คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคนและผลการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกสรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกที่จังหวัดอุทัยธานี 2 ราย โดยรายที่ 1 เป็นชาย อายุ 19 ขณะนี้อาการผู้ป่วยดีขึ้นเกือบเป็นปกติแล้ว และรอผลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อทราบผลยืนยันคงจะกลับบ้านได้ รายที่ 2 เป็นชายอายุ 73 ปี ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ เป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ส่วนผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก พ.ศ. 2549 มี จำนวน 2 ราย และเสียชีวิตทั้ง 2 ราย คือ รายที่ 1 จังหวัดพิจิตร อำเภอทับคล้อ เป็นชาย อายุ 17 ปี เริ่มป่วยวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 รายที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสว่างอารมณ์ เป็นชาย อายุ 27 ปี เริ่มป่วยวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 3 สิงหาคม 2549
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 การเตรียมมาตรการสำหรับชุมชน ได้จัดพิมพ์แผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรค ไข้หวัดใหญ่ และแนวทางดำเนินการด้านชุมชนและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ผลิตโปสเตอร์ แผ่นพับแนวทางและคู่มือการป้องกันตัว เพื่อสนับสนุนโรงเรียนและโรงพยาบาล
2.2 การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รวบรวมผลการเฝ้าระวังการ กลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งยังไม่พบการกลายพันธุ์ที่จะทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสามารถติดสู่คนได้ง่ายขึ้น
2.3 ผลการศึกษาการดื้อยา Oseltamivir โดยองค์การเภสัชกรรมได้รายงานความก้าวหน้า เพื่อผลิตไว้ใช้ในประเทศไทย ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการอาหารและยา คาดว่าจะแล้วเสร็จขึ้นทะเบียนและรักษาผู้ป่วยได้ภายในปี พ.ศ. 2549
2.4 การเตรียมการด้านวัคซีนไข้หวัดนก อยู่ระหว่างการดำเนินการทดลอง การเตรียมการด้านการผลิตวัคซีน เนื่องจากต้องใช้เงินทุนจำนวนมากจึงได้บรรจุไว้ในโครงการ Partnership for Development (Modernize Thailand)
2.5 การเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานคร พบว่า สามารถดำเนินงานได้อย่างเข้มแข็ง สำหรับประเด็นการย้ายโรงฆ่าสัตว์ปีกออกจากแหล่งชุมชน กำลังดำเนินการโดยสำนักงานเขตเข้าควบคุมการฆ่าสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ และเจรจากับผู้ประกอบการเพื่อดำเนินการย้ายออกจากชุมชนต่อไป
2.6 การให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศพม่า โดยกรมควบคุมโรคได้จัดฝึกอบรมทีมเคลื่อนที่เร็ว ระหว่างวันที่ 24 — 28 กรกฎาคม 2549 ตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร) กระทรวงการต่างประเทศ
2.7 กระทรวงสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้เชิญประชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 26 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยง ในวันที่ 8 สิงหาคม 2549 เพื่อกำหนดมาตรการเข้มแข็งในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์โรคในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ขณะนี้มีผู้ป่วยอยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกที่จังหวัดอุทัยธานี 2 ราย โดยรายที่ 1 เป็นชาย อายุ 19 ขณะนี้อาการผู้ป่วยดีขึ้นเกือบเป็นปกติแล้ว และรอผลตรวจทาง ห้องปฏิบัติการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อทราบผลยืนยันคงจะกลับบ้านได้ รายที่ 2 เป็นชายอายุ 73 ปี ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ เป็นไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ส่วนผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนก พ.ศ. 2549 มี จำนวน 2 ราย และเสียชีวิตทั้ง 2 ราย คือ รายที่ 1 จังหวัดพิจิตร อำเภอทับคล้อ เป็นชาย อายุ 17 ปี เริ่มป่วยวันที่ 15 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 รายที่ 2 จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสว่างอารมณ์ เป็นชาย อายุ 27 ปี เริ่มป่วยวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 เสียชีวิตวันที่ 3 สิงหาคม 2549
2. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
2.1 การเตรียมมาตรการสำหรับชุมชน ได้จัดพิมพ์แผนเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรค ไข้หวัดใหญ่ และแนวทางดำเนินการด้านชุมชนและกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ผลิตโปสเตอร์ แผ่นพับแนวทางและคู่มือการป้องกันตัว เพื่อสนับสนุนโรงเรียนและโรงพยาบาล
2.2 การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รวบรวมผลการเฝ้าระวังการ กลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไข้หวัดนก ซึ่งยังไม่พบการกลายพันธุ์ที่จะทำให้เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสามารถติดสู่คนได้ง่ายขึ้น
2.3 ผลการศึกษาการดื้อยา Oseltamivir โดยองค์การเภสัชกรรมได้รายงานความก้าวหน้า เพื่อผลิตไว้ใช้ในประเทศไทย ขณะนี้กำลังรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการอาหารและยา คาดว่าจะแล้วเสร็จขึ้นทะเบียนและรักษาผู้ป่วยได้ภายในปี พ.ศ. 2549
2.4 การเตรียมการด้านวัคซีนไข้หวัดนก อยู่ระหว่างการดำเนินการทดลอง การเตรียมการด้านการผลิตวัคซีน เนื่องจากต้องใช้เงินทุนจำนวนมากจึงได้บรรจุไว้ในโครงการ Partnership for Development (Modernize Thailand)
2.5 การเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานคร พบว่า สามารถดำเนินงานได้อย่างเข้มแข็ง สำหรับประเด็นการย้ายโรงฆ่าสัตว์ปีกออกจากแหล่งชุมชน กำลังดำเนินการโดยสำนักงานเขตเข้าควบคุมการฆ่าสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ และเจรจากับผู้ประกอบการเพื่อดำเนินการย้ายออกจากชุมชนต่อไป
2.6 การให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศพม่า โดยกรมควบคุมโรคได้จัดฝึกอบรมทีมเคลื่อนที่เร็ว ระหว่างวันที่ 24 — 28 กรกฎาคม 2549 ตามกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร) กระทรวงการต่างประเทศ
2.7 กระทรวงสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ได้เชิญประชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 26 จังหวัดในพื้นที่เสี่ยง ในวันที่ 8 สิงหาคม 2549 เพื่อกำหนดมาตรการเข้มแข็งในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรค
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 สิงหาคม 2549--จบ--