คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์บริการร่วมรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชนตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการ (ก.พ.ร.) เสนอดังนี้
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการร่วมรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชน (Government Counter Service : GCS) เป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินการต่อไป รวม 2 แห่ง โดยมีผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรค ดังนี้
1. ผลการดำเนินการ
1.1 เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต กรุงเทพฯ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมให้บริการ 17 หน่วยงาน และมีงานบริการต่าง ๆ รวม 22 งานบริการ ซึ่ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และบริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด ให้ใช้พื้นที่โดยไม่คิดค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2549 และได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2548 แล้ว มีประชาชนใช้บริการรวมทั้งสิ้น 46,879 ราย งานบริการที่ประชาชนใช้บริการ มากที่สุด คือ งานบริการไปรษณีย์/Pay at Post 18,742 ราย รองลงมาเป็นงานจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน 9,534 ราย และมีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 96.56
1.2 เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัล แอร์พอร์ตพลาซา จังหวัดเชียงใหม่ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดที่เข้าร่วมให้บริการ 27 หน่วยงาน และมีงานบริการต่าง ๆ รวม 33 งานบริการ ซึ่งศูนย์การค้าเซ็นทรัลฯ ให้ใช้พื้นที่โดยไม่คิดค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยได้เปิดบริการในช่วง 3 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548 มีประชาชนใช้บริการรวมทั้งสิ้น 21,881 ราย งานบริการที่ประชาชนใช้บริการมากที่สุด คือ งานบริการไปรษณีย์ 20,266 ราย รองลงมาเป็นงานจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน 1,345 ราย และจะมีการเปิดเคาน์เตอร์บริการประชาชนอย่างเป็นทางการได้ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549
2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มีบางส่วนราชการยังมีแนวคิดว่าหากนำงานบริการมาไว้ที่เคาน์เตอร์บริการประชาชน และมีผู้ใช้บริการมาก จะทำให้งานบริการที่สำนักงานของตนเองมีความสำคัญน้อยลง รวมทั้งยังมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการให้บริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งในหลายงานบริการมีแนวโน้มที่จะถอนงานบริการออกไปหรือลดการให้บริการลง เช่น การต่ออายุหนังสือเดินทาง เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการปรับเวลาการให้บริการของการจัดทำบัตรทอง 30 บาท เป็นให้บริการในวันอาทิตย์ — วันพฤหัสบดี เวลา 11.00 — 19.00 น. เป็นต้น ส่วนการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนยังไม่ได้ขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ชุมชนได้อย่างเพียงพอ และมีงานบริการหลายประเภทไม่สามารถให้บริการได้เบ็ดเสร็จ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ เคาน์เตอร์บริการประชาชนไม่มีอำนาจอนุมัติ อนุญาตได้ตามกฎหมาย ต้องส่งเรื่องให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติ อนุญาตก่อน ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขโดยกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. .... ว่า ให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาต มอบอำนาจให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมหรือศูนย์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นได้
3. การดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการดังนี้
(1) ได้ขอขยายระยะเวลาการใช้พื้นที่เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณรถไฟฟ้าหมอชิตต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 โดยขอยกเว้นค่าเช่าพื้นที่รวมทั้งเพิ่มงานบริการจาก 22 งานบริการ เป็น 25 งานบริการ และเพิ่มหน่วยงานที่เข้าร่วมจากเดิม 17 หน่วยงาน เป็น 19 หน่วยงาน
(2) ติดตามผลการจัดตั้งและเปิดดำเนินการเคาน์เตอร์บริการของหน่วยงานและจังหวัดต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพมาตรฐานแก่หน่วยงานและจังหวัดที่ให้บริการได้ตามเกณฑ์
(3) ดำเนินการให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงและจังหวัดจัดตั้งศูนย์บริการร่วม ไม่น้อยกว่ากระทรวง/จังหวัดละ 1 แห่ง
สำหรับปีงบประมาณ 2550 — 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. จะขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน โดยปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน จำนวน 15 แห่ง งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนจำนวน 20 แห่ง งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนจำนวน 20 แห่ง งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท ซึ่งจะประสานให้มีหน่วยงานเข้ารับช่วงดำเนินงาน เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งอาจมีรายได้จากงานบริการเพียงพอในการนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยไม่ต้องขอใช้งบประมาณประจำปี แต่หากไม่เพียงพอก็อาจจำเป็นต้องของบอุดหนุนเพิ่มเติมต่อไป
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับประเด็นอภิปรายและมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) (รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม ประธานกรรมการฯ) ครั้งที่ 3/2549 วันที่ 25 มกราคม 2549 ไปพิจารณาดำเนินการดังนี้
1. การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชนนี้เป็นการดำเนินการในลักษณะการนำบริการของหน่วยงานภาครัฐไปสู่ประชาชน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนและกระบวนการทำงาน และขยายการให้บริการประชาชน เป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในระยะเริ่มแรก มีการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนนำร่องในพื้นที่แหล่งชุมชน 2 แห่ง จากผลการดำเนินการปรากฏว่าสร้างความพึงพอใจ ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ควรที่จะมีการขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนเพิ่มเติมต่อไป
2. การขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2550 — 2551 มีภาระใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนอกจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ และค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่แล้ว ค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่เพื่อตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในห้างสรรพสินค้าจะเป็นภาระงบประมาณต่อเนื่อง ดังนั้น ในการจัดหาสถานที่ในการดำเนินการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ สมควรพิจารณาจากสถานที่ที่เจ้าของพื้นที่ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ให้เพื่อมิให้เป็นภาระผูกพันงบประมาณระยะยาว และควรคำนึงถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมชน หรือที่มีประชาชนมาใช้บริการต่าง ๆ อยู่แล้ว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบริการประชาชน เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
3. ขณะนี้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกำหนดรับรองการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้บังคับแล้ว ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นโดยเฉพาะในภาคเอกชน สำหรับในภาครัฐสามารถดำเนินการได้โดยพระราชกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องดังกล่าวแล้ว หากร่างพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแล้ว ประชาชนจะสามารถติดต่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะมีผลให้หน่วยงานของรัฐสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้กว้างขวางขึ้น และสามารถแบ่งเบาภาระและปริมาณงานของเคาน์เตอร์บริการประชาชนได้ สมควรนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงการดำเนินการของเคาน์เตอร์บริการประชาชนด้วย
4. การบริการประชาชนในเรื่องใดที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปดำเนินการแล้ว ควรพิจารณาส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในท้องถิ่นด้วย โดยมอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปพิจารณาดำเนินการแทน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการจากรัฐได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้จ่าย ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามความเหมาะสมเป็นแห่งๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการร่วมรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชน (Government Counter Service : GCS) เป็นต้นแบบในการขยายผลการดำเนินการต่อไป รวม 2 แห่ง โดยมีผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรค ดังนี้
1. ผลการดำเนินการ
1.1 เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต กรุงเทพฯ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมให้บริการ 17 หน่วยงาน และมีงานบริการต่าง ๆ รวม 22 งานบริการ ซึ่ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และบริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด ให้ใช้พื้นที่โดยไม่คิดค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปี จนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2549 และได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม 2548 แล้ว มีประชาชนใช้บริการรวมทั้งสิ้น 46,879 ราย งานบริการที่ประชาชนใช้บริการ มากที่สุด คือ งานบริการไปรษณีย์/Pay at Post 18,742 ราย รองลงมาเป็นงานจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน 9,534 ราย และมีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 96.56
1.2 เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัล แอร์พอร์ตพลาซา จังหวัดเชียงใหม่ มีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดที่เข้าร่วมให้บริการ 27 หน่วยงาน และมีงานบริการต่าง ๆ รวม 33 งานบริการ ซึ่งศูนย์การค้าเซ็นทรัลฯ ให้ใช้พื้นที่โดยไม่คิดค่าเช่าเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยได้เปิดบริการในช่วง 3 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนตุลาคม — ธันวาคม 2548 มีประชาชนใช้บริการรวมทั้งสิ้น 21,881 ราย งานบริการที่ประชาชนใช้บริการมากที่สุด คือ งานบริการไปรษณีย์ 20,266 ราย รองลงมาเป็นงานจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน 1,345 ราย และจะมีการเปิดเคาน์เตอร์บริการประชาชนอย่างเป็นทางการได้ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549
2. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน มีบางส่วนราชการยังมีแนวคิดว่าหากนำงานบริการมาไว้ที่เคาน์เตอร์บริการประชาชน และมีผู้ใช้บริการมาก จะทำให้งานบริการที่สำนักงานของตนเองมีความสำคัญน้อยลง รวมทั้งยังมีข้อขัดข้องเกี่ยวกับการให้บริการผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งในหลายงานบริการมีแนวโน้มที่จะถอนงานบริการออกไปหรือลดการให้บริการลง เช่น การต่ออายุหนังสือเดินทาง เนื่องจากจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการปรับเวลาการให้บริการของการจัดทำบัตรทอง 30 บาท เป็นให้บริการในวันอาทิตย์ — วันพฤหัสบดี เวลา 11.00 — 19.00 น. เป็นต้น ส่วนการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนยังไม่ได้ขยายให้ครอบคลุมในพื้นที่ชุมชนได้อย่างเพียงพอ และมีงานบริการหลายประเภทไม่สามารถให้บริการได้เบ็ดเสร็จ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ณ เคาน์เตอร์บริการประชาชนไม่มีอำนาจอนุมัติ อนุญาตได้ตามกฎหมาย ต้องส่งเรื่องให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบเป็นผู้อนุมัติ อนุญาตก่อน ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขโดยกำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. .... ว่า ให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติ อนุญาต มอบอำนาจให้แก่ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมหรือศูนย์ที่เรียกชื่ออย่างอื่นได้
3. การดำเนินการในปีงบประมาณ 2549 สำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการดังนี้
(1) ได้ขอขยายระยะเวลาการใช้พื้นที่เคาน์เตอร์บริการประชาชนบริเวณรถไฟฟ้าหมอชิตต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 โดยขอยกเว้นค่าเช่าพื้นที่รวมทั้งเพิ่มงานบริการจาก 22 งานบริการ เป็น 25 งานบริการ และเพิ่มหน่วยงานที่เข้าร่วมจากเดิม 17 หน่วยงาน เป็น 19 หน่วยงาน
(2) ติดตามผลการจัดตั้งและเปิดดำเนินการเคาน์เตอร์บริการของหน่วยงานและจังหวัดต่าง ๆ ที่สามารถพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพมาตรฐานแก่หน่วยงานและจังหวัดที่ให้บริการได้ตามเกณฑ์
(3) ดำเนินการให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในพื้นที่ต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงและจังหวัดจัดตั้งศูนย์บริการร่วม ไม่น้อยกว่ากระทรวง/จังหวัดละ 1 แห่ง
สำหรับปีงบประมาณ 2550 — 2551 สำนักงาน ก.พ.ร. จะขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน โดยปีงบประมาณ 2550 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน จำนวน 15 แห่ง งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนจำนวน 20 แห่ง งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 60 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2551 จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนจำนวน 20 แห่ง งบประมาณแห่งละ 4 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 80 ล้านบาท ซึ่งจะประสานให้มีหน่วยงานเข้ารับช่วงดำเนินงาน เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งอาจมีรายได้จากงานบริการเพียงพอในการนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยไม่ต้องขอใช้งบประมาณประจำปี แต่หากไม่เพียงพอก็อาจจำเป็นต้องของบอุดหนุนเพิ่มเติมต่อไป
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับประเด็นอภิปรายและมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) (รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม ประธานกรรมการฯ) ครั้งที่ 3/2549 วันที่ 25 มกราคม 2549 ไปพิจารณาดำเนินการดังนี้
1. การจัดตั้งศูนย์บริการร่วมในรูปแบบเคาน์เตอร์บริการประชาชนนี้เป็นการดำเนินการในลักษณะการนำบริการของหน่วยงานภาครัฐไปสู่ประชาชน ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอนและกระบวนการทำงาน และขยายการให้บริการประชาชน เป็นการพัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในระยะเริ่มแรก มีการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนนำร่องในพื้นที่แหล่งชุมชน 2 แห่ง จากผลการดำเนินการปรากฏว่าสร้างความพึงพอใจ ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ควรที่จะมีการขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนเพิ่มเติมต่อไป
2. การขยายผลการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนเพิ่มเติมปีงบประมาณ 2550 — 2551 มีภาระใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนอกจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ และค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่แล้ว ค่าใช้จ่ายการเช่าพื้นที่เพื่อตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในห้างสรรพสินค้าจะเป็นภาระงบประมาณต่อเนื่อง ดังนั้น ในการจัดหาสถานที่ในการดำเนินการจัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ สมควรพิจารณาจากสถานที่ที่เจ้าของพื้นที่ยกเว้นค่าเช่าพื้นที่ให้เพื่อมิให้เป็นภาระผูกพันงบประมาณระยะยาว และควรคำนึงถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมชน หรือที่มีประชาชนมาใช้บริการต่าง ๆ อยู่แล้ว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบริการประชาชน เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
3. ขณะนี้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งกำหนดรับรองการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้บังคับแล้ว ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นโดยเฉพาะในภาคเอกชน สำหรับในภาครัฐสามารถดำเนินการได้โดยพระราชกฤษฎีกา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องดังกล่าวแล้ว หากร่างพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแล้ว ประชาชนจะสามารถติดต่อทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งจะมีผลให้หน่วยงานของรัฐสามารถให้บริการแก่ประชาชนได้กว้างขวางขึ้น และสามารถแบ่งเบาภาระและปริมาณงานของเคาน์เตอร์บริการประชาชนได้ สมควรนำไปพิจารณาเพื่อปรับปรุงการดำเนินการของเคาน์เตอร์บริการประชาชนด้วย
4. การบริการประชาชนในเรื่องใดที่ได้มอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปดำเนินการแล้ว ควรพิจารณาส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชนในท้องถิ่นด้วย โดยมอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปพิจารณาดำเนินการแทน ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับบริการจากรัฐได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้จ่าย ให้ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามความเหมาะสมเป็นแห่งๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 มกราคม 2549--จบ--