แท็ก
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักนายกรัฐมนตรี
ร่างพระราชบัญญัติ
วิษณุ เครืองาม
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานกรรมการในขณะนั้น ที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับประเด็นอภิปรายและความเห็นสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาด้วย
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มี “คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” และกำหนดอำนาจหน้าที่
2. จัดตั้งสำนักงานคณะกรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยเป็นสำนักงานในสังกัดของสำนักคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่
3. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (ร่างมาตรา21 — มาตรา 24) การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลรวมทั้งการเก็บรักษาการแก้ไขและการโอนข้อมูลส่วนบุคคล
4. กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5. กำหนดความรับผิดทางแพ่ง และบทลงโทษทางอาญา
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานว่า ปัจจุบันปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เปิดเผยหรือเผยแพร่จนทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดช่องว่างของกฎหมายที่มีอยู่ จึงสมควรกำหนดให้มีบทบัญญัติของกฎหมายที่มีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในข้อมูลส่วนบุคคลโดยวางหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนการเพิกถอนข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือมิใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มี “คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” และกำหนดอำนาจหน้าที่
2. จัดตั้งสำนักงานคณะกรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยเป็นสำนักงานในสังกัดของสำนักคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ พร้อมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่
3. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (ร่างมาตรา21 — มาตรา 24) การใช้และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลรวมทั้งการเก็บรักษาการแก้ไขและการโอนข้อมูลส่วนบุคคล
4. กำหนดสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5. กำหนดความรับผิดทางแพ่ง และบทลงโทษทางอาญา
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรายงานว่า ปัจจุบันปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เปิดเผยหรือเผยแพร่จนทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดช่องว่างของกฎหมายที่มีอยู่ จึงสมควรกำหนดให้มีบทบัญญัติของกฎหมายที่มีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในข้อมูลส่วนบุคคลโดยวางหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ตลอดจนการเพิกถอนข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือมิใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาเพื่อดำเนินการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 สิงหาคม 2549--จบ--