คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการให้สัตยาบัน (Ratification) เพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำสัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) เพื่อการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ เพื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามอบให้องค์การ UNESCO ต่อไป ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
ทั้งนี้ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนว่า สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และหลักเกณฑ์เพื่อต่อต้านการใช้สารกระตุ้นระดับโลกภายใต้กฎหมายภายในที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องออกพระราชบัญญัติใหม่หรือแก้กฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้งไม่กระทบต่อการใช้สารกระตุ้นชนิดต่าง ๆ ที่ต้องนำมาใช้ในทางการแพทย์ด้วย และหากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องใด ๆ ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า องค์การยูเนสโก ได้มีการเสนออนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับใหม่ว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา (International Convention Against Doping in Sport) โดยให้ประเทศสมาชิกพิจารณาและให้การรับรองเรื่อยมา ซึ่งในการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 33 ที่ประชุม ฯ มีมติเห็นชอบอนุสัญญา ฯ และขอให้ประเทศสมาชิกให้การรับรองอนุสัญญาฯ กระทรวงศึกษาธิการในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Secretariat of the National Commission for UNESCO) ได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทราบผลการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 33 และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แต่งตั้งคณะทำงานโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาสาระสำคัญอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบและรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา เนื่องจากมิได้มีข้อบทใดที่ขัดกับหลักกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา ซึ่งปัจจุบันได้มีระเบียบของการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการควบคุมการใช้สารต้องห้ามในกีฬา พ.ศ. 2545 บังคับใช้อยู่แล้ว รวมทั้งเห็นชอบในหลักการเรื่องกองทุนตามความสมัครใจ (Voluntary Fund) ตามมาตราที่ 17 ของอนุสัญญาฯ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะได้จัดเตรียมตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเข้ากองทุนตามความสมัครใจ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว และยังจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การยูเนสโก (UNESCO)
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญา ฯ ระบุถึงมาตรการเพื่อการควบคุมการใช้สารต้องห้ามในระดับชาติ ความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา รวมถึงกฎระเบียบและนโยบายในการสนับสนุนอนุสัญญาฯ การให้การศึกษาและฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องสารต้องห้าม มาตรการดูแลในเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (nutritional supplements) สำหรับนักกีฬาและการให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังต้องมีการติดตามผลการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ และรายงานผลต่อองค์การยูเนสโกทุก 2 ปี ตามมาตรที่ 28 ของอนุสัญญา
ซึ่งการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานด้านกีฬาของชาติให้ทัดเทียมในระดับสากล รวมถึงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในฐานะที่เป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกและคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นสมาชิกขององค์การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World-Anti Doping Agency-WADA) อยู่แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการโอลิมปิคสากล ได้มีการดำเนินการเพื่อการตรวจสอบการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา และรวมถึงการเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องสารต้องห้ามแก่นักกีฬาและบุคคลทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กรกฎาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนว่า สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ และหลักเกณฑ์เพื่อต่อต้านการใช้สารกระตุ้นระดับโลกภายใต้กฎหมายภายในที่มีอยู่ได้ โดยไม่ต้องออกพระราชบัญญัติใหม่หรือแก้กฎหมายที่มีอยู่ รวมทั้งไม่กระทบต่อการใช้สารกระตุ้นชนิดต่าง ๆ ที่ต้องนำมาใช้ในทางการแพทย์ด้วย และหากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องใด ๆ ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารายงานว่า องค์การยูเนสโก ได้มีการเสนออนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับใหม่ว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา (International Convention Against Doping in Sport) โดยให้ประเทศสมาชิกพิจารณาและให้การรับรองเรื่อยมา ซึ่งในการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 33 ที่ประชุม ฯ มีมติเห็นชอบอนุสัญญา ฯ และขอให้ประเทศสมาชิกให้การรับรองอนุสัญญาฯ กระทรวงศึกษาธิการในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (Secretariat of the National Commission for UNESCO) ได้มีหนังสือแจ้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาทราบผลการประชุมสมัยสามัญขององค์การยูเนสโก ครั้งที่ 33 และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้แต่งตั้งคณะทำงานโดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาสาระสำคัญอนุสัญญาดังกล่าวแล้ว มีมติเห็นชอบและรับรองอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา เนื่องจากมิได้มีข้อบทใดที่ขัดกับหลักกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยในการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา ซึ่งปัจจุบันได้มีระเบียบของการกีฬาแห่งประเทศไทยว่าด้วยการควบคุมการใช้สารต้องห้ามในกีฬา พ.ศ. 2545 บังคับใช้อยู่แล้ว รวมทั้งเห็นชอบในหลักการเรื่องกองทุนตามความสมัครใจ (Voluntary Fund) ตามมาตราที่ 17 ของอนุสัญญาฯ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะได้จัดเตรียมตั้งงบประมาณสำหรับเงินบริจาคเข้ากองทุนตามความสมัครใจ เนื่องจากจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในระยะยาว และยังจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยในฐานะสมาชิกองค์การยูเนสโก (UNESCO)
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญา ฯ ระบุถึงมาตรการเพื่อการควบคุมการใช้สารต้องห้ามในระดับชาติ ความร่วมมือในระดับนานาชาติเพื่อการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา รวมถึงกฎระเบียบและนโยบายในการสนับสนุนอนุสัญญาฯ การให้การศึกษาและฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องสารต้องห้าม มาตรการดูแลในเรื่องผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (nutritional supplements) สำหรับนักกีฬาและการให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกยังต้องมีการติดตามผลการดำเนินการตามอนุสัญญาฯ และรายงานผลต่อองค์การยูเนสโกทุก 2 ปี ตามมาตรที่ 28 ของอนุสัญญา
ซึ่งการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฯ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาว โดยเฉพาะเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานด้านกีฬาของชาติให้ทัดเทียมในระดับสากล รวมถึงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศในฐานะที่เป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกและคณะกรรมการโอลิมปิคสากล ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยได้เป็นสมาชิกขององค์การต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World-Anti Doping Agency-WADA) อยู่แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการโอลิมปิคสากล ได้มีการดำเนินการเพื่อการตรวจสอบการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา และรวมถึงการเผยแพร่ให้ความรู้ในเรื่องสารต้องห้ามแก่นักกีฬาและบุคคลทั่วไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 กรกฎาคม 2549--จบ--