คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ประจำปี 2548 สรุปได้ดังนี้
1. โรงเรียนในฝันที่ได้รับการรับรองคุณภาพว่าสามารถเป็นต้นแบบได้ จำนวน 552 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 59.9 ของโรงเรียนในโครงการทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549)
2. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และโรงเรียนทั่วประเทศ ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ตามหนังสือที่ มศ 0003/472 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2549 พบว่า โรงเรียนในฝันมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยมากกว่า 2.51 จากคะแนนเต็ม 3.0)ร้อยละ 64.24 ซึ่งสูงกว่าผลการประเมินภาพรวมโรงเรียนทั่วประเทศ ที่มีโรงเรียนเพียงร้อยละ 41.91 ซึ่งแสดงว่าสัดส่วนของโรงเรียนในฝันที่มีคุณภาพสูงกว่าโรงเรียนปกติ
3. โรงเรียนในฝันเป็นโรงเรียนที่ทำให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจจริง โดยเน้นการปฏิบัติจริงและค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ดังนั้น คุณภาพนักเรียนโรงเรียนในฝันที่ปรากฏคือ นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ รักการอ่าน การค้นคว้า สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นคนดี มีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สามารถนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ สืบสานวัฒนธรรมไทยอย่างมั่นใจในตนเอง
4. โรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการในทุกมิติ เน้นการบริหารจัดการที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง มีการระดมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันว่า การศึกษาเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี มีบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร ผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น โรงเรียนให้บริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีระบบแนะแนวให้คำปรึกษาการดำเนินชีวิต ให้คำปรึกษาทางวิชาการตามกลุ่มสาระต่าง ๆ โรงเรียนในฝันได้พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นเน้นการบูรณาการการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต มีกิจกรรมที่สะท้อนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กิจกรรมการหารายได้ระหว่างเรียน กิจกรรมการประกวดหรือแข่งขันผลงานการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอนไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่มีชีวิต สนุก ท้าทาย ตื่นเต้น ไม่ใช่เรียนจากตำราเพียงอย่างเดียว ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียน ป้อนคำถามให้นักเรียนชวนคิด ชวนวิเคราะห์ สามารถสอนจากสื่อการสอนและโปรแกรมการสอนที่ทันสมัย มีการปรับปรุงแผนการสอนให้นักเรียนเรียนได้ทัน มีระบบการซ่อมเสริม ช่วยเหลือแก้ไขเรื่องการเรียนและพฤติกรรม
6. โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้มีความรวดเร็ว คล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีการเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ โดยได้พัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และห้องสืบค้นเพื่อการเรียนรู้ ให้มีสื่อการเรียนรู้ ทั้งที่เป็น Software และ Hardware เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น ทำความเข้าใจเรื่องที่ยากต่อการเรียนรู้ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภายในห้องสมุดเป็นระบบ e-library เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างเพียงพอ
7. โรงเรียนมีระบบภาคีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีสมาคมผู้ปกครอง ศิษย์เก่า อบต. หรือ อบจ. สนับสนุนโรงเรียนมีทรัพยากรที่เหมาะสมใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ได้แก่ ครูสอนตรงตามวุฒิหรือตามความรู้ความสามารถครูใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ดูแลเครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน รวมทั้งเปิดให้บริการห้องสมุดเต็มเวลาและนอกเวลาเรียน
8. โรงเรียนได้พัฒนาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า อาคารสถานที่เป็นระเบียบ ร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย สะดวก ทันสมัย บรรยากาศอบอุ่น ส่งเสริมให้นักเรียนอยากมาโรงเรียนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนในการศึกษาหาความรู้ หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาศักยภาพขอตนเอง เช่น การบริหารจัดการร้านสหกรณ์ ธนาคารโรงเรียน ห้องพยาบาล การเป็นเว็บมาสเตอร์ การบริหารคลินิกแก้ไขการเรียนไม่ทันของเพื่อนและนักเรียนรุ่นน้อง การจัดทำหนังสือพิมพ์ของนักเรียน การดูแลสวนหย่อมและการทำแปลงเกษตรกร รวมทั้งการช่วยเหลือชุมชน โดยกลุ่ม อ.ย.น้อย หรือการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้กับเกษตรกร เป็นต้น
9. ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนร่วมสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนแสดงออกถึงความรักศรัทธาโรงเรียน ร่วมระดมสรรพกำลังเพื่อการพัฒนาโรงเรียน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน ร่วมชื่นชม และเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกับครูและผู้บริหารตระหนักว่า การศึกษาเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมกันพัฒนา
10. ผู้ปกครองนักเรียนในชุมชนโดยรอบโรงเรียนในฝันมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของโรงเรียนมากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2549 มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนโรงเรียนในฝันเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถรับเข้าเรียนได้หมดทุกคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนในฝันมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของชุมชน สามารถทำหน้าที่เป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพ สกัดการเข้าเรียนโรงเรียนดังในเมืองได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการสอบเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนในฝันได้คณะที่ดี สถาบันที่มีชื่อเสียงมากขึ้น รวมทั้งสอบได้ทุนรัฐบาลในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนมากขึ้น
11. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฝันระยะต่อไป เพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการสู่คุณภาพการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนของโรงเรียน โดยจะส่งเสริมการจัดตั้งและความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนชั้นนำของประเทศ สนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนขนาดเล็ก ลดภาระงานที่นอกเหนืองานสอนครู ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนในท้องถิ่น พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารของโรงเรียน จัดการแข่งขันและประกวดผลงานของนักเรียนจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารและครูโรงเรียนในฝัน กระตุ้นในรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ ให้เน้นความเข้มข้นของการเรียนการสอนของโรงเรียน บริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูเกี่ยวกับการแก้ปัญหา (Problem Solving) การตั้งคำถาม (Inquiry-base) การทำโครงงานและการวิจัย (Project and Research base) และการปรับปรุงแก้ไขใบงานของครูให้เน้นกระบวนการคิดของผู้เรียนมากขึ้น การใช้โปรแกรมและการใช้สื่อการเรียนการสอน มอบหมายหน้าที่ให้สภานักเรียนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาโรงเรียน ส่งเสริมด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมกิจกรรมความคิด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--
1. โรงเรียนในฝันที่ได้รับการรับรองคุณภาพว่าสามารถเป็นต้นแบบได้ จำนวน 552 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 59.9 ของโรงเรียนในโครงการทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2549)
2. ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และโรงเรียนทั่วประเทศ ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ตามหนังสือที่ มศ 0003/472 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2549 พบว่า โรงเรียนในฝันมีผลการประเมินอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยมากกว่า 2.51 จากคะแนนเต็ม 3.0)ร้อยละ 64.24 ซึ่งสูงกว่าผลการประเมินภาพรวมโรงเรียนทั่วประเทศ ที่มีโรงเรียนเพียงร้อยละ 41.91 ซึ่งแสดงว่าสัดส่วนของโรงเรียนในฝันที่มีคุณภาพสูงกว่าโรงเรียนปกติ
3. โรงเรียนในฝันเป็นโรงเรียนที่ทำให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจจริง โดยเน้นการปฏิบัติจริงและค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง ดังนั้น คุณภาพนักเรียนโรงเรียนในฝันที่ปรากฏคือ นักเรียนมีนิสัยใฝ่รู้ รักการอ่าน การค้นคว้า สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นคนดี มีคุณธรรม รู้จักคิดวิเคราะห์ มีทักษะการดำรงชีวิตในสังคมยุคใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ สามารถนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์ สืบสานวัฒนธรรมไทยอย่างมั่นใจในตนเอง
4. โรงเรียนได้ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการในทุกมิติ เน้นการบริหารจัดการที่คำนึงถึงประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง มีการระดมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ศิษย์เก่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันว่า การศึกษาเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม โรงเรียนมีระบบบริหารจัดการที่ดี มีบรรยากาศและวัฒนธรรมการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร ผนึกพลังสร้างสรรค์และร่วมรับผิดชอบ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น โรงเรียนให้บริการการศึกษาได้อย่างทั่วถึงกลุ่มเป้าหมาย และมีระบบแนะแนวให้คำปรึกษาการดำเนินชีวิต ให้คำปรึกษาทางวิชาการตามกลุ่มสาระต่าง ๆ โรงเรียนในฝันได้พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นเน้นการบูรณาการการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต มีกิจกรรมที่สะท้อนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กิจกรรมการหารายได้ระหว่างเรียน กิจกรรมการประกวดหรือแข่งขันผลงานการเรียนรู้ของผู้เรียน
5. ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอนไปสู่การจัดการเรียนรู้ที่มีชีวิต สนุก ท้าทาย ตื่นเต้น ไม่ใช่เรียนจากตำราเพียงอย่างเดียว ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียน ป้อนคำถามให้นักเรียนชวนคิด ชวนวิเคราะห์ สามารถสอนจากสื่อการสอนและโปรแกรมการสอนที่ทันสมัย มีการปรับปรุงแผนการสอนให้นักเรียนเรียนได้ทัน มีระบบการซ่อมเสริม ช่วยเหลือแก้ไขเรื่องการเรียนและพฤติกรรม
6. โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้มีความรวดเร็ว คล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีการเพิ่มศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ โดยได้พัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และห้องสืบค้นเพื่อการเรียนรู้ ให้มีสื่อการเรียนรู้ ทั้งที่เป็น Software และ Hardware เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น ทำความเข้าใจเรื่องที่ยากต่อการเรียนรู้ ให้เข้าใจง่าย นอกจากนั้นได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ภายในห้องสมุดเป็นระบบ e-library เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างเพียงพอ
7. โรงเรียนมีระบบภาคีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ศึกษานิเทศก์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีสมาคมผู้ปกครอง ศิษย์เก่า อบต. หรือ อบจ. สนับสนุนโรงเรียนมีทรัพยากรที่เหมาะสมใช้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ได้แก่ ครูสอนตรงตามวุฒิหรือตามความรู้ความสามารถครูใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ดูแลเครื่องมือ/อุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน รวมทั้งเปิดให้บริการห้องสมุดเต็มเวลาและนอกเวลาเรียน
8. โรงเรียนได้พัฒนาสิ่งแวดล้อม และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า อาคารสถานที่เป็นระเบียบ ร่มรื่น สะอาด ปลอดภัย สะดวก ทันสมัย บรรยากาศอบอุ่น ส่งเสริมให้นักเรียนอยากมาโรงเรียนกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และใช้แหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนในการศึกษาหาความรู้ หรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีการสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ให้นักเรียนได้ฝึกพัฒนาศักยภาพขอตนเอง เช่น การบริหารจัดการร้านสหกรณ์ ธนาคารโรงเรียน ห้องพยาบาล การเป็นเว็บมาสเตอร์ การบริหารคลินิกแก้ไขการเรียนไม่ทันของเพื่อนและนักเรียนรุ่นน้อง การจัดทำหนังสือพิมพ์ของนักเรียน การดูแลสวนหย่อมและการทำแปลงเกษตรกร รวมทั้งการช่วยเหลือชุมชน โดยกลุ่ม อ.ย.น้อย หรือการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวให้กับเกษตรกร เป็นต้น
9. ผู้ปกครอง ชุมชน กรรมการสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียนร่วมสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียนแสดงออกถึงความรักศรัทธาโรงเรียน ร่วมระดมสรรพกำลังเพื่อการพัฒนาโรงเรียน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน ร่วมชื่นชม และเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกับครูและผู้บริหารตระหนักว่า การศึกษาเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องร่วมกันพัฒนา
10. ผู้ปกครองนักเรียนในชุมชนโดยรอบโรงเรียนในฝันมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของโรงเรียนมากขึ้น โดยในปีการศึกษา 2549 มีนักเรียนสมัครเข้าเรียนโรงเรียนในฝันเป็นจำนวนมาก จนไม่สามารถรับเข้าเรียนได้หมดทุกคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนในฝันมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของชุมชน สามารถทำหน้าที่เป็นโรงเรียนดีมีคุณภาพ สกัดการเข้าเรียนโรงเรียนดังในเมืองได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการสอบเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนในฝันได้คณะที่ดี สถาบันที่มีชื่อเสียงมากขึ้น รวมทั้งสอบได้ทุนรัฐบาลในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนมากขึ้น
11. แนวทางการพัฒนาโรงเรียนในฝันระยะต่อไป เพื่อมุ่งสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการสู่คุณภาพการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนของโรงเรียน โดยจะส่งเสริมการจัดตั้งและความร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง ส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนชั้นนำของประเทศ สนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนขนาดเล็ก ลดภาระงานที่นอกเหนืองานสอนครู ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของประชาชนในท้องถิ่น พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารของโรงเรียน จัดการแข่งขันและประกวดผลงานของนักเรียนจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้บริหารและครูโรงเรียนในฝัน กระตุ้นในรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ ให้เน้นความเข้มข้นของการเรียนการสอนของโรงเรียน บริหารจัดการองค์ความรู้ (Knowledge Management) ในห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูเกี่ยวกับการแก้ปัญหา (Problem Solving) การตั้งคำถาม (Inquiry-base) การทำโครงงานและการวิจัย (Project and Research base) และการปรับปรุงแก้ไขใบงานของครูให้เน้นกระบวนการคิดของผู้เรียนมากขึ้น การใช้โปรแกรมและการใช้สื่อการเรียนการสอน มอบหมายหน้าที่ให้สภานักเรียนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาโรงเรียน ส่งเสริมด้านความเป็นผู้นำของผู้บริหารในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และส่งเสริมกิจกรรมความคิด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 เมษายน 2549--จบ--