เรื่อง การแปลงสภาพ กองโรงพิมพ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit :SDU)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแปลงสภาพกองโรงพิมพ์เป็นสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา และอนุมัติให้สำนักงาน ก.พ.ร. แปลงสภาพสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2548 และให้กระทรวงการคลังดำเนินการแก้ไขกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2548 ด้วย ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาด้วย
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2548 ข้อ 4 และ 5 กำหนดให้ส่วนราชการใดประสงค์จะแปลงสภาพหน่วยงานเดิมเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ให้เสนอเรื่องต่อ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเมื่อ ก.พ.ร. ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ ก.พ.ร. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2. ก.พ.ร. ได้มีประกาศให้แปลงสภาพสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นหน่วยงานพิเศษ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป ซึ่งบทบาทหน้าที่และผลการดำเนินงานของสถาบัน ฯ สรุปได้ ดังนี้
2.1 บทบาทหน้าที่
1) ให้การแนะนำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐในการยกระดับมาตรฐานการทำงานให้มีความเป็นเลิศ และสอดรับกับหลักการของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2) ปรับเปลี่ยนทัศนคติ กระบวนทัศน์และวัฒนธรรมตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ของบุคลากรภาครัฐ ให้มีความพร้อมต่อการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่
2.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามประกาศสำนักงาน ก.พ.ร. ลงวันที่ 8 มีนาคม 2548 โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ธงทอง จันทรางศุ นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา นายวิสิฐ ตันติสุนทร และศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นกรรมการและเลขานุการ และแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.3 ผลการดำเนินการที่สำคัญของสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CCO) และโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ CEO Retreat II ของสำนักงาน ก.พ.ร. โครงการอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกองทัพอากาศ โครงการอบรมหลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานจังหวัดระยอง โครงการอบรมหลักสูตร “นักปกครองระดับสูงสุด” รุ่นที่ 49 และรุ่นที่ 50 ของกระทรวงมหาดไทย โครงการวิจัยและที่ปรึกษา ประกอบด้วยโครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบบูรณาการสู่การปฏิบัติของสำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และฝึกอบรมของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้ ก.พ.ร. พิจารณาแปลงสภาพกองโรงพิมพ์ เป็น “สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา” มีสถานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) โดยมีแผนการดำเนินงานพัฒนาเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ช่วยระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ภายในเวลา 2 ปี และช่วงบูรณาการ (Integration Period) ปีที่ 3 ขึ้นไป สำหรับการเตรียมการในระยะเปลี่ยนผ่าน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 การกำหนดกรอบและทิศทางในการบริหารงานและอำนาจหน้าที่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สำนักพิมพ์เป็นหน่วยบริการสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับการจัดทำราชกิจจานุเบกษา ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สัญญาบัตรยศ สัญญาบัตร สมณศักดิ์ และสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของส่วนราชการเจ้าสังกัด รวมทั้งอำนวยบริการที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ของสำนักพิมพ์
3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 203/ 2547 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2547 เพื่อเตรียมการแปลงสภาพและทำหน้าที่ในการวางนโยบายและอำนวยการ
3.3 การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ จัดทำแผนกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินงานและระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน จัดทำแผนธุรกิจ วิเคราะห์และปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำลังให้เหมาะสม โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณอายุก่อนกำหนดของลูกจ้างประจำเงินทุนหมุนเวียนโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จัดทำระบบบัญชีต้นทุน รวมทั้งปรับปรุงแผนการตลาดและการขาย
3.4 การปรับปรุงกระบวนการผลิต ได้แก่ การพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 :2000 ในกระบวนการผลิต จนได้รับใบรับรองจากสำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) ปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น พัฒนาธุรกิจงานพิมพ์ด่วน พัฒนาธุรกิจศูนย์หนังสือ เน้นการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของทางราชการ รวมทั้งพัฒนาเครื่องจักรและครุภัณฑ์
3.5 ปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ
3.6 การจัดเตรียมร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งต่าง ๆ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อการแปลงสภาพไปสู่การบริหารงานรูปแบบพิเศษ
3.7 ผลการดำเนินงานของสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษาในช่วงที่ผ่านมาสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ ได้รับงบประมาณในการดำเนินการผลิตลดลงมา โดยลดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการราชกิจจานุเบกษาอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังคงมีสภาพทางการเงินที่ไม่ขาดทุน
ทั้งนี้ หากสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ ได้รับเงินประเดิมที่เพียงพอ จะทำให้มีศักยภาพในการผลิต การบริการที่มีคุณภาพพอเพียงกับการแข่งขันในตลาดธุรกิจประเภทเดียวกัน ประกอบกับการดำเนินการเชิงรุกในด้านการตลาดก็จะทำให้มีผลกำไรมากขึ้นและสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคงต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--
สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit :SDU)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแปลงสภาพกองโรงพิมพ์เป็นสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา และอนุมัติให้สำนักงาน ก.พ.ร. แปลงสภาพสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2548 และให้กระทรวงการคลังดำเนินการแก้ไขกฎ ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีความสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2548 ด้วย ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาด้วย
สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
1. ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2548 ข้อ 4 และ 5 กำหนดให้ส่วนราชการใดประสงค์จะแปลงสภาพหน่วยงานเดิมเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ให้เสนอเรื่องต่อ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและเมื่อ ก.พ.ร. ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ ก.พ.ร. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2. ก.พ.ร. ได้มีประกาศให้แปลงสภาพสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นหน่วยงานพิเศษ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2547 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป ซึ่งบทบาทหน้าที่และผลการดำเนินงานของสถาบัน ฯ สรุปได้ ดังนี้
2.1 บทบาทหน้าที่
1) ให้การแนะนำปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐในการยกระดับมาตรฐานการทำงานให้มีความเป็นเลิศ และสอดรับกับหลักการของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2) ปรับเปลี่ยนทัศนคติ กระบวนทัศน์และวัฒนธรรมตลอดจนเสริมสร้างองค์ความรู้ของบุคลากรภาครัฐ ให้มีความพร้อมต่อการบริหารราชการแผ่นดินแนวใหม่
2.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามประกาศสำนักงาน ก.พ.ร. ลงวันที่ 8 มีนาคม 2548 โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ธงทอง จันทรางศุ นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา นายวิสิฐ ตันติสุนทร และศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นกรรมการและเลขานุการ และแต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย ณ เชียงใหม่ เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2.3 ผลการดำเนินการที่สำคัญของสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำการเปลี่ยนแปลง (CCO) และโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ CEO Retreat II ของสำนักงาน ก.พ.ร. โครงการอบรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกองทัพอากาศ โครงการอบรมหลักสูตรการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสำนักงานจังหวัดระยอง โครงการอบรมหลักสูตร “นักปกครองระดับสูงสุด” รุ่นที่ 49 และรุ่นที่ 50 ของกระทรวงมหาดไทย โครงการวิจัยและที่ปรึกษา ประกอบด้วยโครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการแบบบูรณาการสู่การปฏิบัติของสำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และโครงการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้และฝึกอบรมของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
3. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้ ก.พ.ร. พิจารณาแปลงสภาพกองโรงพิมพ์ เป็น “สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา” มีสถานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) โดยมีแผนการดำเนินงานพัฒนาเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ช่วยระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) ภายในเวลา 2 ปี และช่วงบูรณาการ (Integration Period) ปีที่ 3 ขึ้นไป สำหรับการเตรียมการในระยะเปลี่ยนผ่าน สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการ ดังนี้
3.1 การกำหนดกรอบและทิศทางในการบริหารงานและอำนาจหน้าที่ โดยมีวัตถุประสงค์ให้สำนักพิมพ์เป็นหน่วยบริการสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งปวงที่เกี่ยวกับการจัดทำราชกิจจานุเบกษา ประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สัญญาบัตรยศ สัญญาบัตร สมณศักดิ์ และสื่อสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของส่วนราชการเจ้าสังกัด รวมทั้งอำนวยบริการที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ของสำนักพิมพ์
3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 203/ 2547 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2547 เพื่อเตรียมการแปลงสภาพและทำหน้าที่ในการวางนโยบายและอำนวยการ
3.3 การพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ได้แก่ จัดทำแผนกลยุทธ์ ทิศทางการดำเนินงานและระบบการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน จัดทำแผนธุรกิจ วิเคราะห์และปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำลังให้เหมาะสม โครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณอายุก่อนกำหนดของลูกจ้างประจำเงินทุนหมุนเวียนโรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จัดทำระบบบัญชีต้นทุน รวมทั้งปรับปรุงแผนการตลาดและการขาย
3.4 การปรับปรุงกระบวนการผลิต ได้แก่ การพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 :2000 ในกระบวนการผลิต จนได้รับใบรับรองจากสำนักรับรองระบบคุณภาพ (สรร.) ปรับเปลี่ยนรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น พัฒนาธุรกิจงานพิมพ์ด่วน พัฒนาธุรกิจศูนย์หนังสือ เน้นการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ของทางราชการ รวมทั้งพัฒนาเครื่องจักรและครุภัณฑ์
3.5 ปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ
3.6 การจัดเตรียมร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งต่าง ๆ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อการแปลงสภาพไปสู่การบริหารงานรูปแบบพิเศษ
3.7 ผลการดำเนินงานของสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษาในช่วงที่ผ่านมาสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ ได้รับงบประมาณในการดำเนินการผลิตลดลงมา โดยลดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการราชกิจจานุเบกษาอิเล็กทรอนิกส์ แต่ยังคงมีสภาพทางการเงินที่ไม่ขาดทุน
ทั้งนี้ หากสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีฯ ได้รับเงินประเดิมที่เพียงพอ จะทำให้มีศักยภาพในการผลิต การบริการที่มีคุณภาพพอเพียงกับการแข่งขันในตลาดธุรกิจประเภทเดียวกัน ประกอบกับการดำเนินการเชิงรุกในด้านการตลาดก็จะทำให้มีผลกำไรมากขึ้นและสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคงต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 มิถุนายน 2549--จบ--