คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์สรุปสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดน่าน และ แนวทางแก้ไข ดังนี้
1. สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดน่าน
ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงวันที่ 18-19 สิงหาคม 2549 ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอต่างๆ รวม 12 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2549 สรุปได้ดังนี้
1) อำเภอท่าวังผา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าวังผา(หมู่ที่ 1-7) ต.ศรีภูมิ(หมู่ที่ 1-12)
ต.ริม(หมู่ที่ 1-12) ต.แสนทอง(หมู่ที่ 1-8) ต.ผาทอง(หมู่ที่ 1-8) ต.ตาลชุม(หมู่ที่1) ต.ผาตอ(หมู่ที่ 1-7) ต.ป่าคา (หมู่ที่1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 ม. สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 22 ส.ค.2549
2) อำเภอเมืองน่าน ในเขตเทศบาลเมืองน่าน บริเวณสำนักงานป่าไม้เขต อ.เมืองน่าน (N.1) ระดับน้ำเริ่มล้นตลิ่งฝั่งซ้าย เมื่อเวลา 12.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.12 ม.(ระดับตลิ่งฝั่งซ้าย 7.00 ม.) และเริ่มล้นตลิ่งฝั่งขวา เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.39 ม.(ระดับตลิ่งฝั่งขวา7.30 ม.) โดยมีระดับน้ำสูงสุดที่ 8.42 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 2,900 ลบ.ม./วินาที (เวลา 14.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.49) ทำให้น้ำท่วมชุมชนท่าลี่ ชุมชนบ้านพวงพยอม ชุมชนพญาภู ชุมชนบ้านดอนสีเสริม ชุมชนบ้านสวนตาลล่าง ชุมชนบ้านพระเนตร ชุมชนบ้านภูมินทร์ ชุมชนบ้านดอนแก้ว ชุมชนบ้านเมืองเล็น ชุมชนบ้านท่าช้าง ชุมชนบ้านดอนมูล ชุมชนบ้านวังหมอ ชุมชนบ้านหาดปลาแห้ง และชุมชนบ้านผาขวาง และระดับน้ำเริ่มลดลง เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.2549 ปริมาณน้ำจำนวนนี้จะไหลลงไปที่ อ.เวียงสา สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 23 ส.ค.2549
3) อำเภอเวียงสา ปริมาณน้ำจาก อ.เมือง ไหลไปสู่ อ.เวียงสา ได้เริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมบริเวณริมตลิ่งลำน้ำน่านใน อ.เวียงสาเช้าวันที่ 22 ส.ค.49 ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ต.กลางเวียง(หมู่ที่ 2 ,3, 4, 5, 7, 13, 14) ต.น้ำปั้ว (หมู่ที่2,6) ต.ไหล่น่าน(หมู่ที่1,2,8) ต.นาเหลือง(หมู่ที่ 5,6) ในตอนเย็นวันที่ 22 ส.ค.49 ระดับน้ำท่วมที่ อ.เวียงสา สูง ประมาณ 1.00 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 24 ส.ค.49 ปริมาณน้ำจำนวนนี้ไหลไปลงเขื่อนสิริกิติ์
4) กิ่งอำเภอภูเพียง น้ำท่วมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ฝายแก้ว(หมู่ที่ 1,2,6) ต.ม่วงติ๊ด ต.เมืองจัง (หมู่ที่ 4) ต.ท่าน้าว(หมู่ที่ 1,2,4,7) ต.นาปัง(หมู่ที่1) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.70 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
5) อำเภอปัว น้ำจากลำน้ำปัวไหลมาสมทบกับลำน้ำน่านที่ บริเวณหมู่ที่ 5 ต.ปัว น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมขังพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ต.เจดีย์ชัย(หมู่ที่ 2,8) ต.แงง (หมู่ที่3,4) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
6) อำเภอทุ่งช้าง น้ำท่วมขังพื้นที่ 4 ตำบลได้แก่ ต.และ(หมู่ที่8,12) ต.ปอน(หมู่ที่2,6) ต.งอบ (หมู่ที่2) ต.ทุ่งช้าง(หมู่ที่3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
7) อำเภอเชียงกลาง น้ำท่วมขังในพื้นที่เทศบาลตำบลเชียงกลาง ต.บือ (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.40-0.60 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
8) อำเภอบ่อเกลือ น้ำท่วมขังพื้นที่ในเขต ต.บ่อเกลือเหนือ(หมู่ที่1) ต.ดงพญา(หมู่ที่2) ต.บ่อเกลือใต้(หมู่ที่1) ต.ภูฟ้า(หมู่ที่1) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
9) อำเภอสองแคว น้ำท่วมขังในพื้นที่ในเขต ต.นาไร่หลวง(หมู่ที่2-9) ต.ชนแดน(หมู่ที่1-9) ต.ยอด(หมู่ที่ 1-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
10) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ น้ำท่วมขังในพื้นที่ ต.บ้านด่าน (หมู่ที่2,3) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
11) อำเภอนาน้อย วันที่ 23 ส.ค.49 น้ำจาก อ.เวียงสา ไหลเข้าท่วมพื้นที่บางส่วนริมแม่น้ำน่านในเขต ต.ทุ่งมงคล และต.ศรีสะเกษ ระดับน้ำสูง 0.10-0.20 ม. สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 24 ส.ค.2549
12) อำเภอแม่จริม น้ำท่วมเล็กน้อย สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 23 ส.ค.2549
13) อำเภอบ้านหลวง น้ำท่วมเล็กน้อย สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 24 ส.ค.2549
กรมชลประทานได้แจ้งเตือนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แจ้งเตือนประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อนเกิดสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือจำนวน 12 เครื่อง(อ.เมือง 9 เครื่อง อ.เวียงสา 3 เครื่อง ) รถยก 1 คัน รถน้ำ 1 คัน รถบรรทุก 4 คัน
อนึ่ง ปริมาณน้ำท่าที่เกิดจากน้ำท่วมพื้นที่ต่างๆในจังหวัดน่านครั้งนี้ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 1,200 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำจำนวนนี้จะทยอยไหลลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำ ทั้งหมด 6,358 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 3,152 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ทั้งหมดโดยไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์ตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงไป แต่อย่างใด โดยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ตั้งแต่วันที่ 19-27 สิงหาคม 2549 แล้ว จำนวน 1,180 ล้าน ลบ.ม.
2. แนวทางการแก้ไข
2.1 ติดตั้งใช้ระบบโทรมาตร แจ้งเตือนภัย งบประมาณ 5.0 ล้านบาท เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2550
2.2 ปรับปรุงลำน้ำน่าน บริเวณที่ลำน้ำตื้นเขินและแคบ เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้จำนวนมากขึ้นและได้สะดวกรวดเร็ว โดยจะดำเนินการสำรวจออกแบบในปี 2550 ตั้งแต่บริเวณเหนือ อ.ท่าวังผา ถึง อ.เมืองน่าน
2.3 ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเหนือพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 9 แห่ง (อ่างเก็บน้ำน้ำฮิ อ่างเก็บน้ำน้ำยาว(ตะวันตก) อ่างเก็บน้ำน้ำแงน อ่างเก็บน้ำน้ำมืด อ่างเก็บน้ำน้ำปัว อ่างเก็บน้ำน้ำขว้าง อ่างเก็บน้ำน้ำยาว(ตะวันออก) อ่างเก็บน้ำน้ำริม และอ่างเก็บน้ำน้ำกุ๋ย) จะสามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดน่านได้ประมาณ 800 ลบ.ม./วินาที จากประเมินปริมาณน้ำในรอบ 25 ปี ได้ปริมาณน้ำสูงสุด 1,700 ลบ.ม/วินาที จะเหลือปริมาณน้ำผ่านอำเภอเมืองน่านประมาณ 900 ลบ.ม./วินาที (ความจุของลำน้ำน่านที่อำเภอเมืองน่านรับได้ 1,300 ลบ.ม./วินาที) โดยจะทำการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบในปี 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--
1. สถานการณ์อุทกภัยจังหวัดน่าน
ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากติดต่อกันในช่วงวันที่ 18-19 สิงหาคม 2549 ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอต่างๆ รวม 12 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2549 สรุปได้ดังนี้
1) อำเภอท่าวังผา น้ำท่วมในพื้นที่ 8 ตำบล ได้แก่ ต.ท่าวังผา(หมู่ที่ 1-7) ต.ศรีภูมิ(หมู่ที่ 1-12)
ต.ริม(หมู่ที่ 1-12) ต.แสนทอง(หมู่ที่ 1-8) ต.ผาทอง(หมู่ที่ 1-8) ต.ตาลชุม(หมู่ที่1) ต.ผาตอ(หมู่ที่ 1-7) ต.ป่าคา (หมู่ที่1-7) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 ม. สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 22 ส.ค.2549
2) อำเภอเมืองน่าน ในเขตเทศบาลเมืองน่าน บริเวณสำนักงานป่าไม้เขต อ.เมืองน่าน (N.1) ระดับน้ำเริ่มล้นตลิ่งฝั่งซ้าย เมื่อเวลา 12.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.12 ม.(ระดับตลิ่งฝั่งซ้าย 7.00 ม.) และเริ่มล้นตลิ่งฝั่งขวา เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 20 ส.ค.2549 ระดับน้ำสูง 7.39 ม.(ระดับตลิ่งฝั่งขวา7.30 ม.) โดยมีระดับน้ำสูงสุดที่ 8.42 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่านสูงสุด 2,900 ลบ.ม./วินาที (เวลา 14.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.49) ทำให้น้ำท่วมชุมชนท่าลี่ ชุมชนบ้านพวงพยอม ชุมชนพญาภู ชุมชนบ้านดอนสีเสริม ชุมชนบ้านสวนตาลล่าง ชุมชนบ้านพระเนตร ชุมชนบ้านภูมินทร์ ชุมชนบ้านดอนแก้ว ชุมชนบ้านเมืองเล็น ชุมชนบ้านท่าช้าง ชุมชนบ้านดอนมูล ชุมชนบ้านวังหมอ ชุมชนบ้านหาดปลาแห้ง และชุมชนบ้านผาขวาง และระดับน้ำเริ่มลดลง เมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 21 ส.ค.2549 ปริมาณน้ำจำนวนนี้จะไหลลงไปที่ อ.เวียงสา สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 23 ส.ค.2549
3) อำเภอเวียงสา ปริมาณน้ำจาก อ.เมือง ไหลไปสู่ อ.เวียงสา ได้เริ่มเอ่อล้นเข้าท่วมบริเวณริมตลิ่งลำน้ำน่านใน อ.เวียงสาเช้าวันที่ 22 ส.ค.49 ในพื้นที่ 4 ตำบล ได้แก่ ต.กลางเวียง(หมู่ที่ 2 ,3, 4, 5, 7, 13, 14) ต.น้ำปั้ว (หมู่ที่2,6) ต.ไหล่น่าน(หมู่ที่1,2,8) ต.นาเหลือง(หมู่ที่ 5,6) ในตอนเย็นวันที่ 22 ส.ค.49 ระดับน้ำท่วมที่ อ.เวียงสา สูง ประมาณ 1.00 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในเย็นวันที่ 24 ส.ค.49 ปริมาณน้ำจำนวนนี้ไหลไปลงเขื่อนสิริกิติ์
4) กิ่งอำเภอภูเพียง น้ำท่วมพื้นที่ 5 ตำบล ได้แก่ ต.ฝายแก้ว(หมู่ที่ 1,2,6) ต.ม่วงติ๊ด ต.เมืองจัง (หมู่ที่ 4) ต.ท่าน้าว(หมู่ที่ 1,2,4,7) ต.นาปัง(หมู่ที่1) ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.70 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
5) อำเภอปัว น้ำจากลำน้ำปัวไหลมาสมทบกับลำน้ำน่านที่ บริเวณหมู่ที่ 5 ต.ปัว น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมขังพื้นที่ 2 ตำบล ได้แก่ ต.เจดีย์ชัย(หมู่ที่ 2,8) ต.แงง (หมู่ที่3,4) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
6) อำเภอทุ่งช้าง น้ำท่วมขังพื้นที่ 4 ตำบลได้แก่ ต.และ(หมู่ที่8,12) ต.ปอน(หมู่ที่2,6) ต.งอบ (หมู่ที่2) ต.ทุ่งช้าง(หมู่ที่3) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.50-1.00 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
7) อำเภอเชียงกลาง น้ำท่วมขังในพื้นที่เทศบาลตำบลเชียงกลาง ต.บือ (หมู่ที่ 2) ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 0.40-0.60 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
8) อำเภอบ่อเกลือ น้ำท่วมขังพื้นที่ในเขต ต.บ่อเกลือเหนือ(หมู่ที่1) ต.ดงพญา(หมู่ที่2) ต.บ่อเกลือใต้(หมู่ที่1) ต.ภูฟ้า(หมู่ที่1) ระดับน้ำสูง 0.20-0.30 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
9) อำเภอสองแคว น้ำท่วมขังในพื้นที่ในเขต ต.นาไร่หลวง(หมู่ที่2-9) ต.ชนแดน(หมู่ที่1-9) ต.ยอด(หมู่ที่ 1-6) ระดับน้ำสูงประมาณ 0.10-0.20 ม. สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
10) อำเภอเฉลิมพระเกียรติ น้ำท่วมขังในพื้นที่ ต.บ้านด่าน (หมู่ที่2,3) สถานการณ์น้ำท่วมได้เข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 22 ส.ค.2549
11) อำเภอนาน้อย วันที่ 23 ส.ค.49 น้ำจาก อ.เวียงสา ไหลเข้าท่วมพื้นที่บางส่วนริมแม่น้ำน่านในเขต ต.ทุ่งมงคล และต.ศรีสะเกษ ระดับน้ำสูง 0.10-0.20 ม. สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 24 ส.ค.2549
12) อำเภอแม่จริม น้ำท่วมเล็กน้อย สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 23 ส.ค.2549
13) อำเภอบ้านหลวง น้ำท่วมเล็กน้อย สถานการณ์น้ำท่วมเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 24 ส.ค.2549
กรมชลประทานได้แจ้งเตือนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แจ้งเตือนประชาชนได้ทราบล่วงหน้าก่อนเกิดสถานการณ์น้ำท่วมแล้ว และสนับสนุนเครื่องสูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือจำนวน 12 เครื่อง(อ.เมือง 9 เครื่อง อ.เวียงสา 3 เครื่อง ) รถยก 1 คัน รถน้ำ 1 คัน รถบรรทุก 4 คัน
อนึ่ง ปริมาณน้ำท่าที่เกิดจากน้ำท่วมพื้นที่ต่างๆในจังหวัดน่านครั้งนี้ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 1,200 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำจำนวนนี้จะทยอยไหลลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2549 เขื่อนสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำ ทั้งหมด 6,358 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 3,152 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ทั้งหมดโดยไม่ส่งผลกระทบทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายเขื่อนสิริกิติ์ตั้งแต่จังหวัดอุตรดิตถ์ลงไป แต่อย่างใด โดยมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ตั้งแต่วันที่ 19-27 สิงหาคม 2549 แล้ว จำนวน 1,180 ล้าน ลบ.ม.
2. แนวทางการแก้ไข
2.1 ติดตั้งใช้ระบบโทรมาตร แจ้งเตือนภัย งบประมาณ 5.0 ล้านบาท เพื่อให้ได้ข้อมูลเป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2550
2.2 ปรับปรุงลำน้ำน่าน บริเวณที่ลำน้ำตื้นเขินและแคบ เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้จำนวนมากขึ้นและได้สะดวกรวดเร็ว โดยจะดำเนินการสำรวจออกแบบในปี 2550 ตั้งแต่บริเวณเหนือ อ.ท่าวังผา ถึง อ.เมืองน่าน
2.3 ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเหนือพื้นที่จังหวัดน่าน จำนวน 9 แห่ง (อ่างเก็บน้ำน้ำฮิ อ่างเก็บน้ำน้ำยาว(ตะวันตก) อ่างเก็บน้ำน้ำแงน อ่างเก็บน้ำน้ำมืด อ่างเก็บน้ำน้ำปัว อ่างเก็บน้ำน้ำขว้าง อ่างเก็บน้ำน้ำยาว(ตะวันออก) อ่างเก็บน้ำน้ำริม และอ่างเก็บน้ำน้ำกุ๋ย) จะสามารถลดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดน่านได้ประมาณ 800 ลบ.ม./วินาที จากประเมินปริมาณน้ำในรอบ 25 ปี ได้ปริมาณน้ำสูงสุด 1,700 ลบ.ม/วินาที จะเหลือปริมาณน้ำผ่านอำเภอเมืองน่านประมาณ 900 ลบ.ม./วินาที (ความจุของลำน้ำน่านที่อำเภอเมืองน่านรับได้ 1,300 ลบ.ม./วินาที) โดยจะทำการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบในปี 2550
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 สิงหาคม 2549--จบ--