คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานความเสียหายและความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์และรายงานความเสียหาย 5 จังหวัด (อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย ลำปาง และน่าน) พื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 26 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1,119 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 319,590 คน 101,475 ครัวเรือน เสียชีวิต 83 คน สูญหาย 33 คน บาดเจ็บ 15 คน ด้านที่อยู่อาศัย เสียหายทั้งหลัง 674 หลัง เสียหายบางส่วน 2,772 หลัง
ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2549
อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง รวม
ผู้เสียชีวิต 71 7 5 83
ผู้สูญหาย 32 1 33
ผู้บาดเจ็บ 15 15
เด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ 24 2 26
2 2 2
20 2 22 22
2 2 2
เด็กที่ได้รับผลกระทบ 55 143 251 459
ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบ 98 134 232
คนพิการจากเหตุการณ์ 2 - 2
คนพิการที่ได้รับผลกระทบ 12 12
การให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดภาคเหนือตอนบน
1. การให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน/วิกฤต
1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดภาคเหนือตอนบน และจัดชุดปฏิบัติการภาคสนามจากส่วนกลาง โดยมี รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นหัวหน้าชุดและนักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคม ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดประสบภัย คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง
1.2 ดำเนินการสำรวจเยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษาแนะนำฟื้นฟูสภาพจิตใจในภาวะวิกฤต และสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ เพื่อกำหนดแผนการช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่
1.3 การจัดหาที่พักพิงชั่วคราว โดยมอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดสร้างบ้านพักชั่วคราวในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัย พร้อมทั้งให้หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ ศูนย์สงเคราะห์และพัฒนาอาชีพสตรี บ้านพักเด็กและครอบครัว ศูนย์สงเคราะห์และพัฒนาชาวเขา และนิคมสร้างตนเอง ให้การสนับสนุนและจัดหาที่พักพิงให้แก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยเป็นการชั่วคราว
2. การฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพผู้ประสบอุทกภัย ครอบครัวและชุมชน
2.1 การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจและการดำรงชีวิต
- การเยี่ยมเยียนครอบครัวและให้การสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค
- การสงเคราะห์ครอบครัวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ
- การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวเป็น นมผง อาหารเสริม อุปกรณ์การศึกษา ชุดนักเรียน นักศึกษา ทุนการศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นในการเลี้ยงดูเด็ก
- การสงเคราะห์เงินเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเนื่องจากเหตุการณ์ฯ และให้การสนับสนุนเครื่องช่วยความพิการ และกายอุปกรณ์สำหรับคนพิการ
- การสงเคราะห์เงินเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน
- การซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน ดำเนินการที่ อ.ช่อแฮ จ.แพร่
2.2 การช่วยเหลือฟื้นฟูด้านอาชีพและรายได้
- การฝึกอาชีพระยะสั้นในชุมชน ในกลุ่มสตรี กลุ่มคนพิการ และวัยแรงงาน ตามความต้องการของชุมชน ขณะนี้ดำเนินการที่ จ.แพร่ จำนวน 70 ราย
- การสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ และเงินทุนประกอบอาชีพ
2.3 การช่วยเหลือฟื้นฟูด้านที่อยู่อาศัย
- การจัดหาพื้นที่และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยถาวรให้แก่ผู้ประสบภัย ในรูปของบ้าน knockdown และจัดสร้างขึ้นในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่
- การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่เสียหาย
2.4 การช่วยเหลือฟื้นฟูครอบครัวและชุมชน
- การสงเคราะห์ช่วยเหลือเงินจัดการศพผู้สูงอายุ
- การซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่จัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ
- การสนับสนุนเครื่องเล่นพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ประสบภัย
- สนับสนุนและจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนที่ประสบภัย ตามความต้องการของชุมชน และพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้มีการดำเนินการและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชั่วคราว 1 แห่ง ที่ บ้านนาตอง ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ มีเด็กเข้ารับบริการ 25 ราย
- การจัดโครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก
- การจัดค่ายครอบครัวสัมพันธ์เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ
- การส่งเสริมการรวมกลุ่ม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อการฟื้นฟูศักยภาพชุมชน ภายใต้กรอบแผนบูรณาการฟื้นฟูชุมชนในระดับพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนของ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยเครือข่ายชุมชนในพื้นที่และเครือข่าย ศตจ.ปชช.
3. การช่วยเหลือฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์
3.1 การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจและการดำรงชีวิต
- การเยี่ยมเยียนครอบครัว ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ
- การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กให้แก่เครือญาติที่อุปการะเป็นรายเดือน ในรูปของการจัดบริการ “ครอบครัวทดแทน” หรือ “Foster Home”
- การจัดหาครอบครัวบุญธรรมให้ในกรณีเด็กไม่มีญาติดูแล หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ โดยในระหว่างดำเนินการจักให้เด็กเข้าอยู่ในหน่วยงานที่มีความเหมาะสมตามแต่กรณี อาทิ สถานสงเคราะห์เด็ก บ้านพักเด็กและครอบครัว สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิด้านเด็ก เป็นต้น
3.2 การสนับสนุนด้านการศึกษา
- การให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องจนจบระดับอุดมศึกษา หรือการฝึกอบรมวิชาชีพตามความถนัดและศักยภาพของเด็ก
- การประสานส่งต่อเพื่อเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ หรือโรงเรียนในรูปแบบสงเคราะห์อื่น ๆ
- การสนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา และชุดนักเรียนนักศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--
1. สรุปสถานการณ์และรายงานความเสียหาย 5 จังหวัด (อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย ลำปาง และน่าน) พื้นที่ประสบอุทกภัย รวม 26 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ 165 ตำบล 1,119 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน จำนวน 319,590 คน 101,475 ครัวเรือน เสียชีวิต 83 คน สูญหาย 33 คน บาดเจ็บ 15 คน ด้านที่อยู่อาศัย เสียหายทั้งหลัง 674 หลัง เสียหายบางส่วน 2,772 หลัง
ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2549
อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน ลำปาง รวม
ผู้เสียชีวิต 71 7 5 83
ผู้สูญหาย 32 1 33
ผู้บาดเจ็บ 15 15
เด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ 24 2 26
2 2 2
20 2 22 22
2 2 2
เด็กที่ได้รับผลกระทบ 55 143 251 459
ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบ 98 134 232
คนพิการจากเหตุการณ์ 2 - 2
คนพิการที่ได้รับผลกระทบ 12 12
การให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยจังหวัดภาคเหนือตอนบน
1. การให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน/วิกฤต
1.1 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดภาคเหนือตอนบน และจัดชุดปฏิบัติการภาคสนามจากส่วนกลาง โดยมี รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นหัวหน้าชุดและนักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคม ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดประสบภัย คือ จังหวัดอุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ น่าน และลำปาง
1.2 ดำเนินการสำรวจเยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษาแนะนำฟื้นฟูสภาพจิตใจในภาวะวิกฤต และสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ เพื่อกำหนดแผนการช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่
1.3 การจัดหาที่พักพิงชั่วคราว โดยมอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จัดสร้างบ้านพักชั่วคราวในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และสุโขทัย พร้อมทั้งให้หน่วยงานในสังกัด ได้แก่ ศูนย์สงเคราะห์และพัฒนาอาชีพสตรี บ้านพักเด็กและครอบครัว ศูนย์สงเคราะห์และพัฒนาชาวเขา และนิคมสร้างตนเอง ให้การสนับสนุนและจัดหาที่พักพิงให้แก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัยเป็นการชั่วคราว
2. การฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพผู้ประสบอุทกภัย ครอบครัวและชุมชน
2.1 การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจและการดำรงชีวิต
- การเยี่ยมเยียนครอบครัวและให้การสนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภค
- การสงเคราะห์ครอบครัวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ
- การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวเป็น นมผง อาหารเสริม อุปกรณ์การศึกษา ชุดนักเรียน นักศึกษา ทุนการศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นในการเลี้ยงดูเด็ก
- การสงเคราะห์เงินเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการเนื่องจากเหตุการณ์ฯ และให้การสนับสนุนเครื่องช่วยความพิการ และกายอุปกรณ์สำหรับคนพิการ
- การสงเคราะห์เงินเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน
- การซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าครัวเรือน ดำเนินการที่ อ.ช่อแฮ จ.แพร่
2.2 การช่วยเหลือฟื้นฟูด้านอาชีพและรายได้
- การฝึกอาชีพระยะสั้นในชุมชน ในกลุ่มสตรี กลุ่มคนพิการ และวัยแรงงาน ตามความต้องการของชุมชน ขณะนี้ดำเนินการที่ จ.แพร่ จำนวน 70 ราย
- การสนับสนุนการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ และเงินทุนประกอบอาชีพ
2.3 การช่วยเหลือฟื้นฟูด้านที่อยู่อาศัย
- การจัดหาพื้นที่และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัยถาวรให้แก่ผู้ประสบภัย ในรูปของบ้าน knockdown และจัดสร้างขึ้นในพื้นที่เดิมและพื้นที่ใหม่
- การซ่อมแซมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุที่เสียหาย
2.4 การช่วยเหลือฟื้นฟูครอบครัวและชุมชน
- การสงเคราะห์ช่วยเหลือเงินจัดการศพผู้สูงอายุ
- การซ่อมแซมปรับปรุงสถานที่จัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ
- การสนับสนุนเครื่องเล่นพัฒนาการเด็กปฐมวัยให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ประสบภัย
- สนับสนุนและจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในชุมชนที่ประสบภัย ตามความต้องการของชุมชน และพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้มีการดำเนินการและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชั่วคราว 1 แห่ง ที่ บ้านนาตอง ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ มีเด็กเข้ารับบริการ 25 ราย
- การจัดโครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก
- การจัดค่ายครอบครัวสัมพันธ์เพื่อฟื้นฟูสภาพจิตใจ
- การส่งเสริมการรวมกลุ่ม และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของเครือข่ายเพื่อการฟื้นฟูศักยภาพชุมชน ภายใต้กรอบแผนบูรณาการฟื้นฟูชุมชนในระดับพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฟื้นฟูชุมชนของ อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ โดยเครือข่ายชุมชนในพื้นที่และเครือข่าย ศตจ.ปชช.
3. การช่วยเหลือฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กกำพร้าจากเหตุการณ์
3.1 การช่วยเหลือฟื้นฟูสภาพจิตใจและการดำรงชีวิต
- การเยี่ยมเยียนครอบครัว ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้เงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพ
- การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กให้แก่เครือญาติที่อุปการะเป็นรายเดือน ในรูปของการจัดบริการ “ครอบครัวทดแทน” หรือ “Foster Home”
- การจัดหาครอบครัวบุญธรรมให้ในกรณีเด็กไม่มีญาติดูแล หรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ โดยในระหว่างดำเนินการจักให้เด็กเข้าอยู่ในหน่วยงานที่มีความเหมาะสมตามแต่กรณี อาทิ สถานสงเคราะห์เด็ก บ้านพักเด็กและครอบครัว สังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิด้านเด็ก เป็นต้น
3.2 การสนับสนุนด้านการศึกษา
- การให้ทุนการศึกษาต่อเนื่องจนจบระดับอุดมศึกษา หรือการฝึกอบรมวิชาชีพตามความถนัดและศักยภาพของเด็ก
- การประสานส่งต่อเพื่อเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ หรือโรงเรียนในรูปแบบสงเคราะห์อื่น ๆ
- การสนับสนุนอุปกรณ์การศึกษา และชุดนักเรียนนักศึกษา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 มิถุนายน 2549--จบ--