คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานผลการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่ง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เพื่อเป็นการเตรียมแผนงานและมาตรการในการรองรับข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน และให้มีการนำมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งไปใช้เป็นยุทธศาสตร์ให้ทุกภาคส่วนร่วมในทางปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ
- ลดพื้นที่ไฟไหม้ป่าให้เหลือพียงไม่เกินปีละ 300,000 ไร่
- จัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรทดแทนการเผาในพื้นที่อย่างน้อย 600,000 ไร่ ภายในปี 2550
- นำเอาเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรมาใช้เป็นพลังงานชีวมวล ทดแทนการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ คิดเป็นร้อยละ 21 และ 25 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2549 และ ปี 2554 ตามลำดับ
- ลดการเผาขยะมูลฝอยในที่โล่งโดยจัดให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิธีและปลอดภัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัดทั้งหมด และมีการใช้ประโยชน์มูลฝอยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปี 2549
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง (พ.ศ. 2547-2551) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2547 โดยแผนปฏิบัติการประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การรองรับข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน 2) การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร 3) การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 4) การจัดการไฟป่า 5) การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน 6) การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์และ 7) การใช้มาตรการทางด้านกฎหมาย วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 4,928.42 ล้านบาท
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมประชุมหารือเรื่องการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่ง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 เพื่อปรับปรุงแผนงานและแนวทางการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เร่งรัดการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง
- ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และจังหวัด บรรจุมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งในแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ที่จะต้องมีการดำเนินงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
- ให้ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเตรียมความพร้อมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำนโยบายและมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งไปใช้ในทางปฏิบัติ ให้สามารถจัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้ตามเป้าหมายตามที่กำหนดในแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง
2.2 ให้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายของแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่งให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงพลังงาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 คือ เพิ่มการใช้พลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2545 เป็นร้อยละ 8 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554 ทั้งนี้ การพิจารณาใช้ประโยชน์ชีวมวลในส่วนของเศษวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม เห็นควรให้ใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปส่งเสริมในการผลิตพลังงานชีวมวล
2.3 ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา โดยปรับแผนการดำเนินงานยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร โครงการสร้างเครือข่ายการเกษตรปลอดการเผา จากเดิมที่กำหนดให้ภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดเตรียมเครื่องจักรอุปกรณ์การเกษตรปลอดการเผาให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 12 จังหวัด จำนวน 76 กลุ่ม ภายในปี 2548-2551 เปลี่ยนเป็นกำหนดแผนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเกษตรกร ปลอดการเผาในพื้นที่เป้าหมาย 12 จังหวัด จำนวน 100 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 600,000 ไร่ ภายในปี 2549-2551 จำนวน 24,30 และ 46 กลุ่ม ตามลำดับ โดยจัดให้มีศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผาให้บริการไถกลบตอซังฟางข้าว ดังนี้
- ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาจัดสรรงบประมาณปี 2549 จำนวน 5.0 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการและการจัดเตรียมความพร้อมของเกษตรกรในการบริหารจัดการศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา ในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานได้ ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม
- ให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรนิติบุคคล ในปี 2549-2551 เพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ไถกลบตอซังที่มีประสิทธิภาพ วงเงินงบประมาณ 2.92 ล้านบาท/กลุ่ม โดยผนวกเข้าไว้ในโครงการบริการเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานของกระทรวงเกษตรฯ ในกรณีไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการจัดให้มีเครื่องจักรอุปกรณ์ตามที่กำหนดไว้ ให้พิจารณามาตรการสำรองในการสนับสนุนงบประมาณ โดยรัฐอาจต้องสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งเครือข่ายการเกษตรปลอดการเผา หรือขอรับการสนับสนุนจากเงินกองทุนที่เกี่ยวข้อง
2.4 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับแผนงานและมาตรการในการรองรับนโยบายการห้ามเผาในที่โล่งภายใต้คณะกรรมการควบคุมมลพิษ นำข้อสังเกตอื่น ๆ ของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการ รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่อไปนี้
- การแก้ไขปัญหาการเผาไร่อ้อย โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการใบอ้อย หรือส่งเสริมให้มีการเก็บรวบรวมเพื่อนำไปใช้ในการผลิตพลังงานชีวมวล
- การเผาพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่สูงอาจส่งผลกระทบให้เกิดไฟป่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เพื่อเป็นการเตรียมแผนงานและมาตรการในการรองรับข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน และให้มีการนำมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งไปใช้เป็นยุทธศาสตร์ให้ทุกภาคส่วนร่วมในทางปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายหลัก คือ
- ลดพื้นที่ไฟไหม้ป่าให้เหลือพียงไม่เกินปีละ 300,000 ไร่
- จัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรทดแทนการเผาในพื้นที่อย่างน้อย 600,000 ไร่ ภายในปี 2550
- นำเอาเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรมาใช้เป็นพลังงานชีวมวล ทดแทนการใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ คิดเป็นร้อยละ 21 และ 25 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2549 และ ปี 2554 ตามลำดับ
- ลดการเผาขยะมูลฝอยในที่โล่งโดยจัดให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักวิธีและปลอดภัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัดทั้งหมด และมีการใช้ประโยชน์มูลฝอยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปี 2549
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมควบคุมมลพิษ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง (พ.ศ. 2547-2551) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2547 โดยแผนปฏิบัติการประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม ภายใต้ 7 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) การรองรับข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน 2) การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร 3) การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน 4) การจัดการไฟป่า 5) การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน 6) การส่งเสริมและประชาสัมพันธ์และ 7) การใช้มาตรการทางด้านกฎหมาย วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 4,928.42 ล้านบาท
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมประชุมหารือเรื่องการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่ง เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 เพื่อปรับปรุงแผนงานและแนวทางการดำเนินมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เร่งรัดการดำเนินงาน ดังนี้
2.1 การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง
- ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และจังหวัด บรรจุมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งในแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน ที่จะต้องมีการดำเนินงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
- ให้ กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเตรียมความพร้อมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการนำนโยบายและมาตรการควบคุมการเผาในที่โล่งไปใช้ในทางปฏิบัติ ให้สามารถจัดการขยะมูลฝอยชุมชนได้ตามเป้าหมายตามที่กำหนดในแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่ง
2.2 ให้ปรับเปลี่ยนเป้าหมายของแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการควบคุมการเผาในที่โล่งให้สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงพลังงาน ยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 คือ เพิ่มการใช้พลังงานทดแทนจากร้อยละ 0.5 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2545 เป็นร้อยละ 8 ของความต้องการใช้พลังงานในปี 2554 ทั้งนี้ การพิจารณาใช้ประโยชน์ชีวมวลในส่วนของเศษวัสดุเหลือใช้ในพื้นที่เกษตรกรรม เห็นควรให้ใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตรก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปส่งเสริมในการผลิตพลังงานชีวมวล
2.3 ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา โดยปรับแผนการดำเนินงานยุทธศาสตร์ที่ 2 การจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร โครงการสร้างเครือข่ายการเกษตรปลอดการเผา จากเดิมที่กำหนดให้ภาครัฐให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดเตรียมเครื่องจักรอุปกรณ์การเกษตรปลอดการเผาให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ 12 จังหวัด จำนวน 76 กลุ่ม ภายในปี 2548-2551 เปลี่ยนเป็นกำหนดแผนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเกษตรกร ปลอดการเผาในพื้นที่เป้าหมาย 12 จังหวัด จำนวน 100 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่การเกษตร 600,000 ไร่ ภายในปี 2549-2551 จำนวน 24,30 และ 46 กลุ่ม ตามลำดับ โดยจัดให้มีศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผาให้บริการไถกลบตอซังฟางข้าว ดังนี้
- ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาจัดสรรงบประมาณปี 2549 จำนวน 5.0 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการและการจัดเตรียมความพร้อมของเกษตรกรในการบริหารจัดการศูนย์เครื่องจักรกลการเกษตรปลอดการเผา ในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานได้ ให้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม
- ให้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรนิติบุคคล ในปี 2549-2551 เพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องจักรอุปกรณ์ไถกลบตอซังที่มีประสิทธิภาพ วงเงินงบประมาณ 2.92 ล้านบาท/กลุ่ม โดยผนวกเข้าไว้ในโครงการบริการเครื่องจักรกลขั้นพื้นฐานของกระทรวงเกษตรฯ ในกรณีไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการจัดให้มีเครื่องจักรอุปกรณ์ตามที่กำหนดไว้ ให้พิจารณามาตรการสำรองในการสนับสนุนงบประมาณ โดยรัฐอาจต้องสนับสนุนงบประมาณในการจัดตั้งเครือข่ายการเกษตรปลอดการเผา หรือขอรับการสนับสนุนจากเงินกองทุนที่เกี่ยวข้อง
2.4 มอบหมายให้คณะอนุกรรมการกำกับแผนงานและมาตรการในการรองรับนโยบายการห้ามเผาในที่โล่งภายใต้คณะกรรมการควบคุมมลพิษ นำข้อสังเกตอื่น ๆ ของที่ประชุมไปพิจารณาดำเนินการ รวมถึงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่อไปนี้
- การแก้ไขปัญหาการเผาไร่อ้อย โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการใบอ้อย หรือส่งเสริมให้มีการเก็บรวบรวมเพื่อนำไปใช้ในการผลิตพลังงานชีวมวล
- การเผาพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่สูงอาจส่งผลกระทบให้เกิดไฟป่า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 กรกฎาคม 2548--จบ--