คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานการแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกจากโรงฆ่าชำแหละไก่ โดยเป็นการดำเนินการลดความเสี่ยงของโรคไข้หวัดนกจากร้านฆ่า ชำแหละสัตว์ปีก และโรงฆ่าไก่ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยในความเสี่ยงของประชาชนที่จะเกิดจากโรคไข้หวัดนก จึงได้ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงที่จะแพร่โรคไข้หวัดนกได้โดยเฉพาะร้านฆ่าชำแหละ และจำหน่ายสัตว์ปีกในซอยมังกร ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า อาจเป็นสถานที่ ๆ เกิดความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรคไข้หวัดนกจากไก่ที่นำมาสู่กระบวนการฆ่าชำแหละได้ จึงได้ให้มีการดำเนินการแก้ไขร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคำแนะนำการปรับปรุงร้านฆ่าและชำแหละสัตว์ปีกขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกเสนอผ่านคณะกรรมการสาธารณสุขเพื่อออกเป็นคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การควบคุมกิจการการฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีมติในการประชุม ครั้งที่ 41-1/2549 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ออกคำแนะนำแก่ราชการส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบกิจการดังกล่าวต่อไป ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวมีเนื้อหาครอบคลุม ดังนี้ 1.สภาพของอาคารสถานที่ และที่พักสัตว์ปีก 2.การฆ่า การชำแหละและตัดแต่ง 3.สุขอนามัยผู้ปฏิบัติงาน 4.การจัดการมูลฝอย 5.การจัดการน้ำเสีย และการใช้ยาฆ่าเชื้อ
ทั้งนี้กิจการที่มีอยู่เดิมระยะสั้นขอให้มีการปรับปรุง แต่ระยะยาวขอให้มีการย้ายออกไปนอกชุมชน และเพื่อให้คำแนะนำฯ ได้รับการยอมรับสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง กรมควบคุมโรคจึงได้จัดประชุมขึ้นในวันที่ 13 มกราคม 2549 เวลา 11.00 — 16.00 น. ณ โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ้นเซส เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหาข้อตกลงร่วมกันและขยายผลการดำเนินการแก้ไขให้ครอบคลุมทั้งซอยมังกร รวมทั้งพิจารณาแนวทางแก้ไขและนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ซึ่งผลจากการประชุมดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมมลพิษ กรมการปกครอง สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยรับทราบ นายแพทย์สิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร รับที่จะประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุดเนื่องจากใกล้เทศกาลตรุษจีน
ผู้แทนของผู้ประกอบการจากซอยมังกรที่เข้าร่วมประชุมชี้แจงให้กับที่ประชุมว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการพยายามปรับปรุงแก้ไข โดยทางร้านจะซื้อไก่เฉพาะที่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเพื่อนำมาขายในร้าน ส่วนกรงไก่
ได้มีการปรับปรุงไปบางส่วนโดยการทำกรงเหล็กมาใช้แทนเข่ง ใช้วัสดุโปร่งใสกั้นเพื่อป้องกันการสัมผัสไก่โดยตรง และลดการฟุ้งกระจายของมูลไก่ — ขนไก่ สำหรับการล้างทำความสะอาดได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกเย็น ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเริ่มไปแล้วบางส่วน และจะดำเนินการปรับปรุงให้ครบถ้วน ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
สำหรับการประกอบกิจการฆ่าไก่เพื่อจำหน่ายแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ประกอบการรวมตัวกันในลักษณะของบริษัท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบกิจการ ดังกล่าวที่บริษัทคลองตันค้าสัตว์ (1987) จำกัด ซอยปรีดีพนมยงค์ 44 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มกราคม 2549 ที่ผ่านมาพบว่าการประกอบการและกระบวนการฆ่าชำแหละอยู่ในระดับที่ดี ทั้งด้านการนำไก่เข้าสู่กระบวนการฆ่าและชำแหละได้สุ่มตัวอย่างส่งตรวจที่กรมปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง และมีใบอนุญาตการเคลื่อนย้ายไก่จากกรมปศุสัตว์ และออกใบรับรองว่าได้มาจากแหล่งที่ได้รับการอนุญาตให้เคลื่อนย้ายให้กับผู้จำหน่ายนำไปปิดประกาศไว้ที่แผงค้าไก่ทุกวัน เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่าไก่ที่จำหน่ายมาจากแหล่งเลี้ยงที่ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก อีกทั้งมีการรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในระดับหนึ่งและได้ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และ ผู้ประกอบการฆ่า ชำแหละไก่ บริษัทคลองตันค้าสัตว์ (1987) จำกัด เรื่อง การรักษามาตรฐานการฆ่าและชำแหละไก่ เพื่อเป็นพันธะสัญญาว่าจะมีการรักษามาตรฐานการฆ่าและชำแหละไก่อันจะเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเนื้อไก่ว่ามีความสะอาดปลอดภัยจากโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยในความเสี่ยงของประชาชนที่จะเกิดจากโรคไข้หวัดนก จึงได้ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่มีความเสี่ยงที่จะแพร่โรคไข้หวัดนกได้โดยเฉพาะร้านฆ่าชำแหละ และจำหน่ายสัตว์ปีกในซอยมังกร ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งพบว่า อาจเป็นสถานที่ ๆ เกิดความเสี่ยงต่อการติดต่อของโรคไข้หวัดนกจากไก่ที่นำมาสู่กระบวนการฆ่าชำแหละได้ จึงได้ให้มีการดำเนินการแก้ไขร่วมกันระหว่างหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกรุงเทพมหานคร ดังนี้
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคำแนะนำการปรับปรุงร้านฆ่าและชำแหละสัตว์ปีกขั้นพื้นฐานเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนกเสนอผ่านคณะกรรมการสาธารณสุขเพื่อออกเป็นคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การควบคุมกิจการการฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีมติในการประชุม ครั้งที่ 41-1/2549 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้ออกคำแนะนำแก่ราชการส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบกิจการดังกล่าวต่อไป ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวมีเนื้อหาครอบคลุม ดังนี้ 1.สภาพของอาคารสถานที่ และที่พักสัตว์ปีก 2.การฆ่า การชำแหละและตัดแต่ง 3.สุขอนามัยผู้ปฏิบัติงาน 4.การจัดการมูลฝอย 5.การจัดการน้ำเสีย และการใช้ยาฆ่าเชื้อ
ทั้งนี้กิจการที่มีอยู่เดิมระยะสั้นขอให้มีการปรับปรุง แต่ระยะยาวขอให้มีการย้ายออกไปนอกชุมชน และเพื่อให้คำแนะนำฯ ได้รับการยอมรับสู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง กรมควบคุมโรคจึงได้จัดประชุมขึ้นในวันที่ 13 มกราคม 2549 เวลา 11.00 — 16.00 น. ณ โรงแรมแกรนด์ไชน่า ปริ้นเซส เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการหาข้อตกลงร่วมกันและขยายผลการดำเนินการแก้ไขให้ครอบคลุมทั้งซอยมังกร รวมทั้งพิจารณาแนวทางแก้ไขและนำไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป ซึ่งผลจากการประชุมดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมมลพิษ กรมการปกครอง สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยรับทราบ นายแพทย์สิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร รับที่จะประสานงานและทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการโดยเร็วที่สุดเนื่องจากใกล้เทศกาลตรุษจีน
ผู้แทนของผู้ประกอบการจากซอยมังกรที่เข้าร่วมประชุมชี้แจงให้กับที่ประชุมว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการพยายามปรับปรุงแก้ไข โดยทางร้านจะซื้อไก่เฉพาะที่มีใบอนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกเพื่อนำมาขายในร้าน ส่วนกรงไก่
ได้มีการปรับปรุงไปบางส่วนโดยการทำกรงเหล็กมาใช้แทนเข่ง ใช้วัสดุโปร่งใสกั้นเพื่อป้องกันการสัมผัสไก่โดยตรง และลดการฟุ้งกระจายของมูลไก่ — ขนไก่ สำหรับการล้างทำความสะอาดได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกเย็น ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเริ่มไปแล้วบางส่วน และจะดำเนินการปรับปรุงให้ครบถ้วน ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
สำหรับการประกอบกิจการฆ่าไก่เพื่อจำหน่ายแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ในเขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้ประกอบการรวมตัวกันในลักษณะของบริษัท รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบกิจการ ดังกล่าวที่บริษัทคลองตันค้าสัตว์ (1987) จำกัด ซอยปรีดีพนมยงค์ 44 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 25 มกราคม 2549 ที่ผ่านมาพบว่าการประกอบการและกระบวนการฆ่าชำแหละอยู่ในระดับที่ดี ทั้งด้านการนำไก่เข้าสู่กระบวนการฆ่าและชำแหละได้สุ่มตัวอย่างส่งตรวจที่กรมปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง และมีใบอนุญาตการเคลื่อนย้ายไก่จากกรมปศุสัตว์ และออกใบรับรองว่าได้มาจากแหล่งที่ได้รับการอนุญาตให้เคลื่อนย้ายให้กับผู้จำหน่ายนำไปปิดประกาศไว้ที่แผงค้าไก่ทุกวัน เพื่อให้ผู้บริโภคทราบว่าไก่ที่จำหน่ายมาจากแหล่งเลี้ยงที่ปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก อีกทั้งมีการรักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต การสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในระดับหนึ่งและได้ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และ ผู้ประกอบการฆ่า ชำแหละไก่ บริษัทคลองตันค้าสัตว์ (1987) จำกัด เรื่อง การรักษามาตรฐานการฆ่าและชำแหละไก่ เพื่อเป็นพันธะสัญญาว่าจะมีการรักษามาตรฐานการฆ่าและชำแหละไก่อันจะเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเนื้อไก่ว่ามีความสะอาดปลอดภัยจากโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคไข้หวัดนกต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--