แต่งตั้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 29, 2009 15:09 —มติคณะรัฐมนตรี

1. แต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้แทนองค์กรสาธารณประโยชน์ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ จำนวน 8 ราย ตามมาตรา 7 (5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ดังนี้ 1. นางอาภรณ์ สายเชื้อ 2. นายอนุสรณ์ คุณานุสรณ์ 3. นายไพโรจน์ สุวรรณจันทร์ดี 4. นายเพื่อม พิทักษ์ 5. นายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ 6. นายณัฐพัชร์ อินทุภูติ 7. นายสมพร เทพสิทธา 8. นางธิดา ศรีไพพรรณ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป

2. รายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2552

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ตามที่คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเสนอ

ข้อเท็จจริง

คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีได้มีการประชุมครั้งที่ 2/2551 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ณ ห้องประชุม ชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล) เป็นประธานการประชุม ในการนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้จัดทำรายงานการประชุมเสร็จเรียบร้อยโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

         ประเด็น                                              สรุปสาระสำคัญ
1. ผู้เข้าร่วมประชุม                              มีกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีทั้งสิ้น 22 ท่าน  เข้าร่วมประชุมจำนวน 13  ท่าน
2. รายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม         จากรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพบว่าภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้ม

ที่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยคาดว่าจะเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจาก

สาเหตุ ดังนี้ 1) สินค้าคงเหลือในรายภาคอุตสาหกรรมเริ่มหมดลง 2) คำสั่งซื้อ

เริ่มกลับเข้ามา 3) ภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจได้ตกต่ำจนถึงจุดต่ำสุดแล้ว

สถานการณ์เศรษฐกิจของโลก หลายประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น สหรัฐอเมริกา

จีน ญี่ปุ่น แต่อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกของ

IMF จะเห็นได้ว่า ประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยการขยายตัวของ GDP จะยังอยู่

ในแดนลบทั้งหมด อีกทั้งตลาดที่สำคัญและเป็นตลาดที่ค่อนข้างจะปลอดภัยสำหรับการส่ง

ออก เช่น ตลาดในตะวันออกกลาง ก็คาดว่าปีนี้จะติดลบด้วย ดังนั้น การส่งออก

ของไทยจึงยังไม่น่าจะอยู่ในแดนบวก

จากการสัมมนา World Economic Forum ได้มีการประเมินสถานการณ์และได้ตั้ง

ข้อสังเกตว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่ภาพจริง ทั้งนี้ เพราะความต้อง

การที่จะเกิดขึ้นจากตลาดใหม่ (อินเดีย จีน) จะไม่สามารถครอบคลุมความต้องการ

เทียมที่เกิดจากการกระตุ้นการใช้จ่ายที่เกินกว่าความเป็นจริงในช่วงก่อนหน้าเกิดภาวะ

วิกฤตเศรษฐกิจได้ จึงต้องระมัดระวังว่าในระยะสามปีต่อไป อาจจะต้องพบกับภาวะ

เศรษฐกิจที่หดตัว ดังนั้น จึงอาจเกิดแนวโน้มของการสร้างกติกาใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้าง

มาตรฐานในการที่จะเข้ามาควบคุมตลาด ซึ่งจะส่งผลให้การลงทุนในภูมิภาคต่างๆ

ทำได้ยากขึ้น การลงทุนจากต่างประเทศก็อาจจะลดลงในการนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะ

เผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นอีก และสามารถอยู่รอดได้ประเทศไทย

จึงจำเป็นต้องพิจารณาการดำเนินการเพื่อปรับพื้นฐานของผู้ประกอบการของไทย โดย

ดำเนินการ ดังนี้ 1) สร้างนวัตกรรมโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ 2) ลดต้นทุน

ด้านพลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน 3) ต้องมีวินัยด้านการเงินการคลัง

อนึ่ง ระยะเวลาในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับปัญหาและความซับ

ซ้อนของปัญหาที่แท้จริง รวมถึงรูปแบบการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยภาครัฐ โดยทุกฝ่าย

เห็นพ้องกันว่ารัฐจำเป็นจะต้องเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และให้ความ

ช่วยเหลือเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคส่วนต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งจะต้องมี

การพิจารณารูปแบบและระยะเวลาในการดำเนินการให้เหมาะสมด้วย

3.  การดำเนินการเพื่อแก้ไข                       ที่ประชุมรับทราบการกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของกระทรวง
ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของ                           อุตสาหกรรม จำนวน 4 มาตรการ ดังนี้
กระทรวงอุตสาหกรรม                             1. มาตรการชะลอการเลิกจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม การสร้างอาชีพและสร้าง

ผู้ประกอบการใหม่

2. มาตรการสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยได้ดำเนินการเร่งรัดอนุมัติ โครงการ

ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน เปิดสำนักงานส่งเสริมการลงทุนและจัดทำ Road

Show ผลักดันให้เกิดการลงทุน และการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์พิเศษเพื่อ เร่งรัด

การลงทุน

3. มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันให้กับ

อุตสาหกรรมและ SMEs

4. มาตรการดูแลป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่

ร่วมกับชุมชนได้ ซึ่งการดำเนินการตามมาตรการนี้มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการ

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 โดย

นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณากำหนดราย

ละเอียดที่จะต้องดำเนินการตามองค์ประกอบของมาตรา 67 ให้แล้วเสร็จภาย

ใน 1 เดือน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ กรรมการผู้ช่วย

รัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงที่

เกี่ยวข้องได้ช่วยประสานงานในเรื่องดังกล่าวด้วย

4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของ            1. ในการส่งเสริมการลงทุนหรือให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ควรจะต้องมีการพิจารณา
   คณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี                         เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และเทคโนโลยี (Knowledge

Transfer) และผลประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้ามาลงทุนด้วย

2. ควรมีคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนภายนอกประเทศเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมนัก

ธุรกิจของไทยได้มีโอกาสในการขยายธุรกิจออกไปในต่างประเทศให้มากขึ้น

3. การดำเนินการตามข้อร้องเรียนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนิน

กิจการของสถานประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องคำนึงถึงการรับรู้

และความเข้าใจของประชาชน โดยจะต้องเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจและให้

ข้อมูลต่างๆ แก่ประชาชน อีกทั้งต้องมีบทบาทหรือกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดูแล

ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับความเสียหายหรือผลกระทบจากการดำเนิน

กิจการเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและตรงต่อความ

ต้องการของประชาชน แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สอดคล้องกับการกระตุ้นให้เกิดการ

ลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน รวมถึงการผลักดันให้เกิดการดำเนิน

การในโครงการขนาดใหญ่ จึงควรต้องพิจารณาการดำเนินการตามบทบัญญัติ

ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 67 ให้มีความเหมาะ

สมและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย 5. กรอบการดำเนินงานของคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ที่ประชุมเห็นชอบการจัดกลุ่มการรายงานผลการดำเนินงานของกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

ตามลักษณะงานที่ได้มีการดำเนินงานใน 3 ลักษณะ ดังนี้

1. ผลงานในเชิงปัจเจกบุคคลของผู้ช่วยรัฐมนตรีแต่ละท่าน

2. ผลงานที่ปฏิบัติงานร่วมกันของคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

3. ผลงานที่เป็นการบูรณาการร่วมกันของผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับ

งานที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีอาจกำหนดให้มีการประชุมในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ เพื่อ

บูรณาการการทำงานร่วมกัน เป็นประจำอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้

อนึ่ง ที่ประชุมยังมิได้มีการกำหนดระยะเวลาในการจัดทำรายงาน ผลการดำเนินงาน

ของผู้ช่วยรัฐมนตรีที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ช่วยรัฐมนตรีท่านใดประสงค์จะ

รายงานฯ อาจจัดทำเป็นรายงานผลการดำเนินงานในรอบ 3 เดือน และส่งให้ฝ่าย

เลขานุการฯ เพื่อจักได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีทราบต่อไป

6. การเลือกประธานในการ                        ที่ประชุมเห็นควรมอบหมายให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการพัฒนาสังคม
   ประชุมสำหรับการประชุม ครั้งที่ 3/2552            และความมั่นคงของมนุษย์ (นางนวลพรรณ ล่ำซำ) เป็นประธานการประชุม ครั้งที่

3/2552 ในวันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2552 เวลา 09.30 น. ณ กระทรวงการพัฒนา

สังคมและความมั่นคงของมนุษย์

3. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงแรงงาน)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้แต่งตั้งนายสุนันท์ โพธิ์ทอง รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน (นักวิชาการแรงงาน 10 ชช.) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

4. แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ชุดใหม่ เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบ 4 ปี ตามวาระแล้ว โดยมีรายชื่อดังนี้ 1. ศาสตราจารย์ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ ประธานกรรมการ 2. ศาสตราจารย์ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งมิใช่ข้าราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ 3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งมิใช่ข้าราชการ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ 4. ศาสตราจารย์ สุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่ผู้ปกครองนักเรียนเสนอ 5. ศาสตราจารย์ ประสาท สืบค้า กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อที่เจ้าหน้าที่โรงเรียนเสนอ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2552 เป็นต้นไป

5. แต่งตั้งข้าราชการ (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แต่งตั้งนายธวัชชัย กมลธรรม สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ 9 วช.) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ 10 วช.) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

6. ขออนุมัติรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำด้านความมั่นคง (นักบริหารระดับสูง)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติรับโอนพลโท สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ ด้านความมั่นคง (นักบริหารระดับสูง)กลุ่มยุทธศาสตร์และการวางแผน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

7. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ แต่งตั้งนายถวิล เปลี่ยนศรี รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

8. การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช.) (สำนักนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ 10 จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

1. นางชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ ผู้อำนวยการสำนัก (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 9) สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

2. นางนิตยา กมลวัทนนิศา ผู้อำนวยการสำนัก (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 9) สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 ชช.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

9. การกำหนดค่าตอบแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดค่าตอบแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติในอัตราค่าตอบแทนที่กระทรวงการคลังได้พิจารณาเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ดังนี้

1. ค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเท่ากับค่าตอบแทนคงที่ที่ได้รับในปัจจุบัน รวมกับอัตราที่ปรับเพิ่มตามผลการประเมินเมื่อสิ้นปีที่ 4 ในอัตราไม่เกินเดือนละ 244,750 บาท และเมื่อครบกำหนดทุกๆ 1 ปี อาจปรับขึ้นค่าตอบแทนคงที่ไม่เกินกว่าอัตราร้อยละ 10 ของค่าตอบแทนคงที่ที่ผู้รับจ้างได้รับ

2. ค่าตอบแทนพิเศษประจำปีในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของค่าตอบแทนรวมในแต่ละปีตามผลประกอบการขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และผลการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของคณะกรรมการ อพวช.

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 28 กรกฎาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ