกายน 2548 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 4 ราย คือ 1) เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เท่าเดิม คือเพศชาย มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 2) ได้รับการรักษาหายจำนวน 3 ราย
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณาเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกและผู้ที่เข้าข่ายสงสัย ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการต่อไป
2.2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมร่วมกับกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้
1) ร่วมกันฝึกอบรมทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมทุกเขต จำนวน 67 ทีม โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนงบประมาณและวิชาการ
2) หากพบผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก ในกรุงเทพมหานคร สถานพยาบาลต้องแจ้งสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การประเมินสถานการณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง
3) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครรับผิดชอบการสอบสวนโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทุกกรณี ยกเว้นกรณีรายที่มีปัญหาซับซ้อนและมีความยุ่งยาก ทีมสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจะต้องดำเนินการสอบสวนโรคร่วมด้วยทุกครั้งตั้งแต่เริ่มต้น
4) การติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วย สัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดและการให้ยา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านยา
5) หากพบผู้ป่วยยืนยันในกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรคจะแจ้งสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครทราบก่อนสื่อมวลชน โดยผู้ประสานงานระดับสำนักจะเป็นผู้รายงานผู้บังคับบัญชา
6) การประชาสัมพันธ์ จะร่วมกันประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องไข้หวัดนกมากขึ้น
2.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีผลสรุป ดังนี้ ให้เร่งรัดการดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและสัตว์ปีก และมีนโยบายยังไม่ให้วัคซีนในสัตว์ปีก
2.4 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้ประชุมกับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในประเด็นการสร้างความร่วมมือป้องกันโรค เพื่อร่วมมือจัดทำหลักสูตรความรู้เรื่องโรค/ภัยสุขภาพ สำหรับครู ผู้สอนและสื่อสุขศึกษาสำหรับนักเรียนให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนการประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค ของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
4. ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 มีการจัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อตรวจสอบแผนปฏิบัติการป้องกันไข้หวัดนกของทุกจังหวัดทั่วประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
1. วันที่ 1 มกราคม — 20 พฤศจิกายน 2548 มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดนกในคน รวม 4 ราย คือ 1) เสียชีวิต จำนวน 1 ราย เท่าเดิม คือเพศชาย มีอาชีพรับจ้าง อาศัยอยู่ในอำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี 2) ได้รับการรักษาหายจำนวน 3 ราย
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพิจารณาเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดนกและผู้ที่เข้าข่ายสงสัย ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการต่อไป
2.2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมร่วมกับกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก ซึ่งมีข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้
1) ร่วมกันฝึกอบรมทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมทุกเขต จำนวน 67 ทีม โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนงบประมาณและวิชาการ
2) หากพบผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคไข้หวัดนก ในกรุงเทพมหานคร สถานพยาบาลต้องแจ้งสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้การประเมินสถานการณ์เป็นไปอย่างถูกต้อง
3) สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครรับผิดชอบการสอบสวนโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทุกกรณี ยกเว้นกรณีรายที่มีปัญหาซับซ้อนและมีความยุ่งยาก ทีมสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจะต้องดำเนินการสอบสวนโรคร่วมด้วยทุกครั้งตั้งแต่เริ่มต้น
4) การติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วย สัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดและการให้ยา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านยา
5) หากพบผู้ป่วยยืนยันในกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมโรคจะแจ้งสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครทราบก่อนสื่อมวลชน โดยผู้ประสานงานระดับสำนักจะเป็นผู้รายงานผู้บังคับบัญชา
6) การประชาสัมพันธ์ จะร่วมกันประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องไข้หวัดนกมากขึ้น
2.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนก ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีผลสรุป ดังนี้ ให้เร่งรัดการดำเนินการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกทั้งในคนและสัตว์ปีก และมีนโยบายยังไม่ให้วัคซีนในสัตว์ปีก
2.4 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคได้ประชุมกับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ในประเด็นการสร้างความร่วมมือป้องกันโรค เพื่อร่วมมือจัดทำหลักสูตรความรู้เรื่องโรค/ภัยสุขภาพ สำหรับครู ผู้สอนและสื่อสุขศึกษาสำหรับนักเรียนให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2548 ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนการประชุมเตรียมพร้อมรับสถานการณ์โรคไข้หวัดนกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค ของอาสาสมัครสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร
4. ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2548 มีการจัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เพื่อตรวจสอบแผนปฏิบัติการป้องกันไข้หวัดนกของทุกจังหวัดทั่วประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--