แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำนักงานอัยการสูงสุด
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะเจรจาข้อตกลงและการประเมินการพัฒนากฎหมายของส่วนราชการ คณะที่ 9 ไปพิจารณาด้วย แล้วให้นำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการถามปากคำ การสืบพยานและการชี้ตัวผู้ต้องหาของผู้เสียหายหรือพยานเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี รวมถึงการถามคำให้การผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการอยู่ร่วมด้วย โดยมุ่งหมายมิให้เด็กได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและสภาวะทางจิตใจจากกระบวนการยุติธรรม แต่เนื่องจากการที่มิได้จำกัดประเภทคดีที่มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษอย่างแท้จริงและสภาวการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้กระบวนการดังกล่าวเป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินคดีมิให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วประกอบกับการถามซ้ำซ้อนในแต่ละขั้นตอน ทำให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมเกินสมควร ไม่สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่า ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการถามปากคำ การสืบพยานและการชี้ตัวผู้ต้องหาของผู้เสียหายหรือพยานเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี รวมถึงการถามคำให้การผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการอยู่ร่วมด้วย โดยมุ่งหมายมิให้เด็กได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและสภาวะทางจิตใจจากกระบวนการยุติธรรม แต่เนื่องจากการที่มิได้จำกัดประเภทคดีที่มีความจำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษอย่างแท้จริงและสภาวการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้กระบวนการดังกล่าวเป็นปัญหาอุปสรรคในการดำเนินคดีมิให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วประกอบกับการถามซ้ำซ้อนในแต่ละขั้นตอน ทำให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรมเกินสมควร ไม่สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ธันวาคม 2549--จบ--