เรื่อง รายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการตามยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน และยุทธศาสตร์-
การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549 ช่วงที่ 1
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการตามยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ช่วงที่ 1 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุวัตนัยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 39/2549 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ดำเนินการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ช่วงที่ 1 (ตุลาคม 2548 — มีนาคม 2549) ใน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการตรวจติดตามโครงการในเชิงพื้นที่ (Area) ตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด และส่วนที่ 2 เป็นการตรวจติดตามและ/หรือประสานงานกับผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลการตรวจราชการแบบบูรณาการตามประเด็นยุทธศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ โดยมีผลการตรวจ/ติดตามสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
1.1 สภาพปัญหาและสถานการณ์ความยากจน จากข้อมูลการจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ ณ วันที่ 21 เมษายน 2549 มีผู้มาจดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน(สย.) ทุกจังหวัดทั่วประเทศทั้งสิ้น12,836,374 ราย และจากผลการกลั่นกรอง (Verify) มีผู้ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ (Want) จำนวน 6,612,453 ราย และผู้ต้องการความช่วยเหลือ (Need) จำนวน 6,223,921 ราย ซึ่งได้รับความช่วยเหลือเสร็จสมบูรณ์แล้ว 2,042,622 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือจำนวน 2,206,829 ราย และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ 1,974,470 ราย ทั้งนี้ ได้กำหนดปัญหาในภาพกว้างครอบคลุมเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความยากจนไว้หลายด้านเพื่อจะได้ช่วยเหลือและแก้ไขให้ตรงกับสภาพปัญหาเหล่านั้น ได้แก่ ที่ดินทำกิน คนเร่ร่อน ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย นักเรียน นักศึกษา มีรายได้อาชีพเหมาะสม การถูกหลอกลวง หนี้สินภาคประชาชน ที่อยู่อาศัย และด้านอื่น ๆ
สำหรับ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของคนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า คนละ 20,000 บาทต่อปี (ครัวเรือน) และเป้าหมายการให้ความช่วยเหลือ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ไปกระตุ้นเร่งรัดให้ การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายในการตรวจ/ติดตามช่วงที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2549 ต่อไป
1.2 แผนงาน/งาน/โครงการและงบประมาณที่ใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นแผนงาน/โครงการและงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,075 แผนงาน/งาน/โครงการ งบประมาณจำนวน 5,555.96 ล้านบาท และส่วนที่ 2 เป็นแผนงาน/งาน/โครงการ/งบประมาณจากส่วนกลางที่จัดสรรลงสู่จังหวัดต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 113 โครงการ งบประมาณจำนวน 69,981.25 ล้านบาท
1.3 ปัจจัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สนับสนุนโดยจัดสรรงบประมาณตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อปท. เอง เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่รู้ปัญหา และความต้องการของประชาชนมากที่สุด มีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองพร้อมที่จะแปลงไปสู่การปฏิบัติได้ การจัดทำและพัฒนาระบบ GIS (Geographic Information System) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความความเดือดร้อนและความยากจน
1.4 ปัญหาอุปสรรคและข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ
1.4.1 ในการสำรวจและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความยากจนมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กรมการปกครอง (ข้อมูลผู้จดทะเบียน สย.) กรมการพัฒนาชุมชน (ข้อมูล จปฐ.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ข้อมูลผู้มีรายได้เฉลี่ยใต้เส้นความยากจน) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนกรมการปกครอง (ศตจ.ปค.) ควรมีการบูรณาการข้อมูลและการดำเนินการในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดทะเบียนเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสังคมยากจนเชิงบูรณาการ ควรต้องครอบคลุมผู้ที่จดทะเบียนคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ในจังหวัดทั้งหมด และครอบคลุมผู้ที่เป็นคนจนจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติไว้ด้วย และที่สำคัญต้องมีข้อมูลคนจนหรือครัวเรือนยากจนที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การติดตามตามมาตรการช่วยเหลือสอดคล้องกับความต้องการของคนจนและตรงกับพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้ง ควรมีการวางกรอบและแนวทางการเก็บข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนมีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างส่วนภูมิภาคกับส่วนกลางผ่านระบบ IT อย่างเป็นรูปธรรม
1.4.2 ในส่วนของโครงการที่แก้ปัญหาความยากจนไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และมีความซ้ำซ้อนในการให้ความช่วยเหลือ เป็นเพราะบางอำเภอในบางจังหวัดไม่ได้มีการคัดกรองและตัดยอดผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วออกจากกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์อำนวยต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.ชาติ) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) และศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กรมการปกครอง (ศตจ.ปค.) และกรมการพัฒนาชุมชน ควรกำหนดแผนงาน/งาน/โครงการที่จะแก้ปัญหาความยากจน โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่มีการจดทะเบียน การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ หรือที่มีการสำรวจครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ไว้ โดยเลือกกิจกรรมที่ช่วยเหลือให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และหน่วยงานต่าง ๆที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนควรร่วมกันกำหนดเป้าหมาย บูรณาการแผนงาน/งาน/โครงการและแลกเปลี่ยนทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งน่าจะมีผลโดยตรงที่จะลดจำนวนผู้ต้องการความช่วยเหลือหรือผู้ยากจนจากทะเบียนหรือข้อมูลที่สำรวจไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4.3 การจัดทำโครงการของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดจะมุ่งเน้นการตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่จังหวัดพิจารณาความเชื่อมโยงโครงการเข้ากับประเด็นยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนจึงมีความเข้าใจที่แตกต่างและมีความหลากหลาย ซึ่งวิธีการพิจารณาควร Matching เป้าประสงค์ของโครงการกับเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนและอยู่ในกรอบของการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส และกลุ่มเป้าหมายของโครงการที่เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนหรือผู้ที่ทางราชการได้ทำการสำรวจเป็นผู้ยากจนไว้ และเห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รับไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
1.4.3 ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจน
(1) การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนแก้ปัญหาความยากจนในด้านที่อยู่อาศัย ด้านที่ดิน และด้านการประกอบอาชีพ ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน (สย.)ไว้ใน 3 เรื่องดังกล่าว พร้อมกับเก็บข้อมูลไว้เพื่อใช้ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือต่อไป
(2) การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง มีวิวัฒนาการและมาตรฐานที่แตกต่างกัน กรอบและรูปแบบการจัดทำแผนส่วนใหญ่มีลักษณะที่เป็นแผนของทางราชการมากกว่าแผนชุมชนดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์อำนวยต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.ชาติ) และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานประสานการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองระดับจังหวัด อำเภอ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการสนับสนุน การจัดทำแผนชุมชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของแผนชุมชนให้เป็นแผนของชุมชนอย่างแท้จริง
(3) ระบบข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะระบบ GIS (Geographic Information System) บางจังหวัดไม่ให้ความสำคัญกับการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ GIS มาใช้กับการแก้ไขปัญหาความยากจนเท่าที่ควร และในแต่ละจังหวัดมีการจัดทำและพัฒนาระบบ GIS แตกต่างกันค่อนข้างมาก ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงควรสนับสนุนให้จังหวัดเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูลสารสนเทศให้มีมาตรฐานทัดเทียมกันโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
2.1 แผนงาน/งาน/โครงการและงบประมาณที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ แผนงาน/งาน/โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัด กระทรวง/กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 184 โครงการ งบประมาณรวม 31,403.66 ล้านบาท และแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,063 โครงการ งบประมาณ รวม 4,457.91 ล้านบาท
2.2 ผลการตรวจติดตามการดำเนินงานของกระทรวงและของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี จากแผนงาน/งาน/โครงการของกระทรวง/กรุงเทพมหานคร (Function) และจากการตรวจติดตามแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด (Area) ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ สรุปโดยรวมได้ว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/โครงการ สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าว และได้จัดทำแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงให้สอดรับกับประเด็นยุทธศาสตร์ฯเพื่อการติดตามผลตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยผลจากการตรวจติดตามแผนงานฯ ในช่วงที่ 1 ของผู้ตรวจราชการกระทรวงนั้น มีแนวโน้มว่าแผนงาน/งาน/โครงการของหน่วยงานที่รับการตรวจเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาคนและสังคมให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจติดตามแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด(Area) ของ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ที่พบว่าจังหวัด ได้ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพเป็นลำดับต้นด้วยเช่นเดียวกัน
2.3 ข้อสังเกตจากการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
2.3.1 การพิจารณางบประมาณโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพได้แก่ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม (ข้อ ก ข ค และ ง ) กระทรวงมหาดไทยควรจะได้มอบหมายให้กลุ่มจังหวัด/จังหวัดติดตามสถานการณ์ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงและจัดทำแผนงาน/งาน/โครงการ ให้สามารถตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจะต้องมีการขยายผลการดำเนินงานในการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในทุกเรื่องได้ต่อไปในอนาคต
2.3.2 ในเรื่องของเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) เป็นเรื่องที่สำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาคนและสังคมที่เน้นลงไปถึงระดับหมู่บ้าน โดยเน้นใน 3 ส่วนหลักคือ สุขภาพอนามัย การศึกษา และชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งปี พ.ศ. 2549 เป็นปีเริ่มต้น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ จึงควรให้ความสำคัญและติดตามการดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งแม้ว่าจะมีหมู่บ้านเป้าหมายที่จะสนับสนุนไม่มากนักในแต่ละจังหวัด แต่ในเรื่องเมืองไทยแข็งแรงก็ได้ถูกกำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดและจะต้องมีการขยายผลต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ จากรายงานผลการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าบางจังหวัดยังค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเป้าประสงค์หนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาคนฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวด้วย
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและสนับสนุนยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานของกระทรวงและการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ 2 (เมษายน — กันยายน 2549) เห็นควรนำข้อมูลที่ได้รับจากกระทรวง (Function) และการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมาวิเคราะห์ พิจารณาจัดทำรายงานผลการตรวจติดตามภาพรวม ร่วมกับของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ปัญหาอุปสรรค ข้อสังเกตข้อเสนอแนะ ระบบงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนชุมชน ความร่วมมือของ อปท. และระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงที่ 1 เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--
การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2549 ช่วงที่ 1
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจราชการแบบบูรณาการตามยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ช่วงที่ 1 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปได้ดังนี้
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้อนุวัตนัยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 39/2549 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549 ดำเนินการตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ช่วงที่ 1 (ตุลาคม 2548 — มีนาคม 2549) ใน 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการตรวจติดตามโครงการในเชิงพื้นที่ (Area) ตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด และส่วนที่ 2 เป็นการตรวจติดตามและ/หรือประสานงานกับผู้ตรวจราชการกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลการตรวจราชการแบบบูรณาการตามประเด็นยุทธศาสตร์ได้อย่างมีนัยสำคัญและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน และยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ โดยมีผลการตรวจ/ติดตามสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจน
1.1 สภาพปัญหาและสถานการณ์ความยากจน จากข้อมูลการจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ ณ วันที่ 21 เมษายน 2549 มีผู้มาจดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน(สย.) ทุกจังหวัดทั่วประเทศทั้งสิ้น12,836,374 ราย และจากผลการกลั่นกรอง (Verify) มีผู้ไม่ประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ (Want) จำนวน 6,612,453 ราย และผู้ต้องการความช่วยเหลือ (Need) จำนวน 6,223,921 ราย ซึ่งได้รับความช่วยเหลือเสร็จสมบูรณ์แล้ว 2,042,622 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการให้ความช่วยเหลือจำนวน 2,206,829 ราย และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ 1,974,470 ราย ทั้งนี้ ได้กำหนดปัญหาในภาพกว้างครอบคลุมเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความยากจนไว้หลายด้านเพื่อจะได้ช่วยเหลือและแก้ไขให้ตรงกับสภาพปัญหาเหล่านั้น ได้แก่ ที่ดินทำกิน คนเร่ร่อน ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย นักเรียน นักศึกษา มีรายได้อาชีพเหมาะสม การถูกหลอกลวง หนี้สินภาคประชาชน ที่อยู่อาศัย และด้านอื่น ๆ
สำหรับ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของคนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า คนละ 20,000 บาทต่อปี (ครัวเรือน) และเป้าหมายการให้ความช่วยเหลือ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีจะได้ไปกระตุ้นเร่งรัดให้ การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายในการตรวจ/ติดตามช่วงที่ 2 ระหว่างเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2549 ต่อไป
1.2 แผนงาน/งาน/โครงการและงบประมาณที่ใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นแผนงาน/โครงการและงบประมาณตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,075 แผนงาน/งาน/โครงการ งบประมาณจำนวน 5,555.96 ล้านบาท และส่วนที่ 2 เป็นแผนงาน/งาน/โครงการ/งบประมาณจากส่วนกลางที่จัดสรรลงสู่จังหวัดต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 113 โครงการ งบประมาณจำนวน 69,981.25 ล้านบาท
1.3 ปัจจัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สนับสนุนโดยจัดสรรงบประมาณตั้งจ่ายจากเงินรายได้ของ อปท. เอง เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่รู้ปัญหา และความต้องการของประชาชนมากที่สุด มีการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองพร้อมที่จะแปลงไปสู่การปฏิบัติได้ การจัดทำและพัฒนาระบบ GIS (Geographic Information System) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความความเดือดร้อนและความยากจน
1.4 ปัญหาอุปสรรคและข้อสังเกต/ข้อเสนอแนะ
1.4.1 ในการสำรวจและใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความยากจนมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กรมการปกครอง (ข้อมูลผู้จดทะเบียน สย.) กรมการพัฒนาชุมชน (ข้อมูล จปฐ.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ (ข้อมูลผู้มีรายได้เฉลี่ยใต้เส้นความยากจน) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาความยากจนให้ได้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทย โดยศูนย์อำนวยการต่อสู่เพื่อเอาชนะความยากจนกรมการปกครอง (ศตจ.ปค.) ควรมีการบูรณาการข้อมูลและการดำเนินการในพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดทะเบียนเพื่อแก้ปัญหาสังคมและสังคมยากจนเชิงบูรณาการ ควรต้องครอบคลุมผู้ที่จดทะเบียนคนจนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ในจังหวัดทั้งหมด และครอบคลุมผู้ที่เป็นคนจนจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติไว้ด้วย และที่สำคัญต้องมีข้อมูลคนจนหรือครัวเรือนยากจนที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การติดตามตามมาตรการช่วยเหลือสอดคล้องกับความต้องการของคนจนและตรงกับพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้ง ควรมีการวางกรอบและแนวทางการเก็บข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนมีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างส่วนภูมิภาคกับส่วนกลางผ่านระบบ IT อย่างเป็นรูปธรรม
1.4.2 ในส่วนของโครงการที่แก้ปัญหาความยากจนไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และมีความซ้ำซ้อนในการให้ความช่วยเหลือ เป็นเพราะบางอำเภอในบางจังหวัดไม่ได้มีการคัดกรองและตัดยอดผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือแล้วออกจากกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ศูนย์อำนวยต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.ชาติ) ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กระทรวงมหาดไทย (ศตจ.มท.) และศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจน กรมการปกครอง (ศตจ.ปค.) และกรมการพัฒนาชุมชน ควรกำหนดแผนงาน/งาน/โครงการที่จะแก้ปัญหาความยากจน โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายที่มีการจดทะเบียน การแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการ หรือที่มีการสำรวจครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ไว้ โดยเลือกกิจกรรมที่ช่วยเหลือให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และหน่วยงานต่าง ๆที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนควรร่วมกันกำหนดเป้าหมาย บูรณาการแผนงาน/งาน/โครงการและแลกเปลี่ยนทรัพยากรเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งน่าจะมีผลโดยตรงที่จะลดจำนวนผู้ต้องการความช่วยเหลือหรือผู้ยากจนจากทะเบียนหรือข้อมูลที่สำรวจไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4.3 การจัดทำโครงการของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดจะมุ่งเน้นการตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัดเป็นสำคัญ ดังนั้น การที่จังหวัดพิจารณาความเชื่อมโยงโครงการเข้ากับประเด็นยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนจึงมีความเข้าใจที่แตกต่างและมีความหลากหลาย ซึ่งวิธีการพิจารณาควร Matching เป้าประสงค์ของโครงการกับเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนและอยู่ในกรอบของการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายโอกาส และกลุ่มเป้าหมายของโครงการที่เป็นผู้ที่ได้จดทะเบียนหรือผู้ที่ทางราชการได้ทำการสำรวจเป็นผู้ยากจนไว้ และเห็นสมควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) รับไปพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป
1.4.3 ปัจจัยสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความยากจน
(1) การสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่ได้ตั้งงบประมาณสนับสนุนแก้ปัญหาความยากจนในด้านที่อยู่อาศัย ด้านที่ดิน และด้านการประกอบอาชีพ ดังนั้นกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายที่ได้จดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจน (สย.)ไว้ใน 3 เรื่องดังกล่าว พร้อมกับเก็บข้อมูลไว้เพื่อใช้ติดตามและประเมินผลการให้ความช่วยเหลือต่อไป
(2) การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง มีวิวัฒนาการและมาตรฐานที่แตกต่างกัน กรอบและรูปแบบการจัดทำแผนส่วนใหญ่มีลักษณะที่เป็นแผนของทางราชการมากกว่าแผนชุมชนดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์อำนวยต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.ชาติ) และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานประสานการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองระดับจังหวัด อำเภอ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการสนับสนุน การจัดทำแผนชุมชน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของแผนชุมชนให้เป็นแผนของชุมชนอย่างแท้จริง
(3) ระบบข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะระบบ GIS (Geographic Information System) บางจังหวัดไม่ให้ความสำคัญกับการนำระบบข้อมูลสารสนเทศ GIS มาใช้กับการแก้ไขปัญหาความยากจนเท่าที่ควร และในแต่ละจังหวัดมีการจัดทำและพัฒนาระบบ GIS แตกต่างกันค่อนข้างมาก ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย จึงควรสนับสนุนให้จังหวัดเพิ่มขีดความสามารถด้านข้อมูลสารสนเทศให้มีมาตรฐานทัดเทียมกันโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ
2.1 แผนงาน/งาน/โครงการและงบประมาณที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ แผนงาน/งาน/โครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัด กระทรวง/กรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 184 โครงการ งบประมาณรวม 31,403.66 ล้านบาท และแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 1,063 โครงการ งบประมาณ รวม 4,457.91 ล้านบาท
2.2 ผลการตรวจติดตามการดำเนินงานของกระทรวงและของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี จากแผนงาน/งาน/โครงการของกระทรวง/กรุงเทพมหานคร (Function) และจากการตรวจติดตามแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด (Area) ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพ สรุปโดยรวมได้ว่า หน่วยงานส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/โครงการ สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของประเด็นยุทธศาสตร์ดังกล่าว และได้จัดทำแผนการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงให้สอดรับกับประเด็นยุทธศาสตร์ฯเพื่อการติดตามผลตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน โดยผลจากการตรวจติดตามแผนงานฯ ในช่วงที่ 1 ของผู้ตรวจราชการกระทรวงนั้น มีแนวโน้มว่าแผนงาน/งาน/โครงการของหน่วยงานที่รับการตรวจเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยมีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาคนและสังคมให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการตรวจติดตามแผนงาน/งาน/โครงการภายใต้ยุทธศาสตร์พัฒนากลุ่มจังหวัด/จังหวัด(Area) ของ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ที่พบว่าจังหวัด ได้ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพเป็นลำดับต้นด้วยเช่นเดียวกัน
2.3 ข้อสังเกตจากการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
2.3.1 การพิจารณางบประมาณโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่ตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องการพัฒนาคนและสังคมที่มีคุณภาพได้แก่ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การอนุรักษ์ สืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามและพัฒนาภูมิปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การเสริมสร้างสุขภาวะของประชาชนอย่างครบวงจรและมีคุณภาพมาตรฐาน การเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม (ข้อ ก ข ค และ ง ) กระทรวงมหาดไทยควรจะได้มอบหมายให้กลุ่มจังหวัด/จังหวัดติดตามสถานการณ์ในทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ เพื่อพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงและจัดทำแผนงาน/งาน/โครงการ ให้สามารถตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจะต้องมีการขยายผลการดำเนินงานในการพัฒนาคนและสังคมให้มีคุณภาพเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในทุกเรื่องได้ต่อไปในอนาคต
2.3.2 ในเรื่องของเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) เป็นเรื่องที่สำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนาคนและสังคมที่เน้นลงไปถึงระดับหมู่บ้าน โดยเน้นใน 3 ส่วนหลักคือ สุขภาพอนามัย การศึกษา และชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งปี พ.ศ. 2549 เป็นปีเริ่มต้น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ จึงควรให้ความสำคัญและติดตามการดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งแม้ว่าจะมีหมู่บ้านเป้าหมายที่จะสนับสนุนไม่มากนักในแต่ละจังหวัด แต่ในเรื่องเมืองไทยแข็งแรงก็ได้ถูกกำหนดไว้เป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการของจังหวัดและจะต้องมีการขยายผลต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ จากรายงานผลการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี พบว่าบางจังหวัดยังค่อนข้างมีปัญหาในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเป้าประสงค์หนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาคนฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงควรให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวด้วย
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงและสนับสนุนยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานของกระทรวงและการตรวจติดตามของผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในช่วงที่ 2 (เมษายน — กันยายน 2549) เห็นควรนำข้อมูลที่ได้รับจากกระทรวง (Function) และการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวงมาวิเคราะห์ พิจารณาจัดทำรายงานผลการตรวจติดตามภาพรวม ร่วมกับของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีในเชิงพื้นที่ (Area) ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ปัญหาอุปสรรค ข้อสังเกตข้อเสนอแนะ ระบบงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนชุมชน ความร่วมมือของ อปท. และระบบสารสนเทศ พร้อมทั้งแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงที่ 1 เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--