คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภค พื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 สรุปได้ดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนสิงหาคม 2549 เท่ากับ 115.4 สำหรับเดือนกรกฎาคม 2549 เท่ากับ 115.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
2.2 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 3.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (กรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.2) เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงโดยการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 ขณะที่ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มลดลงทำให้แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อลดลงด้วย นอกจากนี้ราคาสินค้าอุปโภคส่วนใหญ่ราคาทรงตัวหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้นำมาตรการธงฟ้าเข้ามาดูแลค่าครองชีพของประชาชน
3.1 การสูงขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศในเดือนนี้ ร้อยละ 0.1 สาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 โดยการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวเหนียว ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 10.4 เนื่องจากยังคงเป็นช่วงปลายฤดูกาล นอกจากนี้ดัชนีราคาผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 4.2 สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์มีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อหมู ไก่ และไข่
3.2 ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ถึงแม้โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีสินค้าสำคัญที่มีการเคลื่อนไหว ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินราคาลดลง 4 ครั้ง ทำให้ดัชนีหมวดนี้ลดลงร้อยละ 1.0 ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการปรับราคาค่ารถประจำทาง บขส. 3 สตางค์ต่อกิโลเมตร เป็นผลให้ดัชนีรายการนี้สูงขึ้นร้อยละ 3.7 และค่าโดยสารรถเมล์เล็กในท้องถิ่นบางจังหวัดสูงขึ้นร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากราคาสูงขึ้นของหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับ
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.8 เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอตัวลงจากเดือนที่แล้ว (กรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.4) สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.3 เป็น 15.1 ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารลดลง เช่น เนื้อหมู ไก่ และไข่
คาดว่าดัชนีช่วงไตรมาสสุดท้ายของปียังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะแรงกดดันของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และฐานของการคำนวณในครึ่งหลังของปี 2548 ได้ปรับให้ราคาน้ำมันลอยตัวตามภาวะตลาดแล้ว
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 เท่ากับ 104.9 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนกรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
5.2 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
จากการสำรวจราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศจำนวน 373 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม เคหสถาน การตรวจรักษา บริการส่วนบุคคล ยานพาหนะ การขนส่ง การสื่อสาร การบันเทิง การอ่าน การศึกษา ฯลฯ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2549
ในปี 2545 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 และเดือนสิงหาคม 2549 เท่ากับ 115.4 สำหรับเดือนกรกฎาคม 2549 เท่ากับ 115.3
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
2.2 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 3.8
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 (กรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.2) เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงโดยการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 ขณะที่ดัชนีหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง นับเป็นสัญญาณที่ดีที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มลดลงทำให้แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อลดลงด้วย นอกจากนี้ราคาสินค้าอุปโภคส่วนใหญ่ราคาทรงตัวหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย ประกอบกับกระทรวงพาณิชย์ได้นำมาตรการธงฟ้าเข้ามาดูแลค่าครองชีพของประชาชน
3.1 การสูงขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศในเดือนนี้ ร้อยละ 0.1 สาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 โดยการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวเหนียว ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 10.4 เนื่องจากยังคงเป็นช่วงปลายฤดูกาล นอกจากนี้ดัชนีราคาผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 4.2 สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์มีราคาลดลงอย่างต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่ เนื้อหมู ไก่ และไข่
3.2 ดัชนีราคาหมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ถึงแม้โดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงแต่มีสินค้าสำคัญที่มีการเคลื่อนไหว ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินราคาลดลง 4 ครั้ง ทำให้ดัชนีหมวดนี้ลดลงร้อยละ 1.0 ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 1.1 จากการปรับราคาค่ารถประจำทาง บขส. 3 สตางค์ต่อกิโลเมตร เป็นผลให้ดัชนีรายการนี้สูงขึ้นร้อยละ 3.7 และค่าโดยสารรถเมล์เล็กในท้องถิ่นบางจังหวัดสูงขึ้นร้อยละ 3.5 นอกจากนี้ หนังสือพิมพ์ ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากราคาสูงขึ้นของหนังสือพิมพ์รายวันบางฉบับ
4. ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.8 เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอตัวลงจากเดือนที่แล้ว (กรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 4.4) สาเหตุหลักมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ดัชนีราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชะลอตัวลงจากร้อยละ 18.3 เป็น 15.1 ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารลดลง เช่น เนื้อหมู ไก่ และไข่
คาดว่าดัชนีช่วงไตรมาสสุดท้ายของปียังคงมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะแรงกดดันของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อภาวะเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงตามสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลก และฐานของการคำนวณในครึ่งหลังของปี 2548 ได้ปรับให้ราคาน้ำมันลอยตัวตามภาวะตลาดแล้ว
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (คำนวณจากรายการสินค้าและบริการ 266 รายการ) คือ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศที่หักรายการสินค้ากลุ่มอาหารสด และสินค้ากลุ่มพลังงานจำนวน 107 รายการ ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 24 ของสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2549 เท่ากับ 104.9 เมื่อเทียบกับ
5.1 เดือนกรกฎาคม 2549 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
5.2 เดือนสิงหาคม 2548 สูงขึ้นร้อยละ 1.9
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--