คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ตามที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุติการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดตั้ง “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำนวน 19 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 ท่าน คัดเลือกมาจากผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกจำนวน 5 ท่าน ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
3. คำสั่งแต่งตั้งนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อีกหน้าที่หนึ่ง
4. การส่งมอบทรัพย์สินในส่วนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และการส่งมอบครุภัณฑ์และตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราวสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 190 อัตรา ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติองค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
5. นอกจากนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติชุดใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 ที่ประชุมได้มีมติรับทราบในเรื่องที่สำคัญอีกรวม 3 เรื่อง ได้แก่
1) รับทราบสถานการณ์การเงิน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) : กทบ. (อ.) ทำสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงิน โดยได้รับวงเงินกู้จากธนาคารออมสิน จำนวน 80,000 ล้านบาท และจาก ธ.ก.ส. จำนวน 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านบาท ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2548 มีการเบิกเงินกู้ และชำระคืน ดังนี้
ธนาคาร วงเงินกู้ เบิกเงินกู้ ชำระเงินกู้ คงเหลือ
ออมสิน 80,000,000,000 79,218,967,860 47,261,940,540 31,957,027,319
ธ.ก.ส. 20,000,000,000 12,492,721,463 3,957,614,148 8,535,107,315
รวม 100,000,000,000 91,711,689,323 51,219,554,688 40,492,134,635
2) กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ไว้ดังนี้
ก. การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล : ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 5 มาตรา 8 มาตรา 23 และมาตรา 30 ให้กองทุนหมู่บ้านมีสิทธิ หน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และกฎหมายอื่น เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ข. การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชน (ธนาคารหมู่บ้าน) : เพื่อให้เป็นไปตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 ภายใต้ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนระดับชุมชน ให้ยกระดับกองทุนที่มีความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน (ธนาคารหมู่บ้าน)
3) แนวทางการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในระยะ 3 เดือนแรกจะมีการประชุมทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน และในระยะต่อไปจะมีการประชุมทุก 2 เดือน นอกจากนี้ ยังมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรในช่วงแรก ประกอบด้วย ที่ปรึกษาได้แก่ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คณะอนุกรรมการได้แก่ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายพลเดช ปิ่นประทีบ นายวีระยุค พันธุเพชร และนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--
1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยุติการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดตั้ง “กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ” และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป
2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำนวน 19 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 ท่าน คัดเลือกมาจากผู้แทนกรรมการกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกจำนวน 5 ท่าน ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
3. คำสั่งแต่งตั้งนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ อีกหน้าที่หนึ่ง
4. การส่งมอบทรัพย์สินในส่วนของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และการส่งมอบครุภัณฑ์และตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างชั่วคราวสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 190 อัตรา ให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติองค์กรใหม่ตามพระราชบัญญัติ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547
5. นอกจากนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติชุดใหม่ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ครั้งแรก เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2548 ที่ประชุมได้มีมติรับทราบในเรื่องที่สำคัญอีกรวม 3 เรื่อง ได้แก่
1) รับทราบสถานการณ์การเงิน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) : กทบ. (อ.) ทำสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงิน โดยได้รับวงเงินกู้จากธนาคารออมสิน จำนวน 80,000 ล้านบาท และจาก ธ.ก.ส. จำนวน 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 100,000 ล้านบาท ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2548 มีการเบิกเงินกู้ และชำระคืน ดังนี้
ธนาคาร วงเงินกู้ เบิกเงินกู้ ชำระเงินกู้ คงเหลือ
ออมสิน 80,000,000,000 79,218,967,860 47,261,940,540 31,957,027,319
ธ.ก.ส. 20,000,000,000 12,492,721,463 3,957,614,148 8,535,107,315
รวม 100,000,000,000 91,711,689,323 51,219,554,688 40,492,134,635
2) กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ไว้ดังนี้
ก. การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองเป็นนิติบุคคล : ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 5 มาตรา 8 มาตรา 23 และมาตรา 30 ให้กองทุนหมู่บ้านมีสิทธิ หน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และกฎหมายอื่น เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ข. การพัฒนากองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองเป็นสถาบันการเงินชุมชน (ธนาคารหมู่บ้าน) : เพื่อให้เป็นไปตามแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2548 — 2551 ภายใต้ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนระดับชุมชน ให้ยกระดับกองทุนที่มีความพร้อมเป็นสถาบันการเงินชุมชน (ธนาคารหมู่บ้าน)
3) แนวทางการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การประชุมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติในระยะ 3 เดือนแรกจะมีการประชุมทุกวันศุกร์ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน และในระยะต่อไปจะมีการประชุมทุก 2 เดือน นอกจากนี้ ยังมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การบริหารจัดการองค์กรในช่วงแรก ประกอบด้วย ที่ปรึกษาได้แก่ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คณะอนุกรรมการได้แก่ นายพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช นายพลเดช ปิ่นประทีบ นายวีระยุค พันธุเพชร และนายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--