คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการรับรองข้อเสนอโครงการขอรับทุนสนับสนุนกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่ Operational Focal Point มีอำนาจในการพิจารณาให้การรับรองข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility) หรือ GEF และให้หน่วยงานเจ้าของโครงการนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนการลงนามในข้อตกลงทางการเงิน สำหรับกรณีที่โครงการได้รับอนุมัติสนับสนุนทางการเงินจาก GEF และมีข้อผูกพันทางการเงินที่เป็นตัวเงิน (In Cash) ร่วมสนับสนุนในการดำเนินโครงการ
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า GEF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนการเงินกับประเทศหรือผู้ที่ขอรับการสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม 6 ด้าน คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของดิน น้ำและน่านน้ำสากล สารตกค้างยาวนาน และการลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศ โดยเงินกองทุน GEF ได้รับบริจาคจากประเทศที่พัฒนาแล้วต่าง ๆ เป็นเงินกองทุนให้เปล่า สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการอนุวัติตามอนุสัญญาทางสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 176 ประเทศ สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2537 และเนื่องด้วยในการส่งเสริมการดำเนินพันธกิจต่าง ๆ GEF กำหนดให้แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อปฏิบัติหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงานและงบประมาณตลอดจนประสานและกลั่นกรองข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก GEF ในการนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอชื่อ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานประสานกลางเชิงปฏิบัติ (Operational Focal Point) ตามแนวทางการขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก GEF ว่าแต่ละประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจาก GEF จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเข้ามารับผิดชอบโครงการด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า GEF ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การสนับสนุนการเงินกับประเทศหรือผู้ที่ขอรับการสนับสนุนในการแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม 6 ด้าน คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเสื่อมโทรมของดิน น้ำและน่านน้ำสากล สารตกค้างยาวนาน และการลดลงของชั้นโอโซนในบรรยากาศ โดยเงินกองทุน GEF ได้รับบริจาคจากประเทศที่พัฒนาแล้วต่าง ๆ เป็นเงินกองทุนให้เปล่า สำหรับประเทศกำลังพัฒนาในการอนุวัติตามอนุสัญญาทางสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมโลก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 176 ประเทศ สำหรับประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 2537 และเนื่องด้วยในการส่งเสริมการดำเนินพันธกิจต่าง ๆ GEF กำหนดให้แต่ละประเทศสมาชิกแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อปฏิบัติหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงานและงบประมาณตลอดจนประสานและกลั่นกรองข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนจาก GEF ในการนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอชื่อ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติหน้าที่หน่วยงานประสานกลางเชิงปฏิบัติ (Operational Focal Point) ตามแนวทางการขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก GEF ว่าแต่ละประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือจาก GEF จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเข้ามารับผิดชอบโครงการด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤษภาคม 2549--จบ--