รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 27

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 6, 2009 15:41 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในระหว่างวันที่ 27-30 กรกฎาคม 2552 ณ เมืองมัณฑะเลย์ สหภาพพม่า

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 27-30 กรกฎาคม 2552 ณ เมืองมัณฑะเลย์ สหภาพพม่า ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้

1. การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน (ASEAN Minister on Energy Meeting — AMEM) ครั้งที่ 27

ที่ประชุมฯ ได้ขอบคุณประเทศไทยในฐานะประธานการประชุมต่าง ๆ และ ในผลสำเร็จในการดำเนินงานภายใต้กรอบอาเซียนในปีที่ผ่านมา รวมทั้งเห็นชอบแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังans ASEAN Gas Pipeline) 3) ถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Coal and Clean Coal Technology) 4) พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 5) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency and Conservation) 6) นโยบายและแผนพลังงานอาเซียน (Regional Policy and Planning) 7) พลังงานนิวเคลียร์สำหรับพลเรือน (Civilian Nuclear Energy)

ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าว จะมีกรอบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานมากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 5 ปีข้างหน้า และจะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาแหล่งก๊าซนาทูน่า ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานในอาเซียนในอนาคต

อนึ่ง APAEC 2010-2015 จะมีเป้าหมายหลักอยู่ 4 ประการ ดังนี้ คือ 1) ลดการใช้พลังงานต่อ GDP ของภูมิภาค (Regional Energy Intensity) ลงอย่างน้อย 8% ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า 2) ให้มีการใช้พลังงานทดแทนในสัดส่วนอย่างน้อย 15% 3) ผลักดันอาเซียนให้เป็น Asia’s Biofuels Hub และ 4) ผลักดันการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยจะมีการนำระบบการประเมินผล ASEAN Economic Community Scorecard มาใช้ในการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานเป็นครั้งแรก รวมทั้งให้มีการจัดทำ Mid-Term Review เพื่อติดตามความก้าวหน้าของแผนงานต่างๆ อีกทั้ง ที่ประชุมยังรับหลักการที่จะให้มีการพัฒนา ASEAN Coal Security Agreement (ACSA) เพื่อช่วยเหลือประเทศอาเซียนด้วยกันในยามที่อาจเกิดการขาดแคลนถ่านหินในอนาคต

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังให้ความสำคัญกับกรอบความร่วมมือระหว่าง ASEAN และประเทศพันธมิตร ประกอบด้วย

ก) กรอบความร่วมมือ ASEAN-EU ซึ่งมุ่งเน้นแผนงานในปี 2553 เกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เชื้อเพลิงชีวภาพ รวมทั้งความมั่นคงด้านพลังงานและกรอบการลงทุนซึ่งสหภาพยุโรปจะสามารถแบ่งปันประสบการณ์ เทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน ตลอดจนการบริหารและจัดการด้านตลาดพลังงานให้แก่ ภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งจะเป็นตลาดนำเข้าไบโอดีเซลที่สำคัญในอนาคต

ข) กรอบความร่วมมือ ASEAN-GCC (Gulf Cooperation Council) ซึ่งได้ ลงนามเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ระหว่างอาเซียนและ GCC ซึ่งที่ประชุมฯขอให้ประเทศสมาชิกเสนอโครงการความร่วมมือ ASEAN-GCC ด้านพลังงานภายใต้แผนงาน 2 ปี ในโอกาสนี้ ประเทศไทย ได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมหารือ ASEAN-OPEC Dialogue ภายใต้กรอบดังกล่าวด้วย โดยที่อาเซียนมีความสนใจในเรื่องแหล่งพลังงานปิโตรเลียมของ GCC และ GCC สนใจการพัฒนาพลังงานทดแทนของอาเซียน

ค) ที่ประชุมฯ รับทราบเกี่ยวกับมติของประเทศสมาชิกอาเซียนในการสนับสนุนให้ประเทศสหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์ (UAE) ณ เมืองอาบูดาบี เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์การ IRENA (International Renewable Energy Agency) ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อดูแลงานด้านพลังงานทดแทน โดย UAE มีแผนจะพัฒนาเมืองอาบูดาบีให้เป็นเมือง พลังงานแสงอาทิตย์

2. การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน+3 (AMEM+3) ครั้งที่ 6

ที่ประชุมฯ ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 13 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีและ ญี่ปุ่น โดยที่ประชุมฯ ได้เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกที่มากขึ้นและอย่างบูรณาการทางความมั่นคงด้านพลังงาน ตลาดน้ำมัน การสำรองน้ำมัน พลังงานทดแทนก๊าซธรรมชาติ กลไกการพัฒนาที่สะอาด และพลังงานนิวเคลียร์

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังรับทราบความคืบหน้าการศึกษาเรื่อง Oil stockpiling Roadmap ซึ่งพบว่าประเทศอาเซียน+3 ยังมีความพร้อมไม่เท่ากัน โดยการศึกษาได้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มประเทศที่มีการกำหนด เป้าหมายชัดเจน มีโครงสร้างพื้นฐานตามกฎหมายพอสมควร ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และ กลุ่มประเทศที่ยังไม่มีเป้าหมายชัดเจน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ และจีน ทั้งนี้ Oil stockpiling Roadmap จะมีการประชุมต่อไปอีก 2 ครั้ง ในปีหน้า

3. การประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานเอเชียตะวันออก (EAS Energy Minister Meeting : EAS EMM) ครั้งที่ 3

ที่ประชุมฯ ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 16 ประเทศ ได้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสาธารณรัฐอินเดีย โดยที่ประชุมฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการหารือมากขึ้นระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงาน เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตทางด้านการเงินโลกและการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน รวมทั้งให้ความสำคัญที่จะให้มีความร่วมมือกันมากขึ้นและจริงจังในระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับการส่งเสริมการค้า การลงทุน ตลาดพลังงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านพลังงาน เพื่อมุ่งไปสู่ความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตสำหรับภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานใน 3 สาขาได้แก่ ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงาน การบูรณาการด้านตลาดพลังงาน และไบโอดีเซลเพื่อการขนส่งและวัตถุประสงค์อื่นๆ อาทิ การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการค้าไบโอดีเซลระหว่างประเทศ (Biodiesel Fuel Trade Handbook)

4. รางวัล ASEAN Energy Awards

รางวัล ASEAN Energy Awards จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีควบคู่กับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน พลังงานดังกล่าว เพื่อเป็นกำลังใจและกระตุ้นการพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มประเทศสมาชิก อาเซียน โดยในปี 2552 ประเทศไทยได้รับรางวัลมากที่สุดโดยมีบริษัทเอกชนไทยได้รางวัล 6 บริษัท ประกอบด้วย

1) รางวัลชนะเลิศสาขาการประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมดีเด่น (Energy Management for Industry) — Thai Cold Rolled Steel Sheet Public Company ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์สามารถลดการใช้พลังงานได้ 8% คิดเป็นมูลค่า 32 ล้านบาทในช่วง 2549-2551

2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมดีเด่น (Energy Management for Industry) — บริษัทไทยเซรามิค จ.สระบุรี ผู้ผลิตกระเบื้องคอตโต สามารถลดการใช้พลังงานได้ 9% คิดเป็นมูลค่า 42 ล้านบาทในช่วง 2550-2551

3) รางวัลชนะเลิศสาขาการประหยัดพลังงานในอาคารดีเด่น (Energy Management for Building) — โรงแรมแกรนด์เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯ

4) รางวัลชนะเลิศสาขาการออกแบบอาคารใหม่ที่ประหยัดพลังงานดีเด่น (Best Energy-Efficiency Building) — อาคารที่ทำการใหญ่แห่งใหม่ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

5) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาการพัฒนาพลังงานทดแทนแบบ Off-grid — บริษัทแป้งมันเอี่ยมเฮง จ.นครราชสีมา สร้างระบบผลิตก๊าซชีวภาพด้วยเทคโนโลยี Acidification+UASB เพื่อบำบัดน้ำเสียจากโรงงานซึ่งก๊าซฯ ที่ได้นำมาใช้ทดแทนน้ำมันเตามูลค่า 38 ล้านบาทต่อปี และผลิตไฟฟ้าได้ 3.8 MW และ

6) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 สาขาการพัฒนาพลังงานทดแทนแบบ On-grid - Biomass Co-Generation Power Plant โรงงานแป้งมันสงวนวงศ์ จ.นครราชสีมา

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 สิงหาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ