คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการรายงานการดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 สรุปได้ดังนี้
1. กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะเร่งรัดพัฒนาการศึกษา โดยให้ความสำคัญแก่การยกระดับคุณภาพของครูเพื่อเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ และหามาตรการจูงใจให้คนเก่งคนดีเข้ามาประกอบอาชีพครูและรักษาไว้ให้ได้ในระบบ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิรูปครูอย่างครบวงจร ซึ่งมีการประกาศใช้ไปแล้ว 4 ฉบับ ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 2. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 3. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 4. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2547
2. กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์และยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับแล้ว มีผลการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การพัฒนาระบบกระบวนการผลิตครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมที่จะเป็นวิชาชีพระดับสูง ได้ปรับหลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ 5 ปี เพื่อให้มีการปฏิบัติจริงอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนสำเร็จการศึกษา ในขณะเดียวกันได้สนับสนุนให้ผู้สำเร็จปริญญาอื่นให้เข้าสู่อาชีพครูด้วยระบบเทียบโอนรับรองความรู้และการอบรมเพิ่มเติม
2.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พร้อมวางระบบกำกับออก และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพข้าราชการครูที่เป็นครูก่อนพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลใช้บังคับ จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่จะต้องได้รับการประเมินเพื่อต่ออายุทุก 5 ปี
2.3 การกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ เพื่อจูงใจให้ครูที่มีคุณภาพดำรงอยู่ในวิชาชีพครูและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูได้กำหนดแนวทางให้ครูสามารถรับการประเมินวิทยฐานะเพื่อเลื่อนจากครูสู่ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้รับเงินวิทยฐานะเพิ่มเติมจากเงินเดือน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จึงได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและวิทยฐานะให้สัมพันธ์กับสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนและผลที่เกิดขึ้นจริง นับตั้งแต่การประกาศพระราชบัญญัติฯ ในปี 2547 ก.ค.ศ. ได้พัฒนาหลักเกณฑ์และเริ่มประเมินเฉพาะผู้เกษียณอายุ 1,532 คน ในปี 2548 ต่อมาในปี 2549 จึงได้เริ่มประเมินครูที่มีคุณสมบัติครบองค์ประกอบตามเกณฑ์ 3 ประการ คือ ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง เงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่กำหนดในแต่ละวิทยฐานะ และผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งนั้นย้อนหลัง 2 ปี ติดต่อกัน โดยให้ยื่นขอรับการประเมินระหว่างเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งมีครูที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดเข้ารับการประเมิน จำนวน 329,669 คน หรือร้อยละ 72.28 ของครูทั้งหมด ส่วนครูที่ไม่ผ่านการประเมินจะได้รับการพัฒนาอบรมเพื่อให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป
2.4 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ปรับระบบให้การพัฒนาครูมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานตำแหน่งวิทยฐานะ โดยมีการกำหนดสมรรถนะหลักในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกันได้จัดให้มีสถาบันพัฒนาข้าราชการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นองค์กรกลางในการพัฒนาคุณภาพ มีการประเมินสมรรถนะครูเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเป็นรายบุคคล ตลอดจนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์พัฒนาครูในสาขาที่ขาดแคลน แม้จะยังไม่มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แต่ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมไปสู่สถานศึกษามากขึ้นส่งผลให้มีข้าราชการครูได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ซึ่งในระหว่างปี 2547-2548 มีครูได้รับการอบรมในกลุ่มสาระที่สำคัญ ดังนี้
2.4.1 ภาษาอังกฤษ จำนวน 85,337 คน หรือร้อยละ 74.89 ของครูทั้งหมด
2.4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 466,000 คน หรือร้อยละ 78 ของครู ทั้งหมด
2.4.3 วิทยาศาสตร์ จำนวน 41,088 คน หรือร้อยละ 9.01 ของครูทั้งหมด
2.5 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อรับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครู และได้เร่งรัดดูแลเรื่องปัญหาหนี้สินเป็นกรณีพิเศษ เริ่มจากการเชิญชวนให้ครูผู้มีหนี้สินให้มาลงทะเบียน ซึ่งมีผู้มาลงทะเบียนแล้วจำนวน 106,144 คน จำนวนหนี้สินรวม 116,700,433,565 บาท ร่วมมือกับสถาบันการเงินปรับปรุงและขยายโครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้มีครูได้รับการดูแลไปแล้วจำนวน 206,480 คน เป็นเงิน 69,249,758,118 บาท และได้เสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อคณะรัฐมนตรี
2.6 การพัฒนาระบบบริหารบุคลากร และการกระจายอำนาจไปสู่องค์คณะบุคคลในระดับเขตพื้นที่ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาและในส่วนราชการที่ไม่ได้สังกัดเขตพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 181 คณะ การดำเนินงานในช่วงแรกยังมีปัญหาข้อจำกัดบางประการที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ดำเนินการกำกับตรวจสอบ ติดตาม ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรดังกล่าวเพื่อให้มีมาตรฐานการบริหารงานบุคคลเป็นแนวทางเดียวกัน
2.7 เพื่อให้การบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก.ค.ศ. จึงได้ดำเนินการออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้กฎ ก.ค.ศ. ที่ประกาศใช้บังคับแล้ว จำนวน 2 ฉบับ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จำนวน 10 ฉบับ อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ ก.ค.ศ. จำนวน 7 ฉบับ รวมทั้งระเบียบที่ประกาศใช้บังคับแล้วรวมจำนวน 4 ระเบียบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
1. กระทรวงศึกษาธิการรายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะเร่งรัดพัฒนาการศึกษา โดยให้ความสำคัญแก่การยกระดับคุณภาพของครูเพื่อเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพ และหามาตรการจูงใจให้คนเก่งคนดีเข้ามาประกอบอาชีพครูและรักษาไว้ให้ได้ในระบบ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิรูปครูอย่างครบวงจร ซึ่งมีการประกาศใช้ไปแล้ว 4 ฉบับ ได้แก่ 1. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 2. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 3. พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 4. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2547
2. กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์และยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับแล้ว มีผลการดำเนินการ ดังนี้
2.1 การพัฒนาระบบกระบวนการผลิตครูให้มีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมที่จะเป็นวิชาชีพระดับสูง ได้ปรับหลักสูตรครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ 5 ปี เพื่อให้มีการปฏิบัติจริงอย่างน้อยหนึ่งปีก่อนสำเร็จการศึกษา ในขณะเดียวกันได้สนับสนุนให้ผู้สำเร็จปริญญาอื่นให้เข้าสู่อาชีพครูด้วยระบบเทียบโอนรับรองความรู้และการอบรมเพิ่มเติม
2.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พร้อมวางระบบกำกับออก และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพข้าราชการครูที่เป็นครูก่อนพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มีผลใช้บังคับ จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่จะต้องได้รับการประเมินเพื่อต่ออายุทุก 5 ปี
2.3 การกำหนดตำแหน่งและวิทยฐานะ เพื่อจูงใจให้ครูที่มีคุณภาพดำรงอยู่ในวิชาชีพครูและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูได้กำหนดแนวทางให้ครูสามารถรับการประเมินวิทยฐานะเพื่อเลื่อนจากครูสู่ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญและครูเชี่ยวชาญพิเศษ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสได้รับเงินวิทยฐานะเพิ่มเติมจากเงินเดือน คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จึงได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและวิทยฐานะให้สัมพันธ์กับสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนและผลที่เกิดขึ้นจริง นับตั้งแต่การประกาศพระราชบัญญัติฯ ในปี 2547 ก.ค.ศ. ได้พัฒนาหลักเกณฑ์และเริ่มประเมินเฉพาะผู้เกษียณอายุ 1,532 คน ในปี 2548 ต่อมาในปี 2549 จึงได้เริ่มประเมินครูที่มีคุณสมบัติครบองค์ประกอบตามเกณฑ์ 3 ประการ คือ ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง เงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำของอันดับที่กำหนดในแต่ละวิทยฐานะ และผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบในตำแหน่งนั้นย้อนหลัง 2 ปี ติดต่อกัน โดยให้ยื่นขอรับการประเมินระหว่างเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งมีครูที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดเข้ารับการประเมิน จำนวน 329,669 คน หรือร้อยละ 72.28 ของครูทั้งหมด ส่วนครูที่ไม่ผ่านการประเมินจะได้รับการพัฒนาอบรมเพื่อให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์ที่กำหนดต่อไป
2.4 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ปรับระบบให้การพัฒนาครูมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานตำแหน่งวิทยฐานะ โดยมีการกำหนดสมรรถนะหลักในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกันได้จัดให้มีสถาบันพัฒนาข้าราชการครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเป็นองค์กรกลางในการพัฒนาคุณภาพ มีการประเมินสมรรถนะครูเพื่อจัดทำแผนพัฒนาเป็นรายบุคคล ตลอดจนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์พัฒนาครูในสาขาที่ขาดแคลน แม้จะยังไม่มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อพัฒนาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แต่ด้วยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดสถาบันการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมไปสู่สถานศึกษามากขึ้นส่งผลให้มีข้าราชการครูได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง ซึ่งในระหว่างปี 2547-2548 มีครูได้รับการอบรมในกลุ่มสาระที่สำคัญ ดังนี้
2.4.1 ภาษาอังกฤษ จำนวน 85,337 คน หรือร้อยละ 74.89 ของครูทั้งหมด
2.4.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 466,000 คน หรือร้อยละ 78 ของครู ทั้งหมด
2.4.3 วิทยาศาสตร์ จำนวน 41,088 คน หรือร้อยละ 9.01 ของครูทั้งหมด
2.5 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ได้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อรับผิดชอบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครู และได้เร่งรัดดูแลเรื่องปัญหาหนี้สินเป็นกรณีพิเศษ เริ่มจากการเชิญชวนให้ครูผู้มีหนี้สินให้มาลงทะเบียน ซึ่งมีผู้มาลงทะเบียนแล้วจำนวน 106,144 คน จำนวนหนี้สินรวม 116,700,433,565 บาท ร่วมมือกับสถาบันการเงินปรับปรุงและขยายโครงการที่จะช่วยแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่งผลให้มีครูได้รับการดูแลไปแล้วจำนวน 206,480 คน เป็นเงิน 69,249,758,118 บาท และได้เสนอแผนยุทธศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนต่อคณะรัฐมนตรี
2.6 การพัฒนาระบบบริหารบุคลากร และการกระจายอำนาจไปสู่องค์คณะบุคคลในระดับเขตพื้นที่ ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาและในส่วนราชการที่ไม่ได้สังกัดเขตพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 181 คณะ การดำเนินงานในช่วงแรกยังมีปัญหาข้อจำกัดบางประการที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ดำเนินการกำกับตรวจสอบ ติดตาม ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรดังกล่าวเพื่อให้มีมาตรฐานการบริหารงานบุคคลเป็นแนวทางเดียวกัน
2.7 เพื่อให้การบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก.ค.ศ. จึงได้ดำเนินการออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้กฎ ก.ค.ศ. ที่ประกาศใช้บังคับแล้ว จำนวน 2 ฉบับ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จำนวน 10 ฉบับ อยู่ในระหว่างการดำเนินการของ ก.ค.ศ. จำนวน 7 ฉบับ รวมทั้งระเบียบที่ประกาศใช้บังคับแล้วรวมจำนวน 4 ระเบียบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--