เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชน
และครอบครัว พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่น
ของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะ เดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงาน ศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้สำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการตามความเห็นสำนักงบประมาณด้วย
ข้อเท็จจริง
1. สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอว่า อัตราค่าป่วยการของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการของผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2532 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ได้ใช้มาจนกระทั่งได้มีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 โดยมิได้มีการแก้ไขให้เหมาะสมกับภาวะในปัจจุบัน
2. อัตราค่าป่วยการของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน พ.ศ. 2532 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 ได้ใช้มาเป็นเวลานานแล้วด้วย
ดังนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานภาพของตำแหน่งและภาวะทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงอัตราค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวและ ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว รวม 2 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่น ของผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ....
1.1 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการของผู้พิพากษาสมทบศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2532 (ร่างมาตรา 3)
1.2 กำหนดให้ผู้พิพากษาสมทบศาลเยาวชนและครอบครัวได้รับค่าป่วยการ กับค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พักและค่าเบี้ยเลี้ยงเพิ่ม กรณีปฏิบัติงานภายในและภายนอกศาลเยาวชนและครอบครัว ดังนี้
สถานที่ปฏิบัติงาน ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง/ค่าเช่าที่พัก/ค่าเบี้ยเลี้ยง (อัตรา/วัน/บาท) เดินทาง (อัตรา) กรณีปฏิบัติงานภายใน 1,000 บาท - ศาลเยาวชนและครอบครัว (เดิมได้รับ 500 บาท) กรณีปฏิบัติงานภายนอก 1,000 บาท เท่ากับผู้พิพากษาชั้น 2 ของศาลเยาวชนและ ศาลเยาวชนและครอบครัว ครอบครัวที่ผู้พิพากษาสมทบนั้นประจำอยู่
(เดิมไม่ได้กำหนดไว้) (ร่างมาตรา 4 และ 5)
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน พ.ศ. ....
2.1 ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าตอบแทนอย่างอื่นของผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงาน พ.ศ. 2532 (ร่างมาตรา 3)
2.2 กำหนดให้ผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานได้รับค่าป่วยการ กับค่าพาหนะเดินทาง ค่าเช่าที่พักและค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง กรณีปฏิบัติงานภายในและภายนอกศาลแรงงาน ดังนี้
สถานที่ปฏิบัติงาน ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง/ค่าเช่าที่พัก/ค่าเบี้ยเลี้ยง (อัตรา/วัน/บาท) เดินทาง (อัตรา) กรณีปฏิบัติงานภายใน 1,000 บาท - ศาลแรงงาน (เดิมได้รับ 500 บาท) กรณีปฏิบัติงานภายนอก 1,000 บาท เท่ากับผู้พิพากษาชั้น 2 ของศาลแรงงาน ศาลแรงงาน ที่ผู้พิพากษาสมทบนั้นประจำอยู่
(เดิมได้รับเท่ากับผู้พิพากษาศาลแรงงาน) (ร่างมาตรา 4 และ 5)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2552 --จบ--