คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 5 ปี (2544-2548) โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 2.2 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยที่ GDP มีขนาดใหญ่ขึ้นจาก 4.92 ล้านล้านบาทในปี 2543 เป็น 7.10 ล้านล้านบาทในปี 2548 และรายได้ประชากรต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 79,100 บาทต่อปี เป็น 109,700 บาทต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีแม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อาทิ เศรษฐกิจโลกซบเซาในปี 2544 สงครามอิรัก การระบาดของโรค SARS การระบาดของไข้หวัดนก ภาวะภัยแล้ง ผลกระทบจากสึนามิ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก เป็นต้น
2. ภาวะเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ช่วยสร้างงานได้มากจากจำนวนการจ้างงาน 31.3 ล้านคนในปี 2543 เป็น 35.3 ล้านคนในปี 2548 และจำนวนการว่างงานลดลงจากประมาณ 1.19 ล้านคน หรือร้อยละ 3.6 ของจำนวนกำลังแรงงานในปี 2543 เป็นประมาณ 620,000 คนหรือร้อยละ 1.7 ในปี 2548 การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ การสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร และการขยายสวัสดิการให้ครอบคลุมผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้มาก จำนวนคนจนลดลงจาก 12.8 ล้านคนในปี 2543 เป็น 7.1 ล้านคนในปี 2547
3. การกระจายรายได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในระดับรากหญ้ามากขึ้น อาทิ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน และตามโครงการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของจังหวัดแบบบูรณาการ การขยายช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการสร้างอาชีพ การสร้างโอกาสด้านสินเชื่อภายใต้โครงการกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารประชาชน เป็นต้น ซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในระดับรากหญ้าอื่น ๆ จะเห็นว่าในปี 2547 กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด 20% แรก มีรายได้เป็นสัดส่วนร้อยละ 4.5 ของรายได้รวมของประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในปี 2543 ในขณะที่กลุ่มคนระดับกลางซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรผู้มีรายได้ มีส่วนแบ่งรายได้รวมของประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.6 ในปี 2547 จากร้อยละ 38.6 ในปี 2543
4. สถานะด้านสังคมปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและโอกาสทางการศึกษา อาทิ จำนวนประชากรที่มีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.2 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 96.25 ในปี 2548 คดียาเสพติดลดลงจาก 420.7 คดีต่อประชาชน 1 แสนคนในปี 2543 เป็น 160.3 คดีในปี 2548 อัตราการเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64 ในปี 2548 โดยมีเงินกู้ยืมภายใต้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 74,850 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 212,393 ล้านบาทในปี 2548 และสำหรับในปี 2549 นั้นหากรวมเงินกู้ยืมภายใต้กองทุน ICL ด้วยแล้วจะมียอดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสูงถึง 242,759 ล้านบาท โอกาสทางการศึกษาที่ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นได้ทำให้สัดส่วนของกำลังแรงงานที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมปลายขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.7 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 24.9 ในปี 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--
1. ภาวะเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 2.2 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 4.5 ในปี 2548 โดยที่ GDP มีขนาดใหญ่ขึ้นจาก 4.92 ล้านล้านบาทในปี 2543 เป็น 7.10 ล้านล้านบาทในปี 2548 และรายได้ประชากรต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก 79,100 บาทต่อปี เป็น 109,700 บาทต่อปีในช่วงเวลาเดียวกัน จะเห็นได้ว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีแม้ว่าจะต้องเผชิญกับข้อจำกัดหลายประการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อาทิ เศรษฐกิจโลกซบเซาในปี 2544 สงครามอิรัก การระบาดของโรค SARS การระบาดของไข้หวัดนก ภาวะภัยแล้ง ผลกระทบจากสึนามิ และราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก เป็นต้น
2. ภาวะเศรษฐกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ช่วยสร้างงานได้มากจากจำนวนการจ้างงาน 31.3 ล้านคนในปี 2543 เป็น 35.3 ล้านคนในปี 2548 และจำนวนการว่างงานลดลงจากประมาณ 1.19 ล้านคน หรือร้อยละ 3.6 ของจำนวนกำลังแรงงานในปี 2543 เป็นประมาณ 620,000 คนหรือร้อยละ 1.7 ในปี 2548 การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ การสร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร และการขยายสวัสดิการให้ครอบคลุมผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ได้ช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้มาก จำนวนคนจนลดลงจาก 12.8 ล้านคนในปี 2543 เป็น 7.1 ล้านคนในปี 2547
3. การกระจายรายได้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจในระดับรากหญ้ามากขึ้น อาทิ การจัดสรรงบประมาณตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน และตามโครงการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของจังหวัดแบบบูรณาการ การขยายช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อเพื่อการสร้างอาชีพ การสร้างโอกาสด้านสินเชื่อภายใต้โครงการกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ธนาคารประชาชน เป็นต้น ซึ่งดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในระดับรากหญ้าอื่น ๆ จะเห็นว่าในปี 2547 กลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด 20% แรก มีรายได้เป็นสัดส่วนร้อยละ 4.5 ของรายได้รวมของประเทศ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในปี 2543 ในขณะที่กลุ่มคนระดับกลางซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรผู้มีรายได้ มีส่วนแบ่งรายได้รวมของประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40.6 ในปี 2547 จากร้อยละ 38.6 ในปี 2543
4. สถานะด้านสังคมปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและโอกาสทางการศึกษา อาทิ จำนวนประชากรที่มีหลักประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.2 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 96.25 ในปี 2548 คดียาเสพติดลดลงจาก 420.7 คดีต่อประชาชน 1 แสนคนในปี 2543 เป็น 160.3 คดีในปี 2548 อัตราการเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมปลายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64 ในปี 2548 โดยมีเงินกู้ยืมภายใต้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 74,850 ล้านบาทในปี 2543 เป็น 212,393 ล้านบาทในปี 2548 และสำหรับในปี 2549 นั้นหากรวมเงินกู้ยืมภายใต้กองทุน ICL ด้วยแล้วจะมียอดเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาสูงถึง 242,759 ล้านบาท โอกาสทางการศึกษาที่ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นได้ทำให้สัดส่วนของกำลังแรงงานที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมปลายขึ้นไปเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.7 ในปี 2543 เป็นร้อยละ 24.9 ในปี 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--