คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ได้แก้ไขปรับปรุงจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
ข้อเท็จจริง
กระทรวงแรงงานเสนอว่า
1. ได้รับการประสานจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรว่า ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีเนื้อหาบางส่วนยังไม่ปัจจุบัน จึงให้กระทรวงแรงงานและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกันปรับปรุงแก้ไข ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบรรจุระเบียบวาระต่อไป
2. กระทรวงแรงงานและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ร่วมกันปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ ดังกล่าว โดยแก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 4 และร่างมาตรา 7 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และแก้ไขเพิ่มเติมร่างมาตรา 7 เป็นร่างมาตรา 8 เพื่อเรียงเลขมาตราให้เป็นไปตามลำดับ ดังนี้
ร่างฯ เดิม ร่างฯ ที่กระทรวงแรงงาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไข หลักการ “แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครอง แก้ไขเป็น “แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. แรงงาน พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้” 2541 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไข
เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2551 ดังต่อไปนี้”
ร่างมาตรา 4 “ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของ แก้ไขเป็น “ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 144 แห่ง มาตรา 144 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ศ. 2541 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และให้ มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ใช้ความต่อไปนี้แทน ตามมาตรา 10 มาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 25 “มาตรา 144 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 22 มาตรา 24 มาตรา 25 มาตรา 26 มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 39 มาตรา 39/1 มาตรา 40 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 46 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49 มาตรา 50 มาตรา 47 มาตรา 48 มาตรา 49มาตรา 50 มาตรา 51 มาตรา 61 มาตรา 51 มาตรา 61 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 62 มาตรา 63 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 64 มาตรา 67 มาตรา 70 มาตรา 71 มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง กฎกระทรวง มาตรา 72 มาตรา 76 มาตรา 90 วรรคหนึ่ง ที่ออกตามมาตรา 95 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษแทน กฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 95 มาตรา 118 การบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 120 วรรคหนึ่ง ไม่จ่ายค่าชดเชยพิเศษตาม มาตรา 121 หรือมาตรา 122 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน มาตรา 120 วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”” มาตรา 121 วรรคสอง หรือมาตรา 122 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ””
เพิ่มเติมร่างมาตรา 7 “ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 151
แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และให้ใช้
ความต่อไปแทน
“ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานที่
สั่งตามมาตรา 120 หรือคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตาม
มาตรา 124 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน
สองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ””
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กันยายน 2552 --จบ--