คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์มันสำปะหลังฤดูการผลิต ปี 2549 / 50 และแนวทางแก้ไขปัญหา ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. สถานการณ์โลก
1.1 ผลผลิต คาดว่าในปี 2549/2550 ผลผลิตมันสำปะหลังของโลก ประมาณ 205.05 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลผลิต 203.34 ล้านตัน โดยประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 19.46 ล้านตัน เป็นประมาณ 23.00 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และเวียดนามมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 5.70 ล้านตัน เป็นประมาณ 6.00 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5
1.2 ความต้องการ ในระดับประมาณ 203 - 204 ล้านตัน ต่อไปอาจจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในระยะต่อไปคาดว่า ความต้องการใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจะมีมากขึ้น แต่สำหรับภาวะปัจจุบันยังคงเป็นความต้องการในระดับเดิมที่ใช้มันสำปะหลังเพื่อแปรรูปป้อนอุตสาหกรรมการบริโภคและวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นหลักเช่นที่ผ่านมา
2. สถานการณ์ในประเทศ
2.1 ผลผลิต/การใช้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าในปี 2549/50 จะมีผลผลิตมันสำปะหลังประมาณ 21.723 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.76 จากปี 2548/49 ซึ่งมีผลผลิต 20.736 ล้านตัน ทั้งนี้ วงการค้าคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 23 — 25 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ความต้องการใช้ทั้งในประเทศและส่งออกคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นประมาณ 24 — 25 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549 — มีนาคม 2550 (ร้อยละ 77.53)
2.2 การส่งออก ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 3.603 ล้านตัน เทียบระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีการส่งออก 3.056 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 โดยมันเส้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 แป้งมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.38 และคาดว่าแนวโน้มการส่งออกในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 โดยประเทศจีนเป็นตลาดรองรับที่ใหญ่ที่สุดถึงร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ส่งออกทั้งหมด (นำเข้าในรูปมันเส้นกว่าร้อยละ 90)
2.3 สต๊อค ณ ต้นฤดูการผลิตปี 2548/49 มีสต๊อคผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังคงเหลือรวม 320,000 ตัน (มันเส้น 230,000 ตัน แป้งมัน 90,000 ตัน) แต่สำหรับต้นฤดูการผลิตปี 2549/50 มีสต๊อคคงเหลือ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 950,000 ตัน (มันเส้น 800,000 ตัน แป้งมัน 150,000 ตัน) เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
2.4 ราคา ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ในฤดูกาลที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ที่สูงระดับ ก.ก.ละ 1.30 — 1.50 บาท เนื่องจากภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร สำหรับฤดูการผลิตปี 2549/50 เริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดบ้างแล้วในบางพื้นที่ เช่น ชัยภูมิ ชลบุรี กาฬสินธุ์ และกาญจนบุรี ส่วนแหล่งผลิตอื่นเป็นผลผลิตปลายฤดูปี 2548/49 แต่เนื่องจากขณะนี้มีฝนตกชุกในพื้นที่ ทำให้คุณภาพหัวมันเชื้อแป้งต่ำ ลานมันและโรงแป้งเปิดดำเนินการไม่เต็มที่ ส่งผลให้ราคารับซื้อหัวมันสดโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ดังนี้
บาท/ กก. ส.ค.48 ก.ค.49 31 ส.ค.49
หัวมันสดเชื้อแป้ง 25%
ณ โรงแป้ง จ.นครราชสีมา 1.54 1.12 1.01 — 1.10
จ.กาฬสินธุ์ 1.23 1.03 0.90 — 0.95
มันเส้นส่งออก F.O.B 4.76 4.37 4.32
แป้งมันส่งออก F.O.B 9.64 8.23 7.79
2.5 แนวโน้ม คาดว่าระดับราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้จะยังทรงตัวไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง แต่ในระยะต่อไป เกษตรกรจะเร่งขุดหัวมันออกจำหน่ายเพราะต้องการเงินไปชำระหนี้ ธ.ก.ส. อีกทั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังยังไม่เปิดการผลิตตามเป้าหมาย (เปิดแล้วเพียง 1 โรง) ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาหัวมันสดโน้มต่ำลง
3. มาตรการ
3.1 ในระยะเร่งด่วน ระดับราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้จะอ่อนตัวลง เนื่องจากเกษตรกรต้องการขุดหัวมันออกจำหน่ายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ ธ.ก.ส. จึงควรขอความร่วมมือกระทรวงการคลังให้พิจารณาผ่อนผันระยะเวลาชำระหนี้ ธ.ก.ส. ตั้งแต่ 1 กันยายน 2549 ออกไปถึง 31 พฤษภาคม 2550 เพื่อชะลอการขุดหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ด้านราคาที่ลดต่ำลงคลี่คลายลงได้ระดับหนึ่ง
3.2 การช่วยเหลือเกษตรกร โดยปกติเมื่อราคามันสำปะหลังโน้มลดลง รัฐจะเข้าแทรกแซงตลาดในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ระหว่างเดือนธันวาคม — เมษายน ควรกำหนดราคาเป็นขั้นบันได เพื่อจูงใจเกษตรกรทยอยขุดหัวมันออกจำหน่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่สามารถรองรับได้ในแต่ละช่วง หากกำหนดราคาเดียวจะส่งผลให้เกษตรกรเร่งขุดหัวมันออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการ โดยการเตรียมการนี้จะได้นำเสนอคณะกรรมการ คชก. ต่อไป
3.3 การสร้างกลไกตลาดให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ เพื่อสะท้อนถึงผู้ซื้อในต่างประเทศ ควรผลักดันให้มีการซื้อขายมันเส้นที่ได้จากการแทรกแซงนำไปจำหน่ายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าส่วนหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและป้องกันไม่ให้เกิดการกดราคารับซื้อในทุกขั้นตอนการตลาดตั้งแต่ผู้ซื้อในต่างประเทศ จนถึงการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--
1. สถานการณ์โลก
1.1 ผลผลิต คาดว่าในปี 2549/2550 ผลผลิตมันสำปะหลังของโลก ประมาณ 205.05 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลผลิต 203.34 ล้านตัน โดยประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ อินโดนีเซีย จะมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 19.46 ล้านตัน เป็นประมาณ 23.00 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 และเวียดนามมีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 5.70 ล้านตัน เป็นประมาณ 6.00 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5
1.2 ความต้องการ ในระดับประมาณ 203 - 204 ล้านตัน ต่อไปอาจจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในระยะต่อไปคาดว่า ความต้องการใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลจะมีมากขึ้น แต่สำหรับภาวะปัจจุบันยังคงเป็นความต้องการในระดับเดิมที่ใช้มันสำปะหลังเพื่อแปรรูปป้อนอุตสาหกรรมการบริโภคและวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นหลักเช่นที่ผ่านมา
2. สถานการณ์ในประเทศ
2.1 ผลผลิต/การใช้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดว่าในปี 2549/50 จะมีผลผลิตมันสำปะหลังประมาณ 21.723 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.76 จากปี 2548/49 ซึ่งมีผลผลิต 20.736 ล้านตัน ทั้งนี้ วงการค้าคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 23 — 25 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เนื่องจากเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกทดแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ความต้องการใช้ทั้งในประเทศและส่งออกคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นประมาณ 24 — 25 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 10 โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2549 — มีนาคม 2550 (ร้อยละ 77.53)
2.2 การส่งออก ปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 3.603 ล้านตัน เทียบระยะเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีการส่งออก 3.056 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 โดยมันเส้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 แป้งมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.38 และคาดว่าแนวโน้มการส่งออกในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 โดยประเทศจีนเป็นตลาดรองรับที่ใหญ่ที่สุดถึงร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ส่งออกทั้งหมด (นำเข้าในรูปมันเส้นกว่าร้อยละ 90)
2.3 สต๊อค ณ ต้นฤดูการผลิตปี 2548/49 มีสต๊อคผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังคงเหลือรวม 320,000 ตัน (มันเส้น 230,000 ตัน แป้งมัน 90,000 ตัน) แต่สำหรับต้นฤดูการผลิตปี 2549/50 มีสต๊อคคงเหลือ เพิ่มสูงขึ้นเป็น 950,000 ตัน (มันเส้น 800,000 ตัน แป้งมัน 150,000 ตัน) เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
2.4 ราคา ราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้ในฤดูกาลที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ที่สูงระดับ ก.ก.ละ 1.30 — 1.50 บาท เนื่องจากภาครัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร สำหรับฤดูการผลิตปี 2549/50 เริ่มมีผลผลิตออกสู่ตลาดบ้างแล้วในบางพื้นที่ เช่น ชัยภูมิ ชลบุรี กาฬสินธุ์ และกาญจนบุรี ส่วนแหล่งผลิตอื่นเป็นผลผลิตปลายฤดูปี 2548/49 แต่เนื่องจากขณะนี้มีฝนตกชุกในพื้นที่ ทำให้คุณภาพหัวมันเชื้อแป้งต่ำ ลานมันและโรงแป้งเปิดดำเนินการไม่เต็มที่ ส่งผลให้ราคารับซื้อหัวมันสดโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ดังนี้
บาท/ กก. ส.ค.48 ก.ค.49 31 ส.ค.49
หัวมันสดเชื้อแป้ง 25%
ณ โรงแป้ง จ.นครราชสีมา 1.54 1.12 1.01 — 1.10
จ.กาฬสินธุ์ 1.23 1.03 0.90 — 0.95
มันเส้นส่งออก F.O.B 4.76 4.37 4.32
แป้งมันส่งออก F.O.B 9.64 8.23 7.79
2.5 แนวโน้ม คาดว่าระดับราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้จะยังทรงตัวไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังมีอย่างต่อเนื่อง แต่ในระยะต่อไป เกษตรกรจะเร่งขุดหัวมันออกจำหน่ายเพราะต้องการเงินไปชำระหนี้ ธ.ก.ส. อีกทั้งโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังยังไม่เปิดการผลิตตามเป้าหมาย (เปิดแล้วเพียง 1 โรง) ซึ่งจะส่งผลทำให้ราคาหัวมันสดโน้มต่ำลง
3. มาตรการ
3.1 ในระยะเร่งด่วน ระดับราคาหัวมันสดที่เกษตรกรขายได้จะอ่อนตัวลง เนื่องจากเกษตรกรต้องการขุดหัวมันออกจำหน่ายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ ธ.ก.ส. จึงควรขอความร่วมมือกระทรวงการคลังให้พิจารณาผ่อนผันระยะเวลาชำระหนี้ ธ.ก.ส. ตั้งแต่ 1 กันยายน 2549 ออกไปถึง 31 พฤษภาคม 2550 เพื่อชะลอการขุดหัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาด ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ด้านราคาที่ลดต่ำลงคลี่คลายลงได้ระดับหนึ่ง
3.2 การช่วยเหลือเกษตรกร โดยปกติเมื่อราคามันสำปะหลังโน้มลดลง รัฐจะเข้าแทรกแซงตลาดในช่วงที่ผลผลิตออกมาก ระหว่างเดือนธันวาคม — เมษายน ควรกำหนดราคาเป็นขั้นบันได เพื่อจูงใจเกษตรกรทยอยขุดหัวมันออกจำหน่ายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่สามารถรองรับได้ในแต่ละช่วง หากกำหนดราคาเดียวจะส่งผลให้เกษตรกรเร่งขุดหัวมันออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการ โดยการเตรียมการนี้จะได้นำเสนอคณะกรรมการ คชก. ต่อไป
3.3 การสร้างกลไกตลาดให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ เพื่อสะท้อนถึงผู้ซื้อในต่างประเทศ ควรผลักดันให้มีการซื้อขายมันเส้นที่ได้จากการแทรกแซงนำไปจำหน่ายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าส่วนหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับและป้องกันไม่ให้เกิดการกดราคารับซื้อในทุกขั้นตอนการตลาดตั้งแต่ผู้ซื้อในต่างประเทศ จนถึงการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) (รักษาการนายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 กันยายน 2549--จบ--