คณะรัฐมนตรีพิจารณาการประกันภัยทรัพย์สินของรัฐตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 เรื่องการประกันภัยทรัพย์สิน
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ ดังนี้
1) ให้สถานที่ราชการภายในประเทศถือหลักประกันตนเอง เว้นแต่สถานที่ราชการที่มีคลังเก็บสิ่งของหรือโรงงานของทางราชการทั่วๆ ไป ซึ่งอาจเกิดความเสียหายมากในเมื่อเกิดอัคคีภัยให้จัดเอาประกันภัยไว้
2) ให้รัฐวิสาหกิจซึ่งมีทรัพย์สินที่อาจเกิดความเสียหายมาก ในเมื่อเกิดอัคคีภัยจัดการประกันภัยโรงงานหรือที่เก็บพัสดุของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
3) สำหรับสถานที่ราชการในต่างประเทศซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลให้ประกันได้ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
4) การประกันภัยรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ
(4.1) ให้ประกันภัยรถยนต์ส่วนกลางประจำสำนักงาน และรถยนต์ประจำตำแหน่งได้ในแบบคุ้มครองบุคคลที่ 3 หรือตามที่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนด
(4.2) กรณีมีความจำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์ส่วนกลางประจำสำนักงาน และ รถยนต์ประจำตำแหน่งแตกต่างไปจากข้อ (4.1) อันเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศนั้นไม่มีความปลอดภัย มีการปล้นจี้ โจรกรรมรถยนต์ในอัตราสูง รวมทั้งสภาพอากาศการจราจรที่ไม่เป็นระเบียบตลอดจนปัญหาการว่าจ้างพนักงานขับรถให้ประกันได้ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
(4.3) ให้สถานทูต สถานกงสุลที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีเขตแดนติดกับประเทศไทยสามารถทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยในประเทศไทย โดยคุ้มครองความเสียหายถึงประเทศที่ตั้งของสถานทูต สถานกงสุล
5) ทรัพย์สินอื่นของทางราชการให้จัดเอาประกันภัยได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
3. อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ โดยมีองค์ประกอบได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดขอบเขตการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินอื่นของทางราชการ นอกจากสถานที่ราชการและรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ พร้อมทั้งกำหนดคำนิยาม “สถานที่ราชการ” และ “ทรัพย์สินของทางราชการ”
(2) พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องที่ส่วนราชการเสนอขอจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินอื่นนอกจากสถานที่ราชการและรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ
(3) จัดให้มีการศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของทางราชการ
(4) กำหนดแผนระยะยาวในการจัดเอาประกันภัย
(5) เชิญเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิจารณาหรือชี้แจงแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นอภิปรายและมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมาย) (เดิม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
(1) การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการรถยนต์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ เป็นการป้องกันไว้ก่อนเกิดความเสียหาย จึงควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 เพื่อแก้ไขให้การประกันภัยได้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินอื่นของรัฐด้วย แต่การกำหนดมูลค่าการประกันภัยทรัพย์สินอื่นของรัฐที่มีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าค่าเบี้ยประกันภัยจะคุ้มกับความคุ้มครองที่ได้รับหรือไม่
(2) ปัจจุบันรถประจำตำแหน่งมี 3 ประเภท คือ ทางราชการจ่ายค่าตอบแทนเหมาจ่ายแก่ข้าราชการ ผู้มีสิทธิใช้รถยนต์ประจำตำแหน่ง รถเช่า และรถประจำตำแหน่ง โดยรถประจำตำแหน่งที่เป็นรถเช่า และรถที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนจะรวมเงินค่าประกันภัยไว้ด้วยแล้ว ส่วนรถประจำตำแหน่งที่เป็นรถราชการต้องประกันความเสียหายเอง ทั้งนี้ ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งส่วนใหญ่ประสงค์จะจ่ายเบี้ยประกันเอง แต่ก็มีปัญหาความไม่ต่อเนื่องของสัญญากรมธรรม์ หากผู้นั้นมีการโอนย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ กรมการประกันภัยควรจัดระบบหรือวิธีการที่ทำให้ผู้เอาประกันได้รับความคุ้มครองต่อเนื่องตลอดอายุกรมธรรม์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งได้ทำประกันเอง อีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองไปถึงพนักงานขับรถอีกด้วย
(3) รัฐควรกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการประกันชีวิตประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมการประกันภัย) ประสานกับบริษัทประกันภัย เพราะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้ไม่มีการรับประกันชีวิตและทรัพย์สินแก่คนในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง และบริษัทประกันภัยในต่างประเทศที่รับช่วงประกันต่อจะไม่คุ้มครองกรณีการก่อการร้าย ทำให้คนในพื้นที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ โดยขอเจรจาให้บริษัทประกันยินยอมรับภาระบางประการในค่าพรีเมียมในส่วนที่บริษัทประกันไม่อาจส่งต่อได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 เรื่องการประกันภัยทรัพย์สิน
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ ดังนี้
1) ให้สถานที่ราชการภายในประเทศถือหลักประกันตนเอง เว้นแต่สถานที่ราชการที่มีคลังเก็บสิ่งของหรือโรงงานของทางราชการทั่วๆ ไป ซึ่งอาจเกิดความเสียหายมากในเมื่อเกิดอัคคีภัยให้จัดเอาประกันภัยไว้
2) ให้รัฐวิสาหกิจซึ่งมีทรัพย์สินที่อาจเกิดความเสียหายมาก ในเมื่อเกิดอัคคีภัยจัดการประกันภัยโรงงานหรือที่เก็บพัสดุของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
3) สำหรับสถานที่ราชการในต่างประเทศซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลให้ประกันได้ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
4) การประกันภัยรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ
(4.1) ให้ประกันภัยรถยนต์ส่วนกลางประจำสำนักงาน และรถยนต์ประจำตำแหน่งได้ในแบบคุ้มครองบุคคลที่ 3 หรือตามที่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนด
(4.2) กรณีมีความจำเป็นต้องทำประกันภัยรถยนต์ส่วนกลางประจำสำนักงาน และ รถยนต์ประจำตำแหน่งแตกต่างไปจากข้อ (4.1) อันเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศนั้นไม่มีความปลอดภัย มีการปล้นจี้ โจรกรรมรถยนต์ในอัตราสูง รวมทั้งสภาพอากาศการจราจรที่ไม่เป็นระเบียบตลอดจนปัญหาการว่าจ้างพนักงานขับรถให้ประกันได้ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
(4.3) ให้สถานทูต สถานกงสุลที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีเขตแดนติดกับประเทศไทยสามารถทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทประกันภัยในประเทศไทย โดยคุ้มครองความเสียหายถึงประเทศที่ตั้งของสถานทูต สถานกงสุล
5) ทรัพย์สินอื่นของทางราชการให้จัดเอาประกันภัยได้ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
3. อนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ โดยมีองค์ประกอบได้แก่ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ส่วนกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) กำหนดขอบเขตการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินอื่นของทางราชการ นอกจากสถานที่ราชการและรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ พร้อมทั้งกำหนดคำนิยาม “สถานที่ราชการ” และ “ทรัพย์สินของทางราชการ”
(2) พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องที่ส่วนราชการเสนอขอจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินอื่นนอกจากสถานที่ราชการและรถยนต์ราชการของสำนักงานในต่างประเทศ
(3) จัดให้มีการศึกษาข้อดี-ข้อเสียของการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของทางราชการ
(4) กำหนดแผนระยะยาวในการจัดเอาประกันภัย
(5) เชิญเจ้าหน้าที่เจ้าของเรื่องและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพิจารณาหรือชี้แจงแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการจัดเอาประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ
ทั้งนี้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นอภิปรายและมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมาย) (เดิม) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
(1) การประกันภัยทรัพย์สินของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการรถยนต์หรือทรัพย์สินอื่น ๆ เป็นการป้องกันไว้ก่อนเกิดความเสียหาย จึงควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 และวันที่ 5 สิงหาคม 2540 เพื่อแก้ไขให้การประกันภัยได้ครอบคลุมถึงทรัพย์สินอื่นของรัฐด้วย แต่การกำหนดมูลค่าการประกันภัยทรัพย์สินอื่นของรัฐที่มีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าค่าเบี้ยประกันภัยจะคุ้มกับความคุ้มครองที่ได้รับหรือไม่
(2) ปัจจุบันรถประจำตำแหน่งมี 3 ประเภท คือ ทางราชการจ่ายค่าตอบแทนเหมาจ่ายแก่ข้าราชการ ผู้มีสิทธิใช้รถยนต์ประจำตำแหน่ง รถเช่า และรถประจำตำแหน่ง โดยรถประจำตำแหน่งที่เป็นรถเช่า และรถที่จ่ายเป็นค่าตอบแทนจะรวมเงินค่าประกันภัยไว้ด้วยแล้ว ส่วนรถประจำตำแหน่งที่เป็นรถราชการต้องประกันความเสียหายเอง ทั้งนี้ ผู้ใช้รถประจำตำแหน่งส่วนใหญ่ประสงค์จะจ่ายเบี้ยประกันเอง แต่ก็มีปัญหาความไม่ต่อเนื่องของสัญญากรมธรรม์ หากผู้นั้นมีการโอนย้ายไปรับตำแหน่งใหม่ กรมการประกันภัยควรจัดระบบหรือวิธีการที่ทำให้ผู้เอาประกันได้รับความคุ้มครองต่อเนื่องตลอดอายุกรมธรรม์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งได้ทำประกันเอง อีกทั้งยังเป็นการคุ้มครองไปถึงพนักงานขับรถอีกด้วย
(3) รัฐควรกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการประกันชีวิตประชาชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้กระทรวงพาณิชย์ (กรมการประกันภัย) ประสานกับบริษัทประกันภัย เพราะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้ไม่มีการรับประกันชีวิตและทรัพย์สินแก่คนในพื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง และบริษัทประกันภัยในต่างประเทศที่รับช่วงประกันต่อจะไม่คุ้มครองกรณีการก่อการร้าย ทำให้คนในพื้นที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ โดยขอเจรจาให้บริษัทประกันยินยอมรับภาระบางประการในค่าพรีเมียมในส่วนที่บริษัทประกันไม่อาจส่งต่อได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--