คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ 2549 ดังนี้
1. การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ 2549 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 — 31 มกราคม 2550 ได้รับการรับรองจากสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548 และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานมหกรรมโลก (BIE) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548
2. การบริหารงานและการดำเนินการ
2.1 การจัดองค์กรเพื่อบริหารงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549
1) คณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
2) คณะกรรมการบริหารงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
3) คณะอนุกรรมการด้านสถานที่และสิ่งก่อสร้าง มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
4) คณะอนุกรรมการด้านวิชาการและต่างประเทศ มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
5) จัดตั้งสำนักงานจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีอธิบดีกรมวิชาการเป็นผู้อำนวยการ
2.2 งบประมาณที่ได้รับจำนวน 2,077.68 ล้านบาท ได้นำไปดำเนินการ ดังนี้
2.2.1 ทำสัญญาจ้างสิ่งก่อสร้างพร้อมสาธารณูปโภคและภูมิสถาปัตย์ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 กับ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท นงนุชแลนด์ สเคปแอนด์ การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด (กิจการร่วมค้า CKNNL) วงเงิน 1,494,680,000 บาท
2.2.2 ทำสัญญาจ้างผู้บริหารจัดการงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 กับบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด วงเงิน 396 ล้านบาท
2.2.3 ส่วนที่เหลือ 187 ล้านบาท กรมวิชาการเกษตรนำไปดำเนินการในการจ้างออกแบบควบคุมงาน โอนให้กรมชลประทานดำเนินการสร้างแหล่งน้ำ และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการอื่น ๆ
3. การปรับปรุงการดำเนินงาน
จากการที่ได้ดำเนินการปรับระดับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจากระดับ A2B1 เป็นการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกระดับ A1 ประกอบกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ย้ายออกไปจากพื้นที่จัดงานฯ ทำให้ต้องเพิ่ม พื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจากเดิมพื้นที่ประมาณ 220 ไร่ เป็นพื้นที่ประมาณ 470 ไร่ และเพิ่มกิจกรรมในการจัดงานฯ จำเป็นต้องของบประมาณเพิ่ม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
4. ความก้าวหน้าของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549
4.1 ด้านงานก่อสร้าง ในภาพรวมดำเนินการได้ 44.25% เร็วกว่าแผน 4.08%
1) งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างดำเนินการได้ 50.96% เร็วกว่าแผน 6.46 %
2) สาธารณูปโภค ดำเนินการได้ 28.58% ช้ากว่าแผน 1.07% (สามารถเร่งดำเนินงานได้ทันตามกำหนด)
3) ภูมิสถาปัตย์ ดำเนินการได้ 41.68% เร็วกว่าแผน 1.95%
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะส่งมอบอาคารและพื้นที่ให้ประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานภายในประเทศที่เข้าร่วมจัดงานได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2549 (ก่อนเริ่มงาน 6 เดือน)
4.2 ด้านต่างประเทศ
1) ประเทศต่าง ๆ ตอบรับเข้าร่วมงานแล้ว 22 ประเทศ อยู่ระหว่างการพิจารณาการเข้าร่วมอีก 23 ประเทศ
2) หน่วยงาน องค์กรภายในประเทศตอบรับเข้าร่วมงานแล้ว 17 องค์กร
4.3 ด้านวิชาการและการจัดงาน
ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพิ่มเติมจากข้อ 2.1 จำนวน 20 คณะ เพื่อพิจารณางาน - กิจกรรมที่จะดำเนินงาน เช่น การจัดสวนและนิทรรศการ การประกวดทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ การจัดสัมมนานานาชาติ การจัดการแสดงและวัฒนธรรมนานาชาติและของไทย งานด้านเฉลิมพระเกียรติ งานอำนวยความสะดวก (จราจร รักษาความปลอดภัย สื่อสาร สาธารณสุข พิธีการ — ต้อนรับ ฯลฯ) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและการดำเนินการ
4.4 การประชาสัมพันธ์
ได้ทำการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ ทั้งการแถลงข่าวและการประชา-สัมพันธ์ สัญจรในต่างประเทศ การประชุมชี้แจงกลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ ซึ่งจะได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--
1. การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกฯ 2549 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 — 31 มกราคม 2550 ได้รับการรับรองจากสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548 และได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานมหกรรมโลก (BIE) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548
2. การบริหารงานและการดำเนินการ
2.1 การจัดองค์กรเพื่อบริหารงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549
1) คณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
2) คณะกรรมการบริหารงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
3) คณะอนุกรรมการด้านสถานที่และสิ่งก่อสร้าง มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
4) คณะอนุกรรมการด้านวิชาการและต่างประเทศ มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน
5) จัดตั้งสำนักงานจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 มีอธิบดีกรมวิชาการเป็นผู้อำนวยการ
2.2 งบประมาณที่ได้รับจำนวน 2,077.68 ล้านบาท ได้นำไปดำเนินการ ดังนี้
2.2.1 ทำสัญญาจ้างสิ่งก่อสร้างพร้อมสาธารณูปโภคและภูมิสถาปัตย์ การจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 กับ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และบริษัท นงนุชแลนด์ สเคปแอนด์ การ์เด้น ดีไซน์ จำกัด (กิจการร่วมค้า CKNNL) วงเงิน 1,494,680,000 บาท
2.2.2 ทำสัญญาจ้างผู้บริหารจัดการงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 กับบริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด วงเงิน 396 ล้านบาท
2.2.3 ส่วนที่เหลือ 187 ล้านบาท กรมวิชาการเกษตรนำไปดำเนินการในการจ้างออกแบบควบคุมงาน โอนให้กรมชลประทานดำเนินการสร้างแหล่งน้ำ และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการอื่น ๆ
3. การปรับปรุงการดำเนินงาน
จากการที่ได้ดำเนินการปรับระดับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจากระดับ A2B1 เป็นการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกระดับ A1 ประกอบกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ย้ายออกไปจากพื้นที่จัดงานฯ ทำให้ต้องเพิ่ม พื้นที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจากเดิมพื้นที่ประมาณ 220 ไร่ เป็นพื้นที่ประมาณ 470 ไร่ และเพิ่มกิจกรรมในการจัดงานฯ จำเป็นต้องของบประมาณเพิ่ม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด ซึ่งจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป
4. ความก้าวหน้าของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549
4.1 ด้านงานก่อสร้าง ในภาพรวมดำเนินการได้ 44.25% เร็วกว่าแผน 4.08%
1) งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างดำเนินการได้ 50.96% เร็วกว่าแผน 6.46 %
2) สาธารณูปโภค ดำเนินการได้ 28.58% ช้ากว่าแผน 1.07% (สามารถเร่งดำเนินงานได้ทันตามกำหนด)
3) ภูมิสถาปัตย์ ดำเนินการได้ 41.68% เร็วกว่าแผน 1.95%
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะส่งมอบอาคารและพื้นที่ให้ประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานภายในประเทศที่เข้าร่วมจัดงานได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2549 (ก่อนเริ่มงาน 6 เดือน)
4.2 ด้านต่างประเทศ
1) ประเทศต่าง ๆ ตอบรับเข้าร่วมงานแล้ว 22 ประเทศ อยู่ระหว่างการพิจารณาการเข้าร่วมอีก 23 ประเทศ
2) หน่วยงาน องค์กรภายในประเทศตอบรับเข้าร่วมงานแล้ว 17 องค์กร
4.3 ด้านวิชาการและการจัดงาน
ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพิ่มเติมจากข้อ 2.1 จำนวน 20 คณะ เพื่อพิจารณางาน - กิจกรรมที่จะดำเนินงาน เช่น การจัดสวนและนิทรรศการ การประกวดทั้งระดับนานาชาติและระดับชาติ การจัดสัมมนานานาชาติ การจัดการแสดงและวัฒนธรรมนานาชาติและของไทย งานด้านเฉลิมพระเกียรติ งานอำนวยความสะดวก (จราจร รักษาความปลอดภัย สื่อสาร สาธารณสุข พิธีการ — ต้อนรับ ฯลฯ) ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาและการดำเนินการ
4.4 การประชาสัมพันธ์
ได้ทำการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศ ทั้งการแถลงข่าวและการประชา-สัมพันธ์ สัญจรในต่างประเทศ การประชุมชี้แจงกลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และการเผยแพร่ ซึ่งจะได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549--จบ--