คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบเงินทดรองราชการเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างระเบียบเงินทดรองราชการเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังสั่งจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อใช้สำหรับปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของรัฐบาลให้แก่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นคราว ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควร
2. กำหนดให้การเบิกจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลังต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ยังค้างชำระ
3. กำหนดให้การชดใช้คืนเงินทดรองราชการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทยอยนำเงินที่ได้รับจากการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของรัฐบาลมาชดใช้คืนเงินทดรองราชการที่ได้เบิกจ่าย
4. กำหนดให้วิธีการเก็บรักษาเงินทดรองราชการเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ ส่วนการบันทึกบัญชีควบคุมเงินทดรองราชการให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลในแต่ละปีเป็นวงเงินที่สูง แต่ไม่สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลมาชำระหนี้พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนได้ภายในวันเดียว จึงใช้วิธีการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อชำระหนี้ก่อน แล้วจึงทยอยประมูลพันธบัตรเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้น การดำเนินการดังกล่าวนี้ส่งผลให้ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยค่อนข้างสูง และเกิดความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้อันเนื่องมาจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและสภาวะในตลาดการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และประหยัดต้นทุนในการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ ตลอดจนการสร้างเสถียรภาพของอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ เห็นควรให้มีเงินทดรองจ่ายจำนวนหนึ่งเพื่อนำมาใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะ จึงได้เสนอร่างระเบียบเงินทดรองราชการเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
ร่างระเบียบเงินทดรองราชการเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังสั่งจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อใช้สำหรับปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของรัฐบาลให้แก่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเป็นคราว ๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควร
2. กำหนดให้การเบิกจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะของกระทรวงการคลังต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ยังค้างชำระ
3. กำหนดให้การชดใช้คืนเงินทดรองราชการให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะทยอยนำเงินที่ได้รับจากการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของรัฐบาลมาชดใช้คืนเงินทดรองราชการที่ได้เบิกจ่าย
4. กำหนดให้วิธีการเก็บรักษาเงินทดรองราชการเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ ส่วนการบันทึกบัญชีควบคุมเงินทดรองราชการให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังชี้แจงว่า เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลในแต่ละปีเป็นวงเงินที่สูง แต่ไม่สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลมาชำระหนี้พันธบัตรที่ครบกำหนดไถ่ถอนได้ภายในวันเดียว จึงใช้วิธีการกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อชำระหนี้ก่อน แล้วจึงทยอยประมูลพันธบัตรเพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้ระยะสั้น การดำเนินการดังกล่าวนี้ส่งผลให้ต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยค่อนข้างสูง และเกิดความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้อันเนื่องมาจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและสภาวะในตลาดการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารและจัดการหนี้สาธารณะของประเทศให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และประหยัดต้นทุนในการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ ตลอดจนการสร้างเสถียรภาพของอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ เห็นควรให้มีเงินทดรองจ่ายจำนวนหนึ่งเพื่อนำมาใช้ในการบริหารหนี้สาธารณะ จึงได้เสนอร่างระเบียบเงินทดรองราชการเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--